สูตรขนม สูตรอาหาร อาชีพรายได้เสริม ประกาศฟรี โฆษณาฟรี Gallery รูปภาพ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Drop Down MenusCSS Drop Down MenuPure CSS Dropdown Menu

Gallery รูปภาพ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)



ร้านเนยหอมออนไลท์ ขายปลีก-ส่ง
สั่งได้ทาง Inbox ...
Inbox : inbox : http://m.me/noeyhorm
รีวิวขนมอื่น ๆของร้านเนยหอม : inbox : http://bit.ly/31l6PBf

Gallery รูปภาพ วัดจันทาราม (วัดท่าซุง)


      เดิมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยา มีโบสถ์ขนาดเล็ก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างพื้นบ้าน เข้าใจว่าเขียนในสมัยหลังการสร้างวัด เป็นเรื่องพุทธประวัติ บางภาพต่อเติมจนผิดส่วน สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของวัดคือ ธรรมาสน์ที่หลวงพ่อใหญ่สร้าง ที่วิหารมีพระปูนปั้นฝีมือพองามและมีลายไม้จำหลักขอบหน้าบันเหลืออยู่ 2 - 3 แห่ง ด้านตรงข้ามกับวัดเป็นปูชนียสถานแห่งใหม่ มีบริเวณกว้างขวางมาก พระราชมหาวีระ ถาวาโร (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) พระเถระที่มีชื่อเสียงได้สร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย เช่น พระอุโบสถใหม่ ภายในประดับและตกแต่งอย่างวิจิตร บานหน้าต่างและประตูด้านในเขียนภาพเทวดาโดยจิตรกรฝีมือดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตพระอุโบสถแห่งนี้ บริเวณโดยรอบสร้างกำแพงแก้วและมีรูปหล่อหลวงพ่อปาน และหลวงพ่อใหญ่ขนาด 3 เท่า อยู่มุมกำแพงด้านหน้า มณฑป และ พระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง และศพของหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย อาคารเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะภายนอกที่คล้ายคลึงกันคือสร้างด้วยโมเสกสี ขาวใสดูเหมือนแก้ว และยังมีปราสาททองคำ ศาลาฝึกสมาธิ อาคารแต่ละหลังจะมีเวลาเปิด-ปิดไม่ตรงกันและปิดช่วงกลางวัน วิหารแก้วจะเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 9.00-11.45 น.และ 14.00-16.00 น.

   การเดินทาง
    วัดท่าซุง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม สามารถเดินทางไปได้หลายวิธี
    1) ไปตามทางสาย 3265 มุ่งตรงไปทางแพข้ามฟากอำเภอมโนรมย์ ประมาณ 12 กิโลเมตร
    2) รถโดยสารสายอุทัยฯ-ท่าซุง (สองแถวสีฟ้า) ค่าโดยสาร 8 บาท จากวัดท่าซุงต่อไปอีก 5 บาท 
     จะ  ถึงท่าเรือข้ามไปอำเภอมโนรมย์

เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง
เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง หาก มาวัดท่าซุงหลายๆ คนคงจะนึกถึงการเข้าเยี่ยมชมวิหาร 100 เมตร และนมัสการสมเด็จองค์ปฐม สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำเป็นอันดับแรก ก็ต้องเข้าประตูให้ถูก ซึ่งวิหาร 100 เมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าเห็นชัดเจน หากมาจากทางตัวเมืองอุทัยธานี ประตูจะอยู่ขวามือเมื่อลี้ยวเข้ามาจะเห็นความน่าอัศจรรย์ใจคือแนวกำแพงที่ ได้สร้างเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 1 องค์ เป็นปางเดียวกันตลอดแนวกำแพง โดยกำแพงนี้จะสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจะกว้างพอที่จะจอดรถได้

พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย
พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย ก่อนถึงประตูเข้าวิหาร 100 เมตร จะมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7
 ปั้นด้วยปูน ปิดทองคำเปลวทั้งองค์ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๓.๒ เมตร กว้าง ๓.๘ เมตร ยาว ๓.๕ เมตร องค์พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบัลลังก์ ขนาดสูง ๒.๖๕ เมตร กว้าง ๒.๒๕ เมตร ยาว ๑.๙๖ เมตร ทรงประทัยนั่งวัดจากพระเศียรถึงพระบาท ๒.๙ เมตร
 และยังมีป้ายจารึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีลักษณะเป็นซุ้ม ๒ เสา เฉพาะเสาสูง ๔ เมตร มีป้ายและพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เหมือนกันทั้ง ๒ ด้าน) มีปิดกระจกทั้ง ๒ ด้าน ขนาดของป้ายยาว ๗.๙ เมตร กว้าง ๔ เมตร
 ถัดเข้าไปตามลานจอดรถจะมีพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช และพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เมื่อครั้งทรงผนวช)

มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เดิน เข้าประตูสู่วิหาร 100 เมตร จะมีมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้าอยู่ทางซ้ายมือ วิหาร 100 เมตร มีเวลาปิดเปิดนะครับ คือนักท่องเที่ยวส่วนมากจะเดินทางมาถึงกันตอนใกล้ๆ เที่ยง ซึ่งยังอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้เข้าชมเพราะมีนักปฏิบัติธรรมอยู่ด้าน ใน เวลาที่เหมาะสมคือหลัง บ่าย 2 ซึ่งจะเปิดให้ชมได้ถึง 4 โมงเย็นเท่านั้น หรือช่วงเช้าก็เปิดช่วง 10.00-12.00น.

ซุ้มประตูวิหาร
ซุ้มประตูวิหาร 100 เมตร 

วิหารแก้ว
วิหารแก้ว 100 เมตร เป็น วิหารสำคัญที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำสร้างไว้ก่อนมรณะภาพรวมทั้งยังเป็นที่รักษา สังขารร่างของหลวงพ่อที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว ไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ภายในสร้างจากวัสดุที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแวววาวสวยงาม

มณฑปหลวงปู่ปาน
มณฑปหลวงปู่ปาน หลวง ปู่ปานเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำผู้สร้างวิหารแก้ว 100 เมตร มณฑปหลวงปู่ปานจะอยู่ด้านขวามือ มณฑปและวิหารต่างๆ ในวัดท่าซุงจะเปิดให้เข้าชมได้จนถึง เวลา 16.00 น. นะครับ

สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ อยู่ในโลงแก้วศิษยานุศิษย์เข้ามานมัสการกันไม่ขาดสาย

ภายในวิหารแก้ว
ภายในวิหารแก้ว 100 เมตร เสาและเพดานติดกระจก เมื่อเปิดไฟภายในจะมีภาพสะท้อนไปมาอย่างสวยงาม

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ประดิษฐาน ในวิหารแก้ว 100 เมตร อยู่อีกด้านหนึ่งของสังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ประชาชนมักจะมานมัสการกราบไหว้เป็นสิริมงคลรวมทั้งถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกัน ไม่ขาดสาย การจะถ่ายรูปที่หน้าพระพุทธรูปทำได้โดยยาก เพราะมีคนเดินไปเดินมาตลอดเวลา

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ขอบคุณภาพจากสมาชิก pattranit ครับ เป็นมุมมองใหม่ๆ ของการถ่ายภาพพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมในวิหารแก้ว

พระพุทธรูปในวิหารแก้ว
พระพุทธรูปในวิหารแก้ว บริเวณนี้เป็นที่จัดไว้สำหรับพุทธศาสนิกชนได้ถวายสังฆทาน

ด้านหน้าวิหารแก้ว
ด้านหน้าวิหารแก้ว 100 เมตร บริเวณด้านหน้าภายนอกวิหารแก้ว มีโต๊ะหมู่บูชาจำนวนมากจัดเรียงรายไว้

ยอดมณฑปและวิหาร
ยอดมณฑปและวิหาร ภายในวัดท่าซุงมีมณฑปและวิหารอยู่หลายแห่งแต่ละแห่งมักจะติดวัสดุกระจกและล้อมรอบด้วยแก้วใส ส่วนยอดจะสร้างในลักษณะเดียวกัน

พระปัจเจกพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ภายในมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

พระศรีอาริยเมตไตรย
พระศรีอาริยเมตไตรย ออก จากวิหารแก้ว 100 เมตร จะใช้บริการรถสามล้อโดยสารนำเที่ยวหรือว่าหากขับรถมาเองจะขับเข้าไปชมบริเวณ วัดก็ได้ มณฑปพระศรีอาริย์ อยู่ห่างจากวิหารแก้วไม่มากนักอยู่เยื้องกันกับวิหารสมเด็จองค์ปฐม เปิด 9.00-16.00น. (เหมือนกันทุกมณฑป)

เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย
เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย ทางวัดจัดเตรียมชุดถวายสำหรับประชาชนไว้เป็นที่เรียบร้อย

วิหารสมเด็จองค์ปฐม
วิหารสมเด็จองค์ปฐม สร้างเมื่อปี 2534 แล้วเสร็จปี 2534 ภายในประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ที่มีความงดงามมาก

ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม
ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม นมัสการพระพุทธรูปและสมเด็จองค์ปฐมในวิหาร

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม

หอพระไตรปิฏก
หอพระไตรปิฏก - หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา พระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรยืนสูง ๓๐ ศอก (ประมาณตึก 4 ชั้น) หลวงพ่อสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับยืนอุ้มบาตร เดิมเรียกว่า "หลวงพ่อโต" (สร้างคล้ายกับที่ วัดอินทรวรวิหาร กรุงเทพฯ) อยู่บริเวณใกล้กับวิหารสมเด็จองค์พระปฐม ภายในบริเวณนี้มีเจดีย์พุดตาน และเจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม
 หอพระไตรปิฎกสูงขนาดตึก ๖ ชั้น เป็นสถานที่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างไว้ให้สักการะบูชาและขอพร และยังเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฏก ชั้นล่างจะเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางมากราบไหว้จุดธูปเทียนและปิดทองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ทางวัดได้สร้างองค์จำลองที่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐานที่ชั้นล่าง ทางเข้าประตูซ้ายของหอพระไตรปิฏก และมีรูปปั้นหลวงปู่ปานและหลวงพ่ออยู่ข้างๆ มีพระเจ้าหน้าที่คอยดูแลสถานที่ คือพระสำเภา สุธมฺปวโร ข้อมูลวัดท่าซุง

เจดีย์พุดตาน
เจดีย์พุดตาน ประวัติการสร้างพระเจดีย์พุดตาน การบรรจุสิ่งของในพระเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธ เจ้า มีพระพุทธรูปทองคำ เทวรูป อีกมากมาย ตลอดจนแก้วแหวนเงินทอง เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ยังมีสมบัติของพระเจ้าศรีธรรมปิฎกหรือพระเจ้าพรหมมหาราชในอดีต ซึ่งสร้างวัดและพระเจดีย์ระหว่างเขตพิษณุโลกกับเพชรบูรณ์ คณะคุณสันต์ ภู่กร แห่งจังหวัดพิษณุโลกขุดได้นำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์พุดตาน

เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต
เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม 

สวนสมเด็จองค์ปฐม
สวนสมเด็จองค์ปฐม สร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ

ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ
ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ เป็น ซุ้มประตูเข้าออกระหว่างบริเวณลานกว้างหน้าปราสาททองคำกับอีกด้านหนึ่งก็ เป็นลานกว้างที่พื้นมีการตีเส้นเหมือนสนามบาสไว้ และยังมีบันไดสำหรับเดินขึ้นไปตามแนวกำแพง 2 ชั้นไปศาลา 2 ไร่ และศาลา 4 ไร่ได้

ปราสาททองคำ
ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่ มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เนื่องจาก ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ท่านเจ้าอาวาสจึงนำการสร้าง "ปราสาททองคำ" ขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ ๕๐ และทางสำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า "ปราสาททองกาญจนาภิเษก"
 ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจก ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวาย รอบนอกปราสาทใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาท ภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญ คือ

 ๑. ชั้นแรก เป็นพิพิธภัณฑ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยจะนำสิ่งของต่างๆที่ท่านเคยใช้ก็ดี หรือของส่วนตัวท่านก็ดีมาประดิษฐานไว้ หรือสร้างจำลองสถานที่พักที่ท่านเคยอยู่อาศัย เป็นต้น (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเป็นที่สร้างใหม่ "อาคารสมบัติพ่อให้" ใกล้ลานธรรม
 ๒. ชั้นที่สองและชั้นที่สาม จะเป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวาย ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปรารภกับพระครูสังฆรักษ์ สุรจิตว่า สถานที่เก็บพระพุทธรูปของพระพุทธองค์ที่ญาติโยมได้ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ไว้มากมาย จึงควรเก็บรักษาไว้เป็นจุดเดียวกัน และสถานที่เก็บก็จำเป็นจะต้องสร้างให้เหมาะสม และสมเกียรติต่อองค์พระทศพล เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์อย่างสูงสุด เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพต่อมาท่านเจ้าอาวาสได้ปรึกษากับคณะ กรรมการสงฆ์เพื่อสร้างปราสาททองคำ สนองดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อโดยได้ทำการก่อสร้างที่โรงทำอิฐเดิมของวัด อันเป็นสถานที่เดิมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กำหนดไว้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ปราสาททองคำ
ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เริ่ม สร้าง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๖ มีซุ้มพระยืน ๘ ศอก ประดิษฐานบนยอดปราสาทขณะนี้ปิดทองเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้งองค์พระและซุ้มพระ ในการก่อสร้างปราสาททองคำ ท่านเจ้าอาวาสได้ให้พระสามารถซึ่งมีความชำนาญในด้านศิลปลายไทย ดังเช่นบุษบกที่ประดิษฐานสรีระสังขารพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยพระสามารถมีหน้าที่ออกแบบ (พระสามารถ ฐานิสฺสโร เป็นผู้ออกแบบและสร้างซุ้มพระทั้งหมด ปัจจุบันลาสิกขาบทไปแล้ว) และควบคุมการก่อสร้างตลอดจนการตกแต่งต่างๆ ซึ่งท่านก็ได้ออกแบบปราสาททองคำมี ๓ ชั้น มียอดทั้งหมด ๓๗ ยอดเป็นยอดเท่าๆ กัน ๓๖ ยอด ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และยอดตรงกลางเป็นยอดใหญ่ ๑ ยอดส่วนบนสุดของปราสาทสร้างพระพุทธรูปปางลีลาขนาด ๘ ศอก ๑ องค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีบันไดขึ้นทั้ง ๔ ทิศ

 ขณะนี้เทพื้นเสร็จทุกชั้นแล้ว กำลังก่อผนังด้วยอิฐแดงทั้ง ๔ ด้าน ที่เห็นเสาตั้งอยู่หลายเสาจะทำมณฑปต่อไป ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ เริ่มทำลายปิดทองผนังชั้นที่ ๒ มาถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ปิดผนังชั้น ๒ ด้านทิศเหนือเสร็จไป ๑ ด้านแล้ว ด้านทิศตะวันตกจวนจะเสร็จแล้ว และจะทำลายปิดทองด้านทิศใต้และทิศตะวันออกต่อไป เดือนมกราคม ๒๕๔๒ กำลังลวดลายชั้นที่ ๒ ได้ปิดทองผนังด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเสร็จไป ๓ ด้าน กำลังทำลวดลายปิดทองผนังด้านทิศใต้ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๑ ช่างสามารถเริ่มทำหน้าบันไดชั้นที่ ๑ ขณะนี้ได้ทำลวดลายและปิดทองได้ ๓ หน้าบันได เพื่อให้ทันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จะเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมทองคำที่หน้าปราสาททองคำแห่งนี้ เริ่มวันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม (วันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประตูเข้าปราสาททองคำ
ประตูเข้าปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ
เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ภายในปราสาททองคำ
ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ
เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ลวด ลายเทพเทวดา ที่ประดับดารอบเสาทุกต้น สิ่งสวยงามต่างๆเหล่านี้จะอยู่ทนนานถึงลูกหลานได้ต้องช่วยกันรักษา กรุณาอย่าจับต้องสิ่งเหล่านี้นะครับ ปัจจุบันชำรุดไปมากแล้วทั้งที่ชั้นบนยังไม่แล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมเลย

ประตูปราสาททองคำ
ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ประตูปราสาททองคำ
ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ภายในปราสาททองคำ
ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ
ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่เห็นนี้เป็นบันไดขึ้นสู่ชั้นบนสูงๆ ขึ้นไปแต่ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จและยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไปครับ

เก็บภาพ
เก็บภาพ ภายในและภายนอกปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) มีความสวยงามมาก ช่างภาพหลายคนเลือกเป็นสถานที่ในการเก็บภาพสวยๆ

รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง
รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง ตกลง ราคากันได้ แต่ปกติจะเป็นราคามาตรฐานเท่ากันทุกคัน อยู่ที่ว่าจำนวนคนที่มาจะมากจะน้อยถ่ามาน้อยคนก็หารกันแพงหน่อย แต่รับรองว่าไม่ได้แพงจนนั่งไม่ไหว ส่วนพวกเราเลือกวิธีการขับรถเข้าไปเองเพราะต้องใช้เวลาในการเก็บภาพมาก เกรงใจรถครับ

ศาลา
ศาลา ๔ ไร่ - ศาลา ๑๒ ไร่ - ศาลา ๒๕ ไร่ - ตึกขาว ศาลา ที่สำคัญต่างๆ ในวัดท่าซุงโดยมีวัตถุประสงในการสร้างดังนี้ ศาลา ๑๒ ไร่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯสร้างไว้ หลังจากที่ได้สร้างศาลา ๒ ไร่ ศาลา ๓ ไร่ และศาลา ๔ ไร่แล้ว ศาลาเหล่านี้สร้างไว้เพื่อใช้ในการจัดงานบุญของวัด และใช้เป็นที่พักของญาติโยม เพื่อมาปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือพักอาศัย ในเวลาทางวัดมีงานต่างๆ การสร้างศาลา ๑๒ ไร่ เพราะว่าศาลาต่างๆที่สร้างมาแล้วในครั้งที่จัดงานเป่ายันต์เกราะเพชร ปรากฎว่าผู้คนมามากมายจนล้นศาลา ๒ ไร่ และศาลา ๔ ไร่ เพิ่มรอบในการเป่ายันต์เกราะเพชรแล้ว ผู้คนก็ยังล้นมากมาย ดังนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จึงได้สร้างศาลา ๑๒ ไร่ โดยสร้างพระประธาน ๘ ศอก สร้างห้องพักเพื่อให้ญาติโยมได้พักประมาณ ๑๒๐ ห้อง ห้องน้ำประมาณ ๑๔๘ ห้อง (เคยมีโรงทานที่หลวงพ่อให้แม่ครัวของวัดทำอาหารเลี้ยงฟรี แต่ปัจจุบันนี้ได้ย้ายโรงทานไปไว้ที่ศาลา ๔ ไร่แทน) นอกจากนี้ บริเวณทางเดินชั้น ๒ ก็ได้สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ตลอดแนว พระชำระหนี้สงฆ์นี้เป็นเงินที่ญาติโยมถวายวัดโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง พระชำระหนี้สงฆ์และได้ประดิษฐานไว้รอบศาลา ๑๒ ไร่ ปัจจุบันศาลา ๑๒ ไร่ ยังคงใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาและงานบุญต่างๆ เช่น งานทำบุญประจำปีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีช่วงกลางเดือนมีนาคม งานทำบุญในวันสงกรานต์ งานสะเดาะเคราะห์ งานเข้าพรรษา งานออกพรรษา งานรับกฐิน งานธุดงค์ และการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ซึ่งจัดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี

ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง
ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง เป็นร้านสะดวกซื้อภายในมีสินค้ามากมายที่สำคัญคือของใช้จำเป็นสำหรับนักปฏิบัติธรรม

หอไตรกลางน้ำ
หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่า ข้าม ฝั่งจากด้านวิหารแก้วออกมาจากประตูใหญ่ข้ามถนนมาอีกฝั่งหนึ่งจะมีสถานที่ สำคัญๆ หลายแห่ง รวมทั้งท่าน้ำหน้าวัดที่เป็นที่มาของชื่อวัดท่าซุง หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่าอยู่ด้านหน้าศาลาเก่าใกล้กับ "หอฉัน" (ทางไปท่าน้ำ) เป็นอาคารไม้ทรงไทย ลวดลายประดับกระจกปิดทองคำเปลว เดิมใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกเพื่อมิให้มดปลวกมาทำลาย โดยสร้างไว้ในสระน้ำเล็กๆ แบบโบราณ แต่ปัจจุบันเก็บพระไตรปิฎกไว้ที่หอพระไตรปิฎก สูง ๗ ชั้น ด้านหลังพระยืน ๓๐ ศอก ข้อมูลเพิ่มเติม

ท่าน้ำวัดท่าซุง
ท่าน้ำวัดท่าซุง เป็น จุดที่มีปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมมาก ประชาชนสามารถซื้ออาหารปลามาเลี้ยงปลาได้เป็นสถานที่พักผ่อนหลังจากการเดิน ชมบริเวณวัด หรือจะเป็นสถานที่พักรอเวลาวิหารเปิดก็ได้

เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง
เดินทางถึงวัดจันทารามหรือวัดท่าซุง หาก มาวัดท่าซุงหลายๆ คนคงจะนึกถึงการเข้าเยี่ยมชมวิหาร 100 เมตร และนมัสการสมเด็จองค์ปฐม สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำเป็นอันดับแรก ก็ต้องเข้าประตูให้ถูก ซึ่งวิหาร 100 เมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าเห็นชัดเจน หากมาจากทางตัวเมืองอุทัยธานี ประตูจะอยู่ขวามือเมื่อลี้ยวเข้ามาจะเห็นความน่าอัศจรรย์ใจคือแนวกำแพงที่ ได้สร้างเป็นห้องๆ แต่ละห้องจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ 1 องค์ เป็นปางเดียวกันตลอดแนวกำแพง โดยกำแพงนี้จะสร้างเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างจะกว้างพอที่จะจอดรถได้

พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย
พระราชานุสาวรีย์พระมหากษัตริย์ไทย ก่อนถึงประตูเข้าวิหาร 100 เมตร จะมีพระบรมรูปรัชกาลที่ 1 รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 และ รัชกาลที่ 7
 ปั้นด้วยปูน ปิดทองคำเปลวทั้งองค์ ตั้งอยู่บนฐานสูง ๓.๒ เมตร กว้าง ๓.๘ เมตร ยาว ๓.๕ เมตร องค์พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับนั่งบัลลังก์ ขนาดสูง ๒.๖๕ เมตร กว้าง ๒.๒๕ เมตร ยาว ๑.๙๖ เมตร ทรงประทัยนั่งวัดจากพระเศียรถึงพระบาท ๒.๙ เมตร
 และยังมีป้ายจารึกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีลักษณะเป็นซุ้ม ๒ เสา เฉพาะเสาสูง ๔ เมตร มีป้ายและพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (เหมือนกันทั้ง ๒ ด้าน) มีปิดกระจกทั้ง ๒ ด้าน ขนาดของป้ายยาว ๗.๙ เมตร กว้าง ๔ เมตร
 ถัดเข้าไปตามลานจอดรถจะมีพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช และพระราชานุเสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (เมื่อครั้งทรงผนวช)

มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า
มณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า เดิน เข้าประตูสู่วิหาร 100 เมตร จะมีมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้าอยู่ทางซ้ายมือ วิหาร 100 เมตร มีเวลาปิดเปิดนะครับ คือนักท่องเที่ยวส่วนมากจะเดินทางมาถึงกันตอนใกล้ๆ เที่ยง ซึ่งยังอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่อนุญาตให้เข้าชมเพราะมีนักปฏิบัติธรรมอยู่ด้าน ใน เวลาที่เหมาะสมคือหลัง บ่าย 2 ซึ่งจะเปิดให้ชมได้ถึง 4 โมงเย็นเท่านั้น หรือช่วงเช้าก็เปิดช่วง 10.00-12.00น.

ซุ้มประตูวิหาร
ซุ้มประตูวิหาร 100 เมตร 

วิหารแก้ว
วิหารแก้ว 100 เมตร เป็น วิหารสำคัญที่หลวงพ่อฤๅษีลิงดำสร้างไว้ก่อนมรณะภาพรวมทั้งยังเป็นที่รักษา สังขารร่างของหลวงพ่อที่ไม่เน่าเปื่อยในโลงแก้ว ไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ภายในสร้างจากวัสดุที่เป็นกระจกสะท้อนแสงแวววาวสวยงาม

มณฑปหลวงปู่ปาน
มณฑปหลวงปู่ปาน หลวง ปู่ปานเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำผู้สร้างวิหารแก้ว 100 เมตร มณฑปหลวงปู่ปานจะอยู่ด้านขวามือ มณฑปและวิหารต่างๆ ในวัดท่าซุงจะเปิดให้เข้าชมได้จนถึง เวลา 16.00 น. นะครับ

สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ
สังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ อยู่ในโลงแก้วศิษยานุศิษย์เข้ามานมัสการกันไม่ขาดสาย

ภายในวิหารแก้ว
ภายในวิหารแก้ว 100 เมตร เสาและเพดานติดกระจก เมื่อเปิดไฟภายในจะมีภาพสะท้อนไปมาอย่างสวยงาม

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ประดิษฐาน ในวิหารแก้ว 100 เมตร อยู่อีกด้านหนึ่งของสังขารหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ประชาชนมักจะมานมัสการกราบไหว้เป็นสิริมงคลรวมทั้งถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกัน ไม่ขาดสาย การจะถ่ายรูปที่หน้าพระพุทธรูปทำได้โดยยาก เพราะมีคนเดินไปเดินมาตลอดเวลา

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ขอบคุณภาพจากสมาชิก pattranit ครับ เป็นมุมมองใหม่ๆ ของการถ่ายภาพพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมในวิหารแก้ว

พระพุทธรูปในวิหารแก้ว
พระพุทธรูปในวิหารแก้ว บริเวณนี้เป็นที่จัดไว้สำหรับพุทธศาสนิกชนได้ถวายสังฆทาน

ด้านหน้าวิหารแก้ว
ด้านหน้าวิหารแก้ว 100 เมตร บริเวณด้านหน้าภายนอกวิหารแก้ว มีโต๊ะหมู่บูชาจำนวนมากจัดเรียงรายไว้

ยอดมณฑปและวิหาร
ยอดมณฑปและวิหาร ภายในวัดท่าซุงมีมณฑปและวิหารอยู่หลายแห่งแต่ละแห่งมักจะติดวัสดุกระจกและล้อมรอบด้วยแก้วใส ส่วนยอดจะสร้างในลักษณะเดียวกัน

พระปัจเจกพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ภายในมณฑปพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

พระศรีอาริยเมตไตรย
พระศรีอาริยเมตไตรย ออก จากวิหารแก้ว 100 เมตร จะใช้บริการรถสามล้อโดยสารนำเที่ยวหรือว่าหากขับรถมาเองจะขับเข้าไปชมบริเวณ วัดก็ได้ มณฑปพระศรีอาริย์ อยู่ห่างจากวิหารแก้วไม่มากนักอยู่เยื้องกันกับวิหารสมเด็จองค์ปฐม เปิด 9.00-16.00น. (เหมือนกันทุกมณฑป)

เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย
เครื่องถวายองค์พระศรีอาริยเมตไตรย ทางวัดจัดเตรียมชุดถวายสำหรับประชาชนไว้เป็นที่เรียบร้อย

วิหารสมเด็จองค์ปฐม
วิหารสมเด็จองค์ปฐม สร้างเมื่อปี 2534 แล้วเสร็จปี 2534 ภายในประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐม ที่มีความงดงามมาก

ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม
ภายในวิหารสมเด็จองค์ปฐม นมัสการพระพุทธรูปและสมเด็จองค์ปฐมในวิหาร

สมเด็จองค์ปฐม
สมเด็จองค์ปฐม ภายในพระวิหารสมเด็จองค์ปฐม

หอพระไตรปิฏก
หอพระไตรปิฏก - หลวงพ่อเงินไหลมาเทมา พระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรยืนสูง ๓๐ ศอก (ประมาณตึก 4 ชั้น) หลวงพ่อสร้างเป็นพระพุทธรูปประทับยืนอุ้มบาตร เดิมเรียกว่า "หลวงพ่อโต" (สร้างคล้ายกับที่ วัดอินทรวรวิหาร กรุงเทพฯ) อยู่บริเวณใกล้กับวิหารสมเด็จองค์พระปฐม ภายในบริเวณนี้มีเจดีย์พุดตาน และเจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม
 หอพระไตรปิฎกสูงขนาดตึก ๖ ชั้น เป็นสถานที่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้สร้างไว้ให้สักการะบูชาและขอพร และยังเป็นสถานที่เก็บรักษาพระไตรปิฏก ชั้นล่างจะเปิดโอกาสให้ผู้เดินทางมากราบไหว้จุดธูปเทียนและปิดทองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ทางวัดได้สร้างองค์จำลองที่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐานที่ชั้นล่าง ทางเข้าประตูซ้ายของหอพระไตรปิฏก และมีรูปปั้นหลวงปู่ปานและหลวงพ่ออยู่ข้างๆ มีพระเจ้าหน้าที่คอยดูแลสถานที่ คือพระสำเภา สุธมฺปวโร ข้อมูลวัดท่าซุง

เจดีย์พุดตาน
เจดีย์พุดตาน ประวัติการสร้างพระเจดีย์พุดตาน การบรรจุสิ่งของในพระเจดีย์ก็มีพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธ เจ้า มีพระพุทธรูปทองคำ เทวรูป อีกมากมาย ตลอดจนแก้วแหวนเงินทอง เพื่อบูชาพระรัตนตรัย ยังมีสมบัติของพระเจ้าศรีธรรมปิฎกหรือพระเจ้าพรหมมหาราชในอดีต ซึ่งสร้างวัดและพระเจดีย์ระหว่างเขตพิษณุโลกกับเพชรบูรณ์ คณะคุณสันต์ ภู่กร แห่งจังหวัดพิษณุโลกขุดได้นำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์พุดตาน

เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต
เจดีย์บรรจุอัฐิบิดาของคุณอภิชาต สุขุม 

สวนสมเด็จองค์ปฐม
สวนสมเด็จองค์ปฐม สร้างถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ

ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ
ซุ้มประตูข้างปราสาททองคำ เป็น ซุ้มประตูเข้าออกระหว่างบริเวณลานกว้างหน้าปราสาททองคำกับอีกด้านหนึ่งก็ เป็นลานกว้างที่พื้นมีการตีเส้นเหมือนสนามบาสไว้ และยังมีบันไดสำหรับเดินขึ้นไปตามแนวกำแพง 2 ชั้นไปศาลา 2 ไร่ และศาลา 4 ไร่ได้

ปราสาททองคำ
ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่ มาของคำว่า ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เนื่องจาก ปีพ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นปีที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ขึ้นครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ท่านเจ้าอาวาสจึงนำการสร้าง "ปราสาททองคำ" ขึ้นถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ทรงเสวยราชย์เป็นปีที่ ๕๐ และทางสำนักพระราชวังได้ให้ชื่อปราสาททองคำใหม่ว่า "ปราสาททองกาญจนาภิเษก"
 ปราสาททองคำ ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับลวดลายไทยปิดทองคำเปลวติดกระจก ใช้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ญาติโยมถวาย รอบนอกปราสาทใช้ทองคำเปลวปิดรอบปราสาท ภายในปราสาทเป็นที่ประดิษฐานสิ่งของสำคัญ คือ

 ๑. ชั้นแรก เป็นพิพิธภัณฑ์ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยจะนำสิ่งของต่างๆที่ท่านเคยใช้ก็ดี หรือของส่วนตัวท่านก็ดีมาประดิษฐานไว้ หรือสร้างจำลองสถานที่พักที่ท่านเคยอยู่อาศัย เป็นต้น (ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเป็นที่สร้างใหม่ "อาคารสมบัติพ่อให้" ใกล้ลานธรรม
 ๒. ชั้นที่สองและชั้นที่สาม จะเป็นสถานที่เก็บพระพุทธรูปขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ที่ญาติโยมนำมาถวาย ในสมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปรารภกับพระครูสังฆรักษ์ สุรจิตว่า สถานที่เก็บพระพุทธรูปของพระพุทธองค์ที่ญาติโยมได้ถวายพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ไว้มากมาย จึงควรเก็บรักษาไว้เป็นจุดเดียวกัน และสถานที่เก็บก็จำเป็นจะต้องสร้างให้เหมาะสม และสมเกียรติต่อองค์พระทศพล เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธองค์อย่างสูงสุด เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อได้มรณภาพต่อมาท่านเจ้าอาวาสได้ปรึกษากับคณะ กรรมการสงฆ์เพื่อสร้างปราสาททองคำ สนองดำริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อโดยได้ทำการก่อสร้างที่โรงทำอิฐเดิมของวัด อันเป็นสถานที่เดิมที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กำหนดไว้ ข้อมูลเพิ่มเติม

ปราสาททองคำ
ปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) เริ่ม สร้าง ตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๓๖ มีซุ้มพระยืน ๘ ศอก ประดิษฐานบนยอดปราสาทขณะนี้ปิดทองเสร็จเรียบร้อยแล้วทั้งองค์พระและซุ้มพระ ในการก่อสร้างปราสาททองคำ ท่านเจ้าอาวาสได้ให้พระสามารถซึ่งมีความชำนาญในด้านศิลปลายไทย ดังเช่นบุษบกที่ประดิษฐานสรีระสังขารพระเดชพระคุณหลวงพ่อ โดยพระสามารถมีหน้าที่ออกแบบ (พระสามารถ ฐานิสฺสโร เป็นผู้ออกแบบและสร้างซุ้มพระทั้งหมด ปัจจุบันลาสิกขาบทไปแล้ว) และควบคุมการก่อสร้างตลอดจนการตกแต่งต่างๆ ซึ่งท่านก็ได้ออกแบบปราสาททองคำมี ๓ ชั้น มียอดทั้งหมด ๓๗ ยอดเป็นยอดเท่าๆ กัน ๓๖ ยอด ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และยอดตรงกลางเป็นยอดใหญ่ ๑ ยอดส่วนบนสุดของปราสาทสร้างพระพุทธรูปปางลีลาขนาด ๘ ศอก ๑ องค์ หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีบันไดขึ้นทั้ง ๔ ทิศ

 ขณะนี้เทพื้นเสร็จทุกชั้นแล้ว กำลังก่อผนังด้วยอิฐแดงทั้ง ๔ ด้าน ที่เห็นเสาตั้งอยู่หลายเสาจะทำมณฑปต่อไป ในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๑ เริ่มทำลายปิดทองผนังชั้นที่ ๒ มาถึงเดือนกันยายนในปีเดียวกัน ปิดผนังชั้น ๒ ด้านทิศเหนือเสร็จไป ๑ ด้านแล้ว ด้านทิศตะวันตกจวนจะเสร็จแล้ว และจะทำลายปิดทองด้านทิศใต้และทิศตะวันออกต่อไป เดือนมกราคม ๒๕๔๒ กำลังลวดลายชั้นที่ ๒ ได้ปิดทองผนังด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเสร็จไป ๓ ด้าน กำลังทำลวดลายปิดทองผนังด้านทิศใต้ เมื่อต้นเดือนตุลาคม ๒๕๔๑ ช่างสามารถเริ่มทำหน้าบันไดชั้นที่ ๑ ขณะนี้ได้ทำลวดลายและปิดทองได้ ๓ หน้าบันได เพื่อให้ทันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ จะเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมทองคำที่หน้าปราสาททองคำแห่งนี้ เริ่มวันงานเททองหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม (วันเสาร์ที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒)

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประตูเข้าปราสาททองคำ
ประตูเข้าปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ
เทวรูปที่ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ภายในปราสาททองคำ
ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ
เสาแต่ละต้นของปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ลวด ลายเทพเทวดา ที่ประดับดารอบเสาทุกต้น สิ่งสวยงามต่างๆเหล่านี้จะอยู่ทนนานถึงลูกหลานได้ต้องช่วยกันรักษา กรุณาอย่าจับต้องสิ่งเหล่านี้นะครับ ปัจจุบันชำรุดไปมากแล้วทั้งที่ชั้นบนยังไม่แล้วเสร็จและเปิดให้เข้าชมเลย

ประตูปราสาททองคำ
ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ประตูปราสาททองคำ
ประตูปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ภายในปราสาททองคำ
ภายในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) 

ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ
ทางขึ้นชั้นบนในปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) ที่เห็นนี้เป็นบันไดขึ้นสู่ชั้นบนสูงๆ ขึ้นไปแต่ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จและยังไม่อนุญาตให้ขึ้นไปครับ

เก็บภาพ
เก็บภาพ ภายในและภายนอกปราสาททองคำ (กาญจนาภิเษก) มีความสวยงามมาก ช่างภาพหลายคนเลือกเป็นสถานที่ในการเก็บภาพสวยๆ

รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง
รถบริการนำเที่ยวในวัดท่าซุง ตกลง ราคากันได้ แต่ปกติจะเป็นราคามาตรฐานเท่ากันทุกคัน อยู่ที่ว่าจำนวนคนที่มาจะมากจะน้อยถ่ามาน้อยคนก็หารกันแพงหน่อย แต่รับรองว่าไม่ได้แพงจนนั่งไม่ไหว ส่วนพวกเราเลือกวิธีการขับรถเข้าไปเองเพราะต้องใช้เวลาในการเก็บภาพมาก เกรงใจรถครับ

ศาลา
ศาลา ๔ ไร่ - ศาลา ๑๒ ไร่ - ศาลา ๒๕ ไร่ - ตึกขาว ศาลา ที่สำคัญต่างๆ ในวัดท่าซุงโดยมีวัตถุประสงในการสร้างดังนี้ ศาลา ๑๒ ไร่ พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯสร้างไว้ หลังจากที่ได้สร้างศาลา ๒ ไร่ ศาลา ๓ ไร่ และศาลา ๔ ไร่แล้ว ศาลาเหล่านี้สร้างไว้เพื่อใช้ในการจัดงานบุญของวัด และใช้เป็นที่พักของญาติโยม เพื่อมาปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือพักอาศัย ในเวลาทางวัดมีงานต่างๆ การสร้างศาลา ๑๒ ไร่ เพราะว่าศาลาต่างๆที่สร้างมาแล้วในครั้งที่จัดงานเป่ายันต์เกราะเพชร ปรากฎว่าผู้คนมามากมายจนล้นศาลา ๒ ไร่ และศาลา ๔ ไร่ เพิ่มรอบในการเป่ายันต์เกราะเพชรแล้ว ผู้คนก็ยังล้นมากมาย ดังนั้นพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จึงได้สร้างศาลา ๑๒ ไร่ โดยสร้างพระประธาน ๘ ศอก สร้างห้องพักเพื่อให้ญาติโยมได้พักประมาณ ๑๒๐ ห้อง ห้องน้ำประมาณ ๑๔๘ ห้อง (เคยมีโรงทานที่หลวงพ่อให้แม่ครัวของวัดทำอาหารเลี้ยงฟรี แต่ปัจจุบันนี้ได้ย้ายโรงทานไปไว้ที่ศาลา ๔ ไร่แทน) นอกจากนี้ บริเวณทางเดินชั้น ๒ ก็ได้สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ตลอดแนว พระชำระหนี้สงฆ์นี้เป็นเงินที่ญาติโยมถวายวัดโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง พระชำระหนี้สงฆ์และได้ประดิษฐานไว้รอบศาลา ๑๒ ไร่ ปัจจุบันศาลา ๑๒ ไร่ ยังคงใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาและงานบุญต่างๆ เช่น งานทำบุญประจำปีซึ่งจัดเป็นประจำทุกปีช่วงกลางเดือนมีนาคม งานทำบุญในวันสงกรานต์ งานสะเดาะเคราะห์ งานเข้าพรรษา งานออกพรรษา งานรับกฐิน งานธุดงค์ และการฝึกมโนมยิทธิแบบเต็มกำลัง ซึ่งจัดในช่วงกลางเดือนธันวาคมของทุกปี

ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง
ร้านสวัสดิการวัดท่าซุง เป็นร้านสะดวกซื้อภายในมีสินค้ามากมายที่สำคัญคือของใช้จำเป็นสำหรับนักปฏิบัติธรรม

หอไตรกลางน้ำ
หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่า ข้าม ฝั่งจากด้านวิหารแก้วออกมาจากประตูใหญ่ข้ามถนนมาอีกฝั่งหนึ่งจะมีสถานที่ สำคัญๆ หลายแห่ง รวมทั้งท่าน้ำหน้าวัดที่เป็นที่มาของชื่อวัดท่าซุง หอไตรกลางน้ำ ฝั่งโบสถ์เก่าอยู่ด้านหน้าศาลาเก่าใกล้กับ "หอฉัน" (ทางไปท่าน้ำ) เป็นอาคารไม้ทรงไทย ลวดลายประดับกระจกปิดทองคำเปลว เดิมใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกเพื่อมิให้มดปลวกมาทำลาย โดยสร้างไว้ในสระน้ำเล็กๆ แบบโบราณ แต่ปัจจุบันเก็บพระไตรปิฎกไว้ที่หอพระไตรปิฎก สูง ๗ ชั้น ด้านหลังพระยืน ๓๐ ศอก ข้อมูลเพิ่มเติม

ท่าน้ำวัดท่าซุง
ท่าน้ำวัดท่าซุง เป็น จุดที่มีปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุมมาก ประชาชนสามารถซื้ออาหารปลามาเลี้ยงปลาได้เป็นสถานที่พักผ่อนหลังจากการเดิน ชมบริเวณวัด หรือจะเป็นสถานที่พักรอเวลาวิหารเปิดก็ได้
   credit :  http://touronthai.com/





ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/

adv001


----------------

ปรับปรุง
รายการบทความทั้งหมด



การบำรุงรักษารถยนต์เบื้องต้น



ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้ รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง



รวมบทความอาชีพ เสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม



รวมบทความงานฝีมือ-สิ่งประดิษฐ์ รายได้เสริม



ทองม้วน thong muan ; rolled wafer





MASK รุ่นสายคล้องคอ







MASK รุ่นสายคล้องคอ. ��รุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก #ขายดีมาก
ทำจากผ้าคอตตอนแท้ 100%  ไม่ผสม เนื้อผ้านุ่ม 
3 ชั้น. สวมใส่พอดีกับใบหน้า ไม่เจ็บหู มีสายคล้องคอปรับได้
เวลาถอดออก ไม่ต้องกลัวลืม เพราะถอดแล้วคล้องคอไว้ได้
บรรจุในถุงซิปฟรอย์อย่างดี
ราคาชิ้นละ. 59. บาท. ไม่รวมส่ง 
มีหลายสีให้เลือกนะคะ   สนใจทักแชทขอดูสีผ้าได้นะคะ
หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือ สนใจสั่งไปจำหน่าย 
มีเรทราคาส่งค่ะ

-> id line : noeyhorm_06
#มีวางจำหน่ายหน้าร้านชานมไต้หวันมาราชาสาขาจรัญ44


ร้านมาราชาชานมไข่มุก สาขาจรัญสนิทวงศ์ 44
● รับบัตรสะสมครบ 10 แก้ว แลกรับฟรี 1 แก้ว
● สั่งเดลิเวอรีผ่าน LINE MAN, Foodpanda ,GET ...ถึงมือปั๊บพร้อมดื่มปุ๊บ!
● อัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ รสชาติใหม่ ตลอดเวลา
● มีเมนูให้เลือก 40 กว่าเมนู : https://bit.ly/2Z9iqV0






























































เลือกช่องทางติดต่อและรับข่าวสารบริการหลังการขาย
ฟอร์ด พลปิยะอยุธยาและฟอร์ด พลปิยะวังน้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------
แคมเปญ-โปรโมทชั่น อะไหล่ฟอร์ด อัพเดททางออนไลน์และปรับปรุงข้อมูลออนไลน์
อะไหล่ฟอร์ด อะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่รถยนต์ฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ดแท้ ร้านขายอะไหล่รถฟอร์ด ขายอะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ด
 
Option

รวมบทความอาชีพเสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม หาอาชีพเสริมอิสระทำเงิน สร้างอาชีพอิสระงานฝีมือ แนะนำการสร้างรายได้เสริมทำเงินด้วยการขายสินค้าหรือขายของเป็นอาชีพเสริม อิสระงานฝีมือ แนะแนวธุรกิจ อาชีพเสริม อาชีพแก้จน อยากจะมีรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ บล๊อกจัดทำขึ้นเป็นวิทยาทานเพื่อเผยแผ่ความรู้อันจะเป็นไปเพื่อบุญกุศล ขอให้ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในบทความของบล๊อกนี้ จงได้รับอานิสงฆ์ด้วยเทอญ.