
ประยุกต์อาหารไทย ด้วย “มิโซะ” เครื่องปรุงรสพื้นฐานของอาหารญี่ปุ่น ที่มีคุณค่าทางโภชนาการและโปรตีนสูง
ใครนึกสนุกอยากลองทำอาหารเพื่อสุขภาพ...ไม่ยากอย่างที่คิด ลองนำ เต้าเจี้ยว หรือ มิโซะที่คุ้นเคยกันดีในรูปแบบของมิโซะซุปมาดัดแปลงเป็นเมนูไทยๆ
มิโซะได้ มาจากการแปรรูปถั่วเหลือง โดยใช้วิธีการหมัก ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานและคุณค่าทางโภชนาการและโปรตีนสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจากเนื้อสัตว์ จึงนิยมใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารสำหรับคนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ที่สำคัญอุดม ไปด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการหลายชนิดจึงมีประโยชน์และไม่ก่อให้เกิด อันตรายต่อร่างกายแถมยังมีสารชูรสและกลิ่นหอมชวนรับประทาน
ว่ากันว่า ต้นกำเนิดมิโซะมา จากเมืองจีนราว 2,000 กว่าปีมาแล้วใช้เป็นเครื่องปรุงรสให้กับอาหารประเภทต่างๆ ก่อนที่จะเข้ามาในญี่ปุ่น หลังจากนั้นชาวญี่ปุ่นได้ทำการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ของเชื้อราที่ใช้ใน การหมัก โดยเชื้อราในกลุ่มแอสเปอร์จิลรัส ออไรเซ่ (Aspergillus oryzae) หรือ อาจจะใช้หลายสายพันธุ์ร่วมกัน มีการปรุงแต่งรสเรื่อยมา ทำให้มิโซะมีความหลากหลายมากขึ้น
กรรมวิธีการทำมิโซะคือ นำเอา ถั่วเหลืองและข้าวเจ้าหรือข้าวบาร์เลย์ มาบดแล้วทำการหมัก แบ่งตามส่วนผสมออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ถั่วเหลือง ข้าว เกลือ 80% ของมิโซะทั้ง หมดเป็น kome miso 2. ถั่วเหลือง ข้าวบาร์เลย์ เกลือ หรือmugi miso จากเกาะคิวชู 3. ถั่วเหลือง เกลือ หรือmame miso ของเมือง นาโกยา ตามท้องตลาดมีเลือก 2 แบบหลักๆ คือ มิโซะสีขาว ใช้เวลาหมัก 2 - 3 สัปดาห์ รสอ่อนมิโซะแดง หมักเป็นเวลา 1 - 2 ปี รสเข้ม เค็มกว่ามิโซะขาว
เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น หรือ มิโซะ แตกต่างจากเต้าเจี้ยวจีนที่เนื้อถั่วบดละเอียด รสและกลิ่นแรงกว่า เพราะใช้เวลาหมักนาน จะว่าไปมีลักษณะคล้ายกะปิไทย
คุณบุญมี ลินลาวรรณ กูรูเต้าเจี้ยวของถั่วหมักโจฮิน บอกว่า เหตุผล ที่คนนิยมบริโภคมิโซะ เพราะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหิวทำให้อยากอาหารมากขึ้น มีเอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร อุดมด้วยโพรไบโอติกส์ หรือแบคทีเรียดี ที่มีหน้าที่แย่งพื้นที่และป้องกันไม่ให้แบคทีเรียตัวร้ายเกาะผนังลำไส้ คืนความสมดุลของลำไส้ บรรเทาอาการท้องเดินและช่วยชะลอความเสื่อมของระบบย่อยอาหาร อุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็กและโพแทสเซียม
ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิตเพราะทำมาจากถั่วเหลือง จึงยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ ,บี 1, บี 2 ,ดี, อี, เค และไนอะซิน (บี 3) แล้วยังมีแคลเซียม และสารกลุ่มไอโซฟลาโวน ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
ผู้เชี่ยวชาญเต้าเจี้ยว จึงชี้ชวนให้ลองดัดแปลง “มิโซะ” มาใช้ เป็นส่วนผสมในเมนูไทยในสไตล์ที่คุ้นเคย เช่น หอยลายผัด มิโซะหมู ผัดขิง ผัดผักบุ้งไฟแดง น้ำจิ้มข้าวมันไก่ น้ำจิ้มข้าวต้มปลา เพื่อปรุงให้ได้รสอร่อยยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารได้อีกด้วย เพราะเต้าเจี้ยวทำจากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ให้โปรตีนสูง อีกทั้งในเต้าเจี้ยวยังไม่มีแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรต ทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานจากที่ปกติเมนูอาหารพวกนี้ใช้ เต้าเจี้ยวไทย หรือจีน
สำหรับคนที่มีปัญหาการนอนไม่หลับ ลองหันมารับประทานซุปมิโซะเพราะ มีกรดอะมิโนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย และปรับอุณหภูมิของร่างกายให้เหมาะสมแก่การนอนหลับได้อีกด้วย
ถ้ามีเวลาว่าง มื้อหน้า อย่าลืม …ลองทำเมนูไทยที่มีส่วนผสมของมิโซะดูซิคะ
มิโซะหลน
ส่วนผสม
- หัวกะทิ
- กุ้งสับ หรือ หมูสับหรือปนกัน
- หอมแดงซอย
- กระเทียมซอย
- เต้าเจี้ยวญี่ปุ่น หรือมิโซะแดง
- พริกเหลือง
- น้ำตาลปึก
- น้ำมะขามเปียก
วิธีทำ
1. ตั้งหม้อ นำเอาหัวกะทิ หอมแดง กระเทียม ลงไปต้ม
2. พอเดือด ใส่หมู หรือกุ้งสับลงไป รอจนเดือดทำการปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียก และ น้ำตาลปึก ชิมให้มีรสหวานนำเปรี้ยว
3.ตักมิโซะเติมลงไป กวนให้มิโซะละลาย ชิมรสให้มีรสมิโซะนำ และรสต้องเข้มข้นเพราะทานกับผัก
4.สุดท้ายใส่พริกเหลือง พอเดือดดับไฟ จัดใส่ถ้วย
ปลากะพงซอสมิโซะ
ส่วนผสม
1. ปลากะพงขาว 1 ตัว
2. น้ำมันสำหรับทอดปลา
3. พริกชี้ฟ้าแดง 5 เม็ด
4. กระเทียม 1/4 ถ้วยตวง
5. น้ำมะขามเปียกคั้นข้น 2-3 ช้อนโต๊ะ
6. ซอสมะเขือเทศ 1-2 ช้อนโต๊ะ
7. ซอสพริก 1/2 ช้อนโต๊ะ
8. น้ำตาลมะพร้าว 1/4 ถ้วยตวง
9. มิโซะแดง 1/4-1/2 ถ้วยตวง
8. ใบโหระพา พริกชี้ฟ้า สำหรับตกแต่ง
วิธีทำ
1. ปลากะพงขาวขอดเกล็ดควักไส้ออกล้างน้ำให้สะอาดบั้งให้ลึกถึงกระดูกทั้ง 2 ข้าง
2. นำไปทอดในน้ำมันมากและร้อนจัด จนปลาเหลืองกรอบ
3. โขลกกระเทียมและพริกแดงให้ละเอียด นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน 1/2 ถ้วยตวง
4. ผัดพริกกระเทียมที่โขลกไว้ให้เหลือง ใส่น้ำตาลมะพร้าว ผัดจนน้ำตาลเหลือง
5. ใส่มิโซะแดง น้ำมะขามเปียก ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ผัดให้เข้ากัน
6. ชิมรสให้ได้ หวาน เค็ม เปรี้ยว เผ็ดเล็กน้อย ดูว่าน้ำเหนียวข้นหรือยัง
7. ถ้ายัง ให้เคี่ยวสักครู่จนน้ำเหนียวข้น ไม่ต้องถึงขั้นยางมะตูม
8. ตักขึ้นราดลงบนปลาที่เตรียมไว้ แต่งด้วยใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ให้สวยงาม
credit : http://goo.gl/S4Oqv
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001