สูตรขนม สูตรอาหาร อาชีพรายได้เสริม ประกาศฟรี โฆษณาฟรี Career Articles Extra Income
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Drop Down MenusCSS Drop Down MenuPure CSS Dropdown Menu

แฟรนไชส์ ICE blinkz มิติใหม่ไอศกรีมโชว์ผัดสดๆ

       โชว์วิธีทำแปลกใหม่ ผัดกันสดๆ แบบลูกต่อลูก นี่คือจุดขายของ “ ICE blinkz” (ไอซ์ บลิงคส์) ไอศกรีมแฟรนไชส์แบรนด์ไทยรายล่าสุด ซึ่งนำเทคนิคจากต่างประเทศ มาผสมกับรสชาติฉ่ำหวานของผลไม้ หวังสร้างกระแสฮิตโดนใจวัยรุ่นไทย
       
อภิลักษณ์ สิริกีรติกุล
       อภิลักษณ์ สิริกีรติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ลีฟวิ่งไอเดีย จำกัด ผู้บุกเบิกแฟรนไชส์ไอศกรีมผัดสด “ICE blinkz” เผยว่า ไอเดียมาจากส่วนตัวต้องเดินทางติดต่อธุระต่างประเทศเป็นประจำ ในหลายๆ ประเทศ อย่างเกาหลี หรือแถบยุโรป นิยมกินไอศกรีมแบบผัดเป็นก้อนกันสดๆ อย่างมาก
     
       ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีมาก่อน แต่มีน้ำผลไม้ปั่น ซึ่งลักษณะจะคล้ายๆ กับวัตถุดิบที่ใช้ทำไอศกรีมผัด จึงเกิดไอเดียนำวิธีการทำไอศกรีมสดมาผสมกับน้ำผลไม้ปั่น แลวนำเสนอเป็นไอศกรีมโฉมใหม่ในเมืองไทย รวมถึง จะแตกต่างจากในต่างประเทศ ตรงใช้ผลไม้เป็นวัตถุดิบหลัก
ขั้นตอนผัดสด นำครีมราดลงกะทะ อุณหภูมิ -20 องศา
       “จุดขายของ ICE blinkz คือ เทคนิคการทำที่แปลกใหม่ ทำสดลูกต่อลูก เรียกความสนใจจากลูกค้าที่ผ่านไปมา โดยเราเป็นเจ้าแรกในเมืองไทย ส่วนความอร่อยจากวิธีทำแบบนี้จะได้รสชาติที่สดฉ่ำกว่าไอศกรีมแช่แข็งทั่วไป ยิ่งใช้วัตถุดิบหลักเป็นผลไม้ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะยิ่งรู้สึกสดชื่น และมีประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย” อภิลักษณ์ อธิบาย และเผยต่อว่า
ผัดไป มา
       บริษัทฯ ใช้งบประมาณกว่าเจ็ดหลัก ในการวิจัยพัฒนา ทั้งตัวสินค้าจนได้สูตรลงตัว และเครื่องผัดไอศกรีมที่มีคุณสมบัติทำความเย็นได้ถึง – 20 องศา สามารถผัดไอศกรีมแข็งเป็นก้อนในเวลา 1-2 นาที ผลิตโดยโรงงานในประเทศจีน และเกาหลี รวมถึง เปิดร้าน ICE blinkz ในห้างเดอะ มอลล์ บางกะปิ เมื่อประมาณเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อทดสอบกระแสตลาด
ใช้เวลาแค่ 1-2 นาที จะกลายเป็นก้อนแข็ง
       สำหรับแผนธุรกิจนั้น เลือกจะขยายแบบแฟรนไชส์ เพื่อให้แบรนด์ ICE blinkz เป็นที่รู้จักมากขึ้นในเวลารวดเร็ว โดยเงื่อนไขการลงทุนแฟรนไชส์ ใช้ทุนเบื้องต้นประมาณ 230,000 บาท โดย 200,000 บาทเป็นค่าอุปกรณ์ครบชุด และค่าแฟรนไชส์ ฟี (Franchise fee) ส่วน 30,000 บาทเป็นเงินประกันคุณภาพ จะคืนเมื่อยกเลิกสัญญาระหว่างกัน
       
       อภิลักษณ์ เผยว่า ลูกค้าเป้าหมายไอศกรีม ICE blinkz ได้แก่ กลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนทำงานจบใหม่ ซึ่งกลุ่มนี้ชอบทดสอบของแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่เสมอ และมีกำลังซื้อสูง โดยหัวใจที่จะกำหนดความสำเร็จของธุรกิจ คือ ทำเล ควรจะอยู่ในย่านสถานศึกษา หรือแหล่งวัยรุ่น ซึ่งขนาดพื้นที่ไม่จำเป็นต้องมาก แค่ประมาณ 6-15 ตารางเมตรเท่านั้น โดยเงื่อนไขผู้สนใจลงทุนต้องเป็นฝ่ายหาทำเลมาเสนอ จากนั้นบริษัทฯ จะมีทีมพิจารณา ถ้าวิเคราะห์แล้วเห็นว่า ไม่เหมาะจะบอกตรงๆ ให้เปลี่ยนหาทำเลใหม่เสีย
       ทั้งนี้ ราคาขายปลีกหน้าร้านของ ICE blinkz กำหนดไว้ที่ลูกละ 39 บาท ซึ่งราคานี้ แฟรนไชส์ซีจะได้กำไรจากต้นทุนประมาณ 69% ถ้าหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าเช่า ค่าพนักงาน จะเหลือกำไรต่อหน่วยประมาณ 33% หากขายได้วันละ 70 ลูก/วัน สามารถคืนทุนได้ในเวลาประมาณ 8 เดือน โดยแฟรนไชส์ซี ควรมีเงินทุนหมุนเวียนสำรองประมาณ 100,000 บาท/เดือน
     
       “ร้านต้นแบบที่เดอะมอลล์ บางกะปิ มียอดขายประมาณ 100 ลูกต่อวัน อีกทั้ง ICE blinkz มีรูปแบบที่ต่างออกไป จึงไม่มีคู่แข่งโดยตรงเลย ขณะที่กลุ่มลูกค้าหลักเป็นเด็กวัยรุ่นไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร มีผลกระทบต่อคนกลุ่มนี้น้อยมาก ประกอบกับ ภาพรวมของธุรกิจไอศกรีมในเมืองไทยในปีที่ผ่านมา (2550) อัตราเติบโต 100% จากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เชื่อว่า ธุรกิจนี้มีความน่าสนใจสำหรับผู้ลงทุน ซึ่งจะประสบความสำเร็จแบบยั่งยืนได้” อภิลักษณ์ ระบุ
       ในแง่ของการควบคุมคุณภาพแบรนด์ และแฟรนไชส์นั้น กำหนดต้องรับวัตถุดิบหลักจากบริษัทฯ เท่านั้น เช่น ครีมสำหรับทำไอศกรีม เป็นต้น นอกจากนั้น ก่อนเปิดร้านจริงมีการจัดอบรม และทุก 3 เดือนจะมีทีมตรวจสอบคุณภาพ เพื่อให้ปรึกษาแก้ปัญหาต่างๆ อีกทั้ง จะส่งเสริมการตลาดให้ต่อเนื่อง โดยสำรองงบปีนี้ (2551) ไว้ที่ 1 ล้านบาท สำหรับซื้อโฆษณา และทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักของลูกค้ายิ่งขึ้น
     
       ทั้งนี้ ไอศกรีมผัด ICE blinkz มีให้เลือกทั้งหมด 25 รส โดยกลิ่นและหัวเชื้อไอศกรีม ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ และบางส่วนเป็นวัตถุดิบในประเทศ เน้นใช้ผลไม้สดเป็นส่วนผสม เช่น แอบปริคอทและสตรอว์เบอร์รี่จากเชียงใหม่ เป็นต้น
บูท ICE blinkz ที่ เดอะมอลล์ บางกะปิ
       อภิลักษณ์ เผยว่า เริ่มเปิดตัวแฟรนไชส์อย่างเป็นทางการในงานแสดงสินค้าอาหาร 2551 (THAIFEX) ระหว่างวันที่ 21 – 25 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับอย่างสูง มีผู้สนใจยื่นความประสงค์ซื้อแฟรนไชส์หลายสิบราย ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาคัดเลือก นอกจากนั้น ได้ขยายไปสู่ต่างประเทศแล้ว โดยขยายแฟรนไชส์ 1 แห่งในประเทศอินโดนีเซีย
     
       สำหรับเป้าหมายในปีนี้ จะขยายโดยบริษัทฯ เองประมาณ 4-5 แห่ง ซึ่งบางสาขาจะเป็นร้านขนาดใหญ่ ลูกค้านั่งกินในร้านได้ ส่วนการปล่อยแฟรนไชส์วางไว้ในปีนี้ ไม่เกิน 10 สาขา โดยจะคัดผู้ร่วมธุรกิจที่มีความพร้อม และทำเลเหมาะสมจริง ๆ เพื่อให้ประสบความสำเร็จทั้งสองฝ่าย
       *** *** *** *** ***
     
      

แฟรนไชส์ไอศกรีมผัด “ICE blinkz”
- เงินลงทุนเบื้องต้นประมาณ 200,000 บาท แบ่งเป็น
1.ค่าอุปกรณ์ครบชุด เช่น เครื่องผัดไอศกรีม , ค่าเคาน์เตอร์ , ค่าวัตถุดิบพื้นฐาน , ตู้แช่ ฯลฯ มูลค่า 165,000 บาท
2. ค่าแฟรนไชส์ฟี (Franchise fee) 35,000 บาท
- เงินประกันคุณภาพ 30,000 บาท (ได้รับคืนเมื่อยกเลิกสัญญาระหว่างกัน)
- ผู้ลงทุนควรมีเงินทุนหมุนเวียนสำรองประมาณ 100,000 บาท/เดือน
- เงื่อนไขต้องรับวัตถุดิบจากบริษัทฯ เท่านั้น
- กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดประมาณ 33% ต่อหน่วย
- คาดการณ์คืนทุนในเวลาประมาณ 8 เดือน

     
       โทร.02-721-6549

Read More...


Frozzen ฉีกกฎไอศกรีม ชูธงเลือกอร่อยได้ตามใจคุณ

       “ฟรอสเซน” (Frozzen) ไอศกรีมแบรนด์น้องใหม่รุกตลาดแฟรนไชส์ ชูจุดเด่นมิติใหม่ทำสดใหม่ลูกต่อลูก ได้ความอร่อยและนุ่มละมุนที่เหนือกว่า พร้อมเปิดโอกาสให้ลูกค้าสร้างสรรค์ไอศกรีมในแบบฉบับของตัวเอง
       

Avi Bouhadaua (ขวา) และธนิสร หาญกอบกุล
       ***ชูจุดขายไอศกรีมทำสด
      
       Avi Bouhadaua กรรมการผู้จัดการ และธนิสร หาญกอบกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โฟรเซ่น จำกัด เผยว่า ไอศกรีม Frozzen คือการขยายธุรกิจจากบริษัทแม่ Time Out Gelato Bars ซึ่งดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีม “Timeout” มากว่า 4 ปี มีสาขาอยู่ที่เมืองพัทยา 5 แห่ง จากประสบการณ์ดังกล่าว ช่วยให้มีพื้นฐานในธุรกิจนี้ครบวงจร อีกทั้ง มีเครื่องมือพร้อมผลิตวัตถุดิบไอศกรีมจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อจะเพิ่มช่องทางกระจายวัตถุดิบกว้างขึ้น เป็นที่มาของการขยายธุรกิจ โดยสร้างเครือข่ายแฟรนไชส์ ภายใต้ชื่อ Frozzen
      
       “ไอศกรีมอื่นๆ ทั่วไปในท้องตลาด จะใช้วิธีทำเสร็จแล้วแช่แข็งรอไว้ตักให้ลูกค้า ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เสียรสชาติความอร่อยที่แท้จริงของไอศกรีมไป แตกต่างจากไอศกรีม Frozzen ใช้วิธีทำกันสดๆ ลูกต่อลูก ขั้นตอนแค่ใส่วัตถุดิบพื้นฐาน ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิด คือ ช็อกโกแลต โยเกิร์ต และชิสเค้ก ลงในเครื่อง ส่วนรสชาตินั้น ให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์เอง โดยเลือกใส่ส่วนประกอบอะไรก็ได้ที่มีกว่า 20 ชนิดลงไปในเครื่อง รอแค่ 30 วินาที จะออกมาเป็นไอศกรีมที่มีเนื้อนุ่มละมุน และสดใหม่กว่าไอศกรีมทั่วไป” Avi อธิบายถึงจุดเด่น
บูทของ Frozzen
       ธนิสร อธิบายเสริมว่า เครื่องผลิตไอศกรีมชนิดนี้ นำเข้าจากประเทศแคนาดา มูลค่าตัวละประมาณ 1 แสนกว่าบาท โดยเคล็ดลับความอร่อยของ Frozzen คือ การทำแบบสดใหม่ลูกต่อลูก และแต่ละลูกมีเอกลักษณ์รสชาติต่างกันไป จากวัตถุดิบที่ลูกค้าจะเลือกใส่
      
       จุดเด่นอีกประการ คือ ราคาขายปลีกถูกกว่าไอศกรีมระดับเดียวกันในท้องตลาด โดยอยู่ที่ถ้วยเล็ก 2 สกู๊ป 49 บาท ซึ่งราคานี้ ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า
ทำได้ในเวลา 30 วินาที
       ***บุกตลาดแฟรนไชส์
      
       ด้วยจุดประสงค์ต้องการกระจายวัตถุดิบ นำมาสู่การสร้างจุดเด่นให้ตัวสินค้า และหาผู้สนใจร่วมธุรกิจแฟรนไชส์ ด้วยเงินลงทุน 698,000 บาท หรือเลือกผ่อน โดยวางเงินมัดจำ 349,000 บาท ที่เหลือผ่อน 12 งวด โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี
      
       Avi เผยว่า บูทแฟรนไชส์ Frozzen ขนาดประมาณ 3 x 2 เมตร ออกแบบเน้นความสดใส ตกแต่งด้วยระบบเล่นแสงสีไฟ LED เปลี่ยนสีตลอดเวลาเรียกความสนใจของลูกค้า
       ทั้งนี้ แม้ว่า Frozzen จะเป็นไอศกรีมแบรนด์น้องใหม่ ไม่เคยมีร้านต้นแบบมาก่อน แต่บริษัทฯ สร้างความมั่นใจให้ผู้จะลงทุน โดยใช้ประสบการณ์จากร้าน Timeout เป็นแม่แบบในการบริหารจัดการภายในร้าน โดย ผลตอบแทนที่แฟรนไชส์ซี่จะได้ ถ้า 1 วันขายถ้วยเล็กราคา 49 บาท ได้ 50 ถ้วยจะคุ้มเงินลงทุนต่อวัน หากขายได้ 100 ถ้วยต่อวัน ระยะเวลาหนึ่งเดือนจะมีกำไร หลังหักค่าใช่จ่ายทั้งค่าเช่าและค่าพนักงาน ประมาณ 60,000 บาท สามารถคืนเงินลงทุนได้ในเวลา 1 ปี ซึ่งเท่าที่ผ่านมา ร้าน Timeout มียอดขายสูงเกิน 100 ถ้วยต่อวันโดยตลอด
       

เลือกใส่ส่วนประกอบได้ตามชอบใจ
       สำหรับเงินลงทุน 698,000 บาท แฟรนไชส์ซีจะได้รับอุปกรณ์พร้อมเริ่มธุรกิจ เช่น บูทสำเร็จรูป ตู้แช่ เครื่องทำไอศกรีม และวัตถุดิบต่างๆ เป็นต้น รวมถึง การจัดอบรมเกี่ยวกับการบริหารร้าน และมีคู่มือ บันทึก DVD เพื่อนำไปอบรมพนักงานต่อไป
      
       ทั้งนี้ ตั้งกฎว่า ผู้ร่วมธุรกิจต้องรับซื้อวัตถุดิบหลักจากบริษัทแม่เท่านั้น ควบคุมผ่านระบบ POS (Point – of – sale) ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ระบบ touch screen บันทึกข้อมูลการซื้อขายสินค้า ระดับสต๊อก ตลอดจนสั่งซื้อวัตถุดิบผ่านระบบออนไลน์กับบริษัทฯ โดยตรง ซึ่งระบบนี้ช่วยให้สามารถควบคุมคุณภาพแฟรนไชส์ อีกทั้ง สามารถนำข้อมูลไปใช้เพื่อการตลาดได้ด้วย
มีให้เลือกกว่า 20 ชนิด
       ***เชื่อจุดขายมัดใจทุกวัย
      
       ด้านธนิสร เผยว่า ลูกค้าเป้าหมายของไอศกรีม Frozzen เริ่มตั้งแต่วัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ โดยอาศัยจุดเด่นเป็นไอศกรีมที่มีสีสันในขั้นตอนการทำแบบสดๆ และเปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือกรสชาติไอศกรีมในแบบของตัวเอง ประกอบกับราคาไม่แพงนัก ทำให้ได้กลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ขณะที่รสชาติสดใหม่ ไขมันต่ำ และมีส่วนประกอบของผลไม้ ช่วยจับกลุ่มลูกค้าคนทำงาน
      
       สำหรับการหาทำเล จะมีทั้งเปิดให้ผู้ลงทุนเป็นฝ่ายเสนอเข้ามาให้บริษัทฯพิจารณา กับอีกทาง บริษัทฯ มีพื้นที่ซึ่งติดต่อกับห้างสรรพสินค้าชั้นนำไว้แล้วเป็นทางเลือกเสนอให้ โดยทำเลเหมาะสมแนะนำว่าควรเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล สถานที่ท่องเที่ยว และย่านชุมชน เป็นต้น
      
       ทั้งนี้ บริษัทฯ จะนำผลกำไร 5% จากรายได้ทั้งหมดที่เข้ามา ใช้เพื่อส่งเสริมการตลาดให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น ซื้อสื่อโฆษณา ออกงานแสดงสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป้าหมายของบริษัทฯ ตั้งว่าภายในปีนี้ (2551) จะขยายแฟรนไชส์ทั่วประเทศ ประมาณ 30 แห่ง หลังจากนั้น จะเปิดตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ราคาขายถ้วยละ 49 บาท
       *********************
      
       โทร. 086 341 3500 , www.ilovefrozzen.com
       

      
       **********************
      
       

Read More...


ลูกชิ้นปลากรายทอดมหาชัย ต่อยอดสูตร 20 ปีรุกแฟรนไชส์

       เมื่อทายาทธุรกิจอย่าง “เจตุบัญชา อำรุงจิตชัย” วัย 28 ปี เข้ามาสานต่อธุรกิจผลิตลูกชิ้นปลากรายของครอบครัว ได้ขยายช่องทางตลาด จากเดิมแค่ขายส่งอย่างเดียวสู่การสร้างเครือข่ายแฟรนไชส์ ในชื่อ “ลูกชิ้นจัง” หวังเป็นฐานปล่อยวัตถุดิบกว้างขึ้น โดยชูจุดเด่นสูตรดั้งเดิมครองใจลูกค้ามากว่า 20 ปี
เจตุบัญชา อำรุงจิตชัย
       เจตุบัญชา อำรุงจิตชัย เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ลูกชิ้นปลากรายทอด ยี่ห้อ “ลูกชิ้นจัง” เล่าให้ฟังว่า ครอบ ครัวทำธุรกิจผลิตลูกชิ้นปลามานานกว่า 20 ปี โดยเปิดโรงงานอยู่ที่มหาชัย เน้นผลิตเพื่อขายส่งให้แก่ร้านลูกชิ้นปลาทอดและร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าดังใน กรุงเทพฯ มากกว่า 10 แห่ง เช่น ย่านเยาวราช และตลาดวังหลัง เป็นต้น
      
       ทั้งนี้ เมื่อตัวเขา ก้าวมาช่วยธุรกิจครอบครัว อยากจะขยายตลาด จากเดิมขายส่ง 100% ไม่มีแบรนด์ เปลี่ยน มาสู่การขายปลีกด้วยตัวเองควบคู่กันไป ภายใต้ตรายี่ห้อ “ลูกชิ้นจัง” เน้นขยายฐานการปล่อยวัตถุดิบด้วยกลยุทธ์สร้างเครือข่ายแฟรนไชส์
      
       “ถ้าโรงงานจะเปิดตัวขายปลีกเองเลย แน่นอนว่า ราคาจะถูกกว่าที่ลูกค้าขาประจำซื้อไปขายต่อ แต่ในแง่ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ เพราะเท่ากับขายตัดราคาคู่ค้าที่ซื้อขายกันมานับ 10 ปีเติบโตมาด้วยกัน ดังนั้น การขยายตลาด เลือกสร้างแบรนด์ใหม่ ซึ่งไม่ต้องไปแข่งกับลูกค้าดั้งเดิมของเรา โดยสร้างเครือข่ายแฟรนไชส์ มีเป้าหมายหลักป้อนวัตถุดิบลูกชิ้นปลากรายส่งให้แก่แฟรนไชส์เหล่านี้” ทายาทธุรกิจ ระบุ
      
       สำหรับจุดเด่นของสินค้า เจตุบัญชา ระบุไปที่ความอร่อยของลูกชิ้นที่เป็นสูตรลับ สืบทอดกันมานาน มีส่วนผสมประกอบด้วยเนื้อปลากราย ประมาณ 60% ปลาอื่นๆ ประมาณ 20-30% และแป้งประมาณ 10-20% ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐาน GMP , ISO และ อย. อีกทั้ง มีศักยภาพการผลิตมากกว่าวันละ 1,000 กิโลกรัม รองรับความต้องการของลูกค้าได้เพียงพอ
คีออส ขนาด 1.5 เมตร
       นอกจากนั้น เมื่อมองถึงภาพรวมของตลาด ปัจจุบัน ยังไม่มีรายใด นำเสนอแฟรนไชส์ลูกชิ้นปลากรายทอดอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงรถเข็นที่ถูกตั้งคำถามถึงความสะอาดปลอดภัย ทำให้แบรนด์ “ลูกชิ้นจัง” มีความโดดเด่นกว่าสินค้าในท้องตลาด
      
       “ทุกวันนี้ รถเข็นที่ขึ้นป้ายว่า ลูกชิ้นปลากราย 100% สูตรเยาวราช ในความเป็นจริง มีน้อยรายมาที่จะเป็นปลากราย 100% จริง ส่วนที่บอกว่า สูตรเยาวราช ความจริงแล้ว แทบทุกร้านในเยาวราชก็รับลูกชิ้นปลามาจากมหาชัย ดังนั้น เชื่อได้ว่า ความอร่อย และสดใหม่ของลูกชิ้นจังโดดเด่นกว่าที่ขายตามท้องตลาดแน่นอน”
       

ทอดกันร้อนๆ
       เจตุบัญชา เผยต่อว่า ใช้ทุนเบื้องต้น เพื่อสร้างธุรกิจ “ลูกชิ้นจัง” ทั้งค่าออกแบบ และผลิตคีออสต้นแบบ ค่าบรรจุภัณฑ์ รวมถึงทำตลาด ประมาณ 2 แสนบาท เริ่มเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน 2551 ที่ผ่านมา แผนธุรกิจในเบื้องต้น เริ่มจากเปิดโอกาสให้ผู้สนใจมาร่วมเป็นหุ้นส่วนแฟรนไชส์ โดยเงินลงทุนพร้อมเริ่มธุรกิจ มีให้เลือก 3 รูปแบบ คือ คีออสขนาด 80 ซม. ลงทุน 15,900 บาท ขนาด1.2 เมตร 21,500 บาท และขนาด 1.5 เมตร 24,000 บาท
      
       ปัจจุบัน มีสาขาประมาณ 10 แห่ง กระจายอยู่ย่านชุมชนในกรุงเทพฯ เช่น ท่าน้ำศิริราช ตลาดพระราม 5 เป็นต้น สำหรับหลักเกณฑ์แฟรนไชส์นั้น กำหนดว่า ก่อนจะขายจริง จะจัดอบรมการทอด และวิธีเก็บรักษาวัตถุดิบ อีกทั้ง กำหนดต้องซื้อลูกชิ้นปลากราย และน้ำจิ้มจากส่วนกลางเท่านั้น ในราคาส่ง ลูกชิ้น กิโลกรัมละ 55 บาท ต้องสั่งอย่างต่ำ 2 วันต่อหนึ่งครั้ง ส่วนน้ำจิ้มส่งในราคา 35 บาทต่อกิโลกรัม
       

กินคู่กับน้ำจิ้มรสเด็ด
       เจ้าของธุรกิจ อธิบายต่อว่า กำหนดราคาขายปลีกของแฟรนไชส์ซีไว้ที่ 7 ลูก 20 บาท โดย เฉลี่ย 1 กิโลกรัม แฟรนไชส์ซีจะมีกำไรจากราคาส่ง ยังไม่หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่า และค่าพนักงาน ประมาณ 45% ถ้าสามารถขายได้วันละ 40 กิโลกรัม จะมีรายได้ 1,500 – 1,800 บาท สามารถคืนเงินลงทุนได้ในเวลา 1-2 เดือนขึ้นอยู่กับทำเล
       

       “ลูกชิ้นเป็นอาหารที่กินเล่นได้ง่ายๆ กลุ่มลูกค้ากว้างตั้งแต่เด็กถึงผู้ใหญ่ ถ้าทำเลเหมาะสมยอดขายวันละ 40 กิโลกรัม ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำได้ ดูจากแฟรนไชส์ซีที่เปิดไปแล้วแทบทุกรายสามารถทำยอดนี้ได้ และยิ่งดูยอดขายจากลูกค้าดั้งเดิมที่รับลูกชิ้นของเราเป็นประจำ มียอดขายวันละ ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม” เจตุบัญชา กล่าวเสริม
แบบใส่ซอยเตรียมเข้าห้างฯ
       สำหรับแผนธุรกิจก้าวต่อไปนั้น ทายาทธุรกิจ เผยว่า พยายามเดินสายเปิดตัวสินค้าตามงานแฟร์ต่างๆ เพื่อสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากที่สุด ตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้ (2551) มีแฟรนไชส์ “ลูกชิ้นจัง” กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ ประมาณ 13-14 สาขา ทั้งย่านชุมชน และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ส่วนอนาคตอยากขยายให้ทั่วทุกจังหวัด นอกจากนั้น ภายในสิ้นปีนี้ เตรียมนำผลิตภัณฑ์ “ลูกชิ้นจัง” แบบบรรจุซอง ราคา 28 บาท (150 กรัม) วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เกตตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปด้วย
      
       *************
      
       
ตารางธุรกิจแฟรนไชส์ “ลูกชิ้นจัง”
- ลงทุน 3 ระดับ คือ 15,900 บ. 21,500 บ. และ 24,000 บ.
- ต้องรับวัตถุดิบลูกชิ้นปลากราย (55 บ./กก.) และน้ำจิ้ม (35 บ/กก.)
- ขายปลีก 7 ลูก 20 บ. กำไรต่อหน่วยประมาณ 45%
- คาดการณ์คืนทุนใน 1-2 เดือน

      
       **************************************
      
       โทร.0-2412-7764 , 08-0593-9816
www.look-chin-jung.com

Read More...


รถตู้โฟล์ค "เลิฟมิลค์" แฟรนไชส์ขายนมสดไลฟ์คอนเสิร์ต

รถตู้โฟล์ค สีชมพู เอกลักษณ์ของ "เลิฟมิลค์"
       รถตู้โฟล์คสีชมพู ดัดแปลงเป็นหน้าร้านขายเครื่องดื่มประเภทนมสด กับขนมปังสังขยา ควบคู่กับมีวงดนตรีโชว์สดๆ คือ จุดขายที่ลูกค้าจดจำได้ง่ายของ “เลิฟมิลค์” (Love milk) ช่วยให้ในระยะเวลาไม่นาน สามารถสร้างปรากฏการณ์จากอาชีพเสริมต่อยอดสู่ธุรกิจแฟรนไชส์เต็มรูปแบบอย่างน่าจับตา
ปรีดา มอญปาน
       สำหรับผู้บุกเบิกธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ ปรีดา มอญปาน หนุ่มนักดนตรีอาชีพ ที่รับจัดแสดงดนตรีตามสถานที่ต่างๆ ขณะที่ส่วนตัวสะสมรถตู้โฟล์คเป็นงานอดิเรกด้วย เวลาไปแสดงที่ใดก็ตาม จะใช้รถสะสมขนเครื่องดนตรี และเพื่อจะหารายได้เสริม จึงดัดแปลงรถให้เป็นหน้าร้านขายนมสด กับขนมปังด้วย
      
       “สถานที่ที่ผมไปแสดงดนตรี มักเป็นย่านชุมชน แทนที่จะจอดรถไว้เฉยๆ ผมก็คิดว่า เอามาหารายได้เสริม ปรับปรุงเป็นร้านค้าขายขนม และอาหารเริ่มจากไม่กี่เมนู เช่น สาคูแคนตาลูปที่ผมได้สูตรมาจากโรงแรมชื่อดัง กับเครื่องดื่มนมสด ซึ่งผมกับเพื่อนๆ ก็จะแสดงดนตรีแนวอะคูสกติกสดๆ ไปด้วย ทำให้ทั้งสองส่วนเสริมกันและกัน ช่วยเรียกความสนใจให้ผู้พบเห็นอยากมานั่งดื่มนมพร้อมกับฟังเพลงไปด้วย” ปรีดา เล่าถึงจุดเริ่มต้น
บรรยากาศที่อ่อนนุช สแควร์
       ปรีดา ใช้เวลากว่า 2 ปี ตระเวนเล่นดนตรี ควบคู่กับการขายนมสดขนมปังตามสถานที่ต่างๆ จนถึงจุดสำคัญ เมื่อมาปักหลักเปิดร้านขายที่อ่อนนุช สแควร์ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช เมื่อต้นปี 2551 ที่ผ่านมา เริ่มต้นมีโต๊ะบริการแค่ 3 โต๊ะ แต่จากกระแสความนิยมอย่างรุนแรง ระยะเวลาจากแค่ 15 วัน เพิ่มเป็น 40-50 โต๊ะทีเดียว
      
       ต่อยอดธุรกิจบุกแฟรนไชส์
      
       และจากความนิยมดังกล่าว ลูกค้าจำนวนมากจึงเรียกร้องอยากเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ เป็นที่มาของแนวคิดขยายแฟรนไชส์ โดยไปศึกษาระบบการทำธุรกิจแฟรนไชส์อย่างถูกต้องกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
เมนูขนมปัง สังขยา
       ปรีดา ระบุว่า ปัจจุบัน มีทั้งหมด 9 สาขา แบ่งเป็นของตัวเอง 3 สาขา อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ได้แก่ อ่อนนุช สแควร์ จัสโก้ศรีนครินทร์ และสุขุมวิท 101 กับอีก 6 สาขาเป็นของแฟรนไชส์ซี กระจายอยู่ตามต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
      
       ทั้งนี้ แบ่งการลงทุนเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.รถตู้โฟล์ค ลงทุน 2- 2.5 แสนบาท 2.รถตู้เล็ก (รถตู้ไดฮันสุ) ลงทุน 1.2-1.5 แสนบาท (ราคาขึ้นอยู่กับสภาพรถ มีให้เลือกทั้งแบบรถที่ยังขับได้จริง กับรถที่ไม่สามารถขับได้แล้ว) และ3.คีออสก์ ลงทุน 5.5 หมื่นบาท
ลงทุนแบบรถตู้เล็ก
       ทุกรูปแบบได้รับอุปกรณ์ครบชุดพร้อมเริ่มธุรกิจทันที ในส่วนรถตู้จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน โดยก่อนจะเปิดร้านจริงมีจัดอบรมให้ 15 วัน และสำหรับรูปแบบลงทุนแบบที่ 1 และ 2 จะมีทีมแสดงดนตรีสดไปช่วยจัดกิจกรรมแนะนำร้านให้ในระยะแรก
      
       ทั้งนี้ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ แบบคีออส์ก และรถตู้เล็ก 1,000 บาทต่อเดือน ส่วนแบบรถตู้โฟล์ค 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำไปใช้ส่งเสริมการตลาด และสร้างแบรนด์ เช่น โฆษณาทางนิตยสาร อินเตอร์เน็ต และจัดโปรโมชั่นแนะนำสินค้า เป็นต้น
      
       ด้านการควบคุมคุณภาพนั้น กำหนดว่าต้องรับวัตถุดิบหลักจากแฟรนไชซอร์เท่านั้น ประกอบด้วย นมสด ขนมปังสังขยา และช็อกโกแลต รวมถึง จะมีทีมซุ้มตรวจคุณภาพ ส่วนการจัดส่งวัตถุดิบ ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะมีทีมรถวิ่งส่งให้ ส่วนต่างจังหวัดผ่านบริษัทขนส่ง
หน้าร้านแบบ คีออสก์
       ปรีดา ระบุว่า เกณฑ์คัดเลือกผู้ร่วมธุรกิจ เน้นคัดผู้มีความพร้อม ทั้งวัยวุฒิ ความรับผิดชอบ และเงินทุน ส่วนเรื่องการหาทำเลนั้น ผู้ลงทุนจะเป็นฝ่ายเสนอมาเองก็ได้ หรืออีกทาง ขณะนี้ “เลิฟมิลค์”เป็นพันธมิตรกับห้างดิสเคานต์สโตร์รายใหญ่แห่งหนึ่ง พร้อมเป็นทางเลือกไปลงร้านได้ทุกสาขาทั่วประเทศ
      
       ด้านผลตอบแทนจากธุรกิจ ปรีดา ระบุว่า จะเป็นการกินส่วนต่างจากราคาส่ง เช่น นม กิโลกรัมละ 30 บาท สามารถนำไปทำเครื่องดื่มได้ 10 แก้ว ขายในราคาตั้งแต่ 15-35 บาท ซึ่งนับแต่ขยายมา 9 สาขา ยังไม่มีแห่งใดล้มเหลว ยอดขายอย่างต่ำวันละ 3,000 บาทต่อสาขา โดยมีคาดการณ์คืนทุนได้ในระยะเวลา 6 เดือน – 1 ปี
      
       ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรมีเงินทุนหมุนเวียน ทั้งเป็นค่าซื้อวัตถุดิบ ค่าเช่า และค่าพนักงานประมาณ 30,000 - 100,000 บาทต่อเดือน แล้วแต่ทำเล และขนาดพื้นที่ร้าน
      
       ชูรถตู้สีชมพูสร้างจุดขาย
      
       เจ้าของธุรกิจ ระบุว่า จุดเด่นของแฟรนไชส์ “เลิฟมิลค์” คือ ภาพลักษณ์รถตู้สีชมพูสดใส ขายเมนูจำพวกนมสด ประกอบกับมีดนตรีแสดงโชว์ ซึ่งลูกค้าจะจดจำได้อย่างดี โดยการตกแต่งร้านทุกสาขาจะเดินไปในทิศทางเดียวกัน
      
       “คนทั่วไปจะคุ้นเคยกับการนำรถโฟล์คดัด แปลงขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในขณะที่ “เลิฟ มิลค์” เป็นเจ้าเดียวที่นำเสนอรถโฟล์คขายนมสดอย่างจริงจัง นอกจากนั้น จากสีชมพูสดใส ประกอบกับมีการแสดงดนตรีสด ช่วยให้ลูกค้าเกิดความสนใจ และจดจำได้ดียิ่งขึ้น โดยจะนึกถึงการเปลี่ยนจากบรรยากาศจากนั่งดื่มในผับ มานั่งฟังดนตรีดื่มนมสดแทน” ปรีดา กล่าว
       ทั้งนี้ เมนูในร้าน มีให้เลือกกว่า 30 รายการ เช่น นมสดแท้ 100% ไม่ผสมนมผง รับมาจากสหกรณ์ จ.ราชบุรี ส่วนเมนูขนมปังเป็นสูตรโฮมเมดผลิตขึ้นเอง ราคาเฉลี่ย 15 – 40 บาท กลุ่มลูกค้าเป็นระดับกลางตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่
      
       ปรีดา เผยด้วยว่า จากความสำเร็จที่ผ่านมา เตรียมขยายธุรกิจในแบบร้านชอป ด้วยทุนกว่า 3 แสนเปิดที่โลตัส ศรีนครินทร์ ปลายเดือนกันยายน 2551 นี้ ส่วนแผนธุรกิจนับจากนี้ การขยายแฟรนไชส์ ถึงสิ้นปี คาดว่าจะมีสาขาประมาณ 15 สาขา นอกจากนั้น จะพัฒนาระบบแฟรนไชส์ให้สมบูรณ์ ควบคู่กับการพัฒนาการผลิตวัตถุดิบให้ได้มาตรฐานสากล
      
       **************************
      
       
ตารางธุรกิจแฟรนไชส์ “เลิฟมิลค์”
-ลงทุน 3 รูปแบบ ได้แก่
รถตู้โฟล์ค 2-2.5 แสนบาท
รถตู้เล็ก 1.2-1.5 แสนบาท
คีออสก์ 5.5 หมื่นบาท
- ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
รถตู้โฟล์ค 2 พันบาท/เดือน
รถตู้เล็ก และคีออสก์ 1 พันบาท/เดือน
-ต้องรับวัตถุดิบนมสด ขนมปังสังขยา และช็อกโกแลต จากส่วนกลาง
- ควรมีเงินทุนหมุนเวียน 3 หมื่น- 1 แสนบาท/เดือน
-คาดการณ์คืนทุนใน 6เดือน – 1 ปี

      
       
ประมาณการผลกำไร / ต้นทุนของ love milk
นมสด ก.ก. ละ 30 บาท
............1 ก.ก. ขายได้ 8-10 แก้ว แก้วละ 20 บาท = 160-200 บาท
............เฉลี่ยขายวันละ 10 ก.ก. ประมาณ 1,600 - 2,000 บาท
............( หักค่าแก้ว + น้ำแข็ง ประมาณ 200 บาท )
............( ต้นทุนรวม 10 ก.ก. ประมาณ 300 บาท ) รวม 500 บาท
............*คงเหลือ ผลกำไรประมาณ 1,500 บาท / วัน
ขนมปัง ปอนด์ละ 25 บาท
............1 ปอนด์ แบ่งได้ 10 = 11 ชิ้น ขายชิ้นละ 14 บาท = 150 บาท
............เฉลี่ยขายวันละ 10 ปอนด์ ประมาณ 1,500 บาท
............(หักเป็นค่าวัตถุดิบที่ใช้ทำหน้าต่าง ๆ และกล่อง ประมาณ 150 บาท)
............( ต้นทุนขนมปังปอนด์ 10 ปอนด์ = 250 บาท ) รวม 400 บาท )
............*คงเหลือ ผลกำไรประมาณ 1,100 บาท / วัน
............รวมนม + ขนมปัง ชั่งเป็นเมนูหลักขายประมาณ 2,500 บาท
............( หักค่าใข้จ่ายทางร้าน + ค่าเช่าที่ + พนักงาน = 600 บาท )
............*คงเหลือสุทธิ ประมาณ 2,000 บาท / วัน

      
       โทร.081-632-1320 หรือ www.thelovemilk.com

Read More...




----------------

ปรับปรุง
รายการบทความทั้งหมด



การบำรุงรักษารถยนต์เบื้องต้น



ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้ รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง



รวมบทความอาชีพ เสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม



รวมบทความงานฝีมือ-สิ่งประดิษฐ์ รายได้เสริม



ทองม้วน thong muan ; rolled wafer





MASK รุ่นสายคล้องคอ







MASK รุ่นสายคล้องคอ. ��รุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก #ขายดีมาก
ทำจากผ้าคอตตอนแท้ 100%  ไม่ผสม เนื้อผ้านุ่ม 
3 ชั้น. สวมใส่พอดีกับใบหน้า ไม่เจ็บหู มีสายคล้องคอปรับได้
เวลาถอดออก ไม่ต้องกลัวลืม เพราะถอดแล้วคล้องคอไว้ได้
บรรจุในถุงซิปฟรอย์อย่างดี
ราคาชิ้นละ. 59. บาท. ไม่รวมส่ง 
มีหลายสีให้เลือกนะคะ   สนใจทักแชทขอดูสีผ้าได้นะคะ
หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือ สนใจสั่งไปจำหน่าย 
มีเรทราคาส่งค่ะ

-> id line : noeyhorm_06
#มีวางจำหน่ายหน้าร้านชานมไต้หวันมาราชาสาขาจรัญ44


ร้านมาราชาชานมไข่มุก สาขาจรัญสนิทวงศ์ 44
● รับบัตรสะสมครบ 10 แก้ว แลกรับฟรี 1 แก้ว
● สั่งเดลิเวอรีผ่าน LINE MAN, Foodpanda ,GET ...ถึงมือปั๊บพร้อมดื่มปุ๊บ!
● อัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ รสชาติใหม่ ตลอดเวลา
● มีเมนูให้เลือก 40 กว่าเมนู : https://bit.ly/2Z9iqV0






























































เลือกช่องทางติดต่อและรับข่าวสารบริการหลังการขาย
ฟอร์ด พลปิยะอยุธยาและฟอร์ด พลปิยะวังน้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------
แคมเปญ-โปรโมทชั่น อะไหล่ฟอร์ด อัพเดททางออนไลน์และปรับปรุงข้อมูลออนไลน์
อะไหล่ฟอร์ด อะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่รถยนต์ฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ดแท้ ร้านขายอะไหล่รถฟอร์ด ขายอะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ด
 
Option

รวมบทความอาชีพเสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม หาอาชีพเสริมอิสระทำเงิน สร้างอาชีพอิสระงานฝีมือ แนะนำการสร้างรายได้เสริมทำเงินด้วยการขายสินค้าหรือขายของเป็นอาชีพเสริม อิสระงานฝีมือ แนะแนวธุรกิจ อาชีพเสริม อาชีพแก้จน อยากจะมีรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ บล๊อกจัดทำขึ้นเป็นวิทยาทานเพื่อเผยแผ่ความรู้อันจะเป็นไปเพื่อบุญกุศล ขอให้ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในบทความของบล๊อกนี้ จงได้รับอานิสงฆ์ด้วยเทอญ.