พิธาน อิมราพร บริษัท ยิ้มสยาม มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ “สะเต๊ะยิ้มสยาม” เปิดเผยว่า ล่าสุดได้เปิดตัวสะเต๊ะยิ้มสยามโมเดลชอปสโตร์ ขนาดพื้นที่ 25 ตารางเมตรจำนวน 24 ที่นั่ง สาขาต้นแบบที่ปากซอย 26 ถนนสายไหม และโมเดลชอป ขนาด 2*1.5 เมตร หลังจากที่ก่อนหน้านี้เปิดเพียงโมเดลเดียวคือคีออส นอกจากนี้ได้ปรับคอนเซ็ปต์ธุรกิจใหม่เกือบทั้งหมด หลังจากที่เข้าอบรม B2B รุ่น 12กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้มีมุมมองต่อการดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์เปลี่ยนไปและมีความเข้าใจ กับการทำธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น | ||||
นอกจากนี้ ได้เพิ่มเมนูที่ให้บริการและเปลี่ยนจากอาหารทานเล่น มาเป็นสะเต๊ะอาหารจานหลักโดยมีการพัฒนาเมนูเพิ่มเติมเป็น 28 เมนู เช่น ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันสะเต๊ะ ข้าวอัดสะเต๊ะ ฯลฯ และเพิ่มความหลากหลายของประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อกวางและเนื้อนกกระจอกเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายของเมนูให้กับลูกค้าที่เข้ามารับประทาน โดยเมนูต่างๆ เหล่านี้เพื่อขยายไปยังชอปเพื่อซื้อกลับไปทาน และนั่งรับประทานในรูปแบบร้านที่เป็นสโตร์ ส่วนคีออสนั้นจะเน้นเป็นอาหารว่างเพื่อซื้อกลับเหมือนเดิม ด้วยจำนวนพื้นที่ที่จำกัดการขยายรูปแบบร้านที่หลากหลายสามารถทำให้พัฒนาเมนู หรือสินค้าใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น พิธาน บอกความแตกต่างของสะเต๊ะยิ้มสยามกับสะเต๊ะทั่วไปว่า ได้รับการยอมรับในเรื่องของรสชาติด้วยการพัฒนารสชาติของผงหมัก เครื่องแกง และมีสูตรคงที่ รวมถึงการคัดสรรคุณภาพของเนื้อแต่ละประเภท ทำให้ได้รสชาติของสินค้าที่ดี ซึ่งการคัดสรรเนื้อส่วนที่ดีเพื่อให้เนื้อมีความนุ่ม ขณะที่ราคาขยายนั้นไม่มีความแตกต่างจากราคาขายทั่วไป และราคาขายต่อไม้ที่ไม้ละ 5 บาท ยกเว้นเนื้อนกกระจอกเทศไม้ละ 12 บาท เนื้อกวางไม้ละ 15 บาท ส่วนอาหารจานหลักเริ่มที่ราคาจานละ 40 บาท ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลของผู้ซื้อพบว่าเฉลี่ยจับจ่ายต่อคนต่อหัวเฉลี่ยที่ 50 บาททั้งการนั่งรับประทานในร้านหรือการซื้อกลับ และกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มวัยทำงาน | ||||
และสำหรับผู้ที่สนใจลงทุนนั้น ทางบริษัทจะจำหน่ายผงหมักและเครื่องแกงซึ่งเป็นสูตรของสะเต๊ะยิ้มสยาม พร้อมคำแนะนำในการซื้อเนื้อสัตว์ให้ หรือผู้ที่ต้องการสั่งซื้อกับบริษัทได้มีทั้งนำเนื้อสัตว์ไปเสียบไม้เองหรือ ให้บริการเสียบไม้ให้พร้อมเพื่อเพิ่มความสะดวกในการไปจำหน่าย ทั้งนี้ “พิธาน” มองถึงความยั่งยืนในการทำธุรกิจ ทั้งแฟรนไชซีและแฟรนไชซอร์ จึงต้องการพัฒนารูปแบบสโตร์อย่างเต็มที่และทยอยลดรูปแบบคีออสเพื่อสร้างความ มีมาตรฐานเดียวกันของร้านสาขา ที่แฟรนไชซอร์สามารถเข้าไปให้การดูแลระบบการบริหารจัดการและการให้การสนับ สนุนต่างๆ เพื่อการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และสิ่งสำคัญตนมองถึงความตั้งใจของผู้เข้ามาลงทุนระดับเงินลงทุนหลัก แสนในรูปแบบสโตร์นั้นผู้ลงทุนมีความตั้งใจในการทำธุรกิจและฝ่าฝันปัญหาที่ เกินขึ้น ขณะที่การลงทุนรูปแบบคีออสหรือเงินลงทุนหลักหมื่นนั้นจะสามารถล้มเลิกกิจการ กลางคันก็ได้เมื่อเจออุปสรรคหรือยกเลิกเพื่อไปประกอบกิจการหรืออาชีพอื่น ซึ่งในฐานะเจ้าของกิจการหรือแฟรนไชซอร์ต้องการผู้ลงทุนที่มีความตั้งใจพร้อม ที่จะพัฒนาธุรกิจไปด้วยกันมากกว่า อย่างไรก็ตามสำหรับการขยายสาขานั้น ในปี 2553 นี้จะเน้นที่สาขาต้นแบบในรูปแบบสโตร์ จำนวน 2 สาขา ซึ่งปัจจุบันมีสาขาแรกแล้วตั้งอยู่ที่ถนนสายไหม ปากซอย 26 และ จากนั้นในปี 2554จะขยายสาขต้นแบบในรูปแบบสโตร์อีก 3-5 สาขาก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ โดยเน้นทำเลย่านชุมชน ซึ่งเป็นปีที่ “พิธาน” จะลุยธุรกิจอาหารอย่างเต็มตัว เพราะมั่นใจการความทุ่มเทให้กับการพัมนาสินค้าหรือ Product จนรสชาติถูกปากผู้บริโภค พร้อมเล็งทำเลหรือ Place เจาะทาร์เก็ตคนวัยทำงาน และระบบหรือ System แฟรนไชส์ นำพาธุรกิจตามเป้าหมาย และตั้งเป้าการสร้างรายได้จากธุรกิจอาหารจะเป็นรายได้หลักหรือประมาณ 60—70% เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ที่ทำอยู่ในขณะนี้ จุดเริ่มต้นธุรกิจอาหาร “พิธาน อิมราพร” เจ้าของธุรกิจออร์แกไนซ์ ฝากผลงานจากการจัดงานใหญ่ๆ มาหลายงาน นอกจากนี้ยังทำธุรกิจการ์เม้นท์ผลิตสินค้าจำพวกตุ๊กตาผ้าขนหนูส่งห้างสรรพ สินค้าชั้นนำและภายใต้ชื่อแบรนด์ของตนเอง การทำธุรกิจต่างๆ ประสบความสำเร็จมาได้ด้วยดี แต่เมื่อเกิดวิกฤตปี 2540 ยุคฟองสบู่แตก ธุรกิจต้องประสบปัญหาอย่างหนัก แต่เมื่อเทียบกับธุรกิจร้านอาหารขนาดใหญ่ของญาติที่มีจำนวนโต๊ะ มากกว่า 200 โต๊ะ ธุรกิจยังดำเนินต่อไปได้ แม้จะพบวิกฤตแต่สามารถบริหารจัดการต้นทุนต่างๆ เช่น บริหารต้นทุนสินค้าในการบริหารบุคคล และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวก็สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เมื่อหันมองธุรกิจของตนเอง เมื่อวิกฤตมาแทบจะล้มทั้งยืนหรือบางกิจกรรมก็ต้องเลิกทำไป เช่น ธุรกิจการ์เม้นท์ ซึ่งมองเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ซึ่งธุรกิจต่างๆ ที่ “พิธาน” ทำนั้น เขามองว่าไรไซเคิลของธุรกิจสั้นกว่าธุรกิจอาหาร ด้วยความที่ “พิธาน” คลุกคลีกับผู้คนในวงธุรกิจมามากและวิกฤตในครั้งนั้น ทำให้เขาสนใจ “ธุรกิจอาหาร” อย่าง จริงจัง และสนใจกับอาหารทานเล่นอย่าง “สะเต๊ะ” เพราะมองว่าเป็นอาหารทานเล่นที่ทุกเพศ วัยรู้จัก และสามารถรับประทานได้ทุกกลุ่มอายุทุกภาคของประเทศ ธุรกิจจึงเริ่มต้นขึ้นด้วยคิดค้น ผงหมักเนื้อสัตว์ และเครื่องแกง ซึ่งทำสำเร็จรูปในรูปแบบผง ในปีแรกทำให้เขาขยายสาขาได้มากถึง 9 สาขา และด้วยรสชาติความอร่อยของสะเต๊ะ ทำให้สะเต๊ะยิ้มสยามออกสื่อต่างๆ จำนวนมากทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ แต่เมื่อดำเนินธุรกิจไปได้ระยะหนึ่ง เขากลับเห็นปัญหาในการดำเนินธุรกิจเครือข่าย อับดับแรกรายได้ที่เข้ามาที่เขาเป็นผู้จำหน่ายผงหมักและเครื่องแกง กำไรที่เขาได้จากสินค้าเหล่านี้ไม่มากแม้สินค้าจากสะเต๊ะที่ลูกค้าขายจะขาย ได้ดีก็ตาม และไม่สามารถควบคุมหรือดูแลทำเลสาขาได้ขึ้นอยู่กับลูกค้าสนใจทำเลใดก็ไปเปิด ทำให้หลายสาขามียอดขายไม่ดี ทำให้เขาเริ่มมองหาธุรกิจที่มีรูปแบบหรือมีมาตรฐานเดียวกันในทุกสาขาที่เปิด บริการ จากนั้น “พิธาน” จึงได้เข้าอบรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใต้โครงการ B2B รุ่น 12 หลังจากที่ได้ลองผิดลองถูกกับการทำธุรกิจมาแล้ว และปรับธุรกิจใหม่ทั้งหมดเพื่อเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ ลงทุนกับ 'สะเต๊ะยิ้มสยาม' รูปแบบ ขนาด เงินลงทุน Satay Store 1.5 เมตร 656,000 บาท Satay Shop 1.5*2 เมตร 96,000 บาท Satay Kiosk 25 ตร.ม. 56,000 บาท *ประมาณการณ์คืนทุนทั้ง 3 รูปแบบที่ 3 เดือน *ราคาลงทุนรวมอุปกรณ์พร้อมขาย ที่มา : ผู้จัดการรายสัปดาห์ |
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001