เรารวบรวมอาหารเช้าที่คุณคุ้นเคย 6 เมนู ไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ (Ani-Aging) นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ฟัน
ธงว่าแท้จริงแล้ว เมนูอาหารเช้ายอดฮิตอย่าง น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋, โจ๊กหมู,
ข้าวเหนียว หมูปิ้ง, ต้มเลือดหมู, ขนมปัง ไข่ดาว และขนมครกนั้น
แท้จริงแล้วมีประโยชน์เพียงใด เหมาะจะนำมาเป็นมื้อสำคัญยามรุ่งอรุณแค่ไหน
“การทานอาหารเช้าที่ดี คือ ให้กินอย่างราชา แต่จะต้องมีหลักนิดนึงคือ
ถ้าเรากินอย่างราชาแต่หนักแป้งก็ไม่ดี เพราะมันจะทำให้เราหิวเร็ว ดังนั้น
กฎ
ข้อแรกของการกินอาหารเช้าคือ พยายามทานแป้งกับน้ำตาลให้น้อยที่สุด
เพราะแป้งและน้ำตาลดูดซึมได้เร็ว เมื่อไหร่ที่ดูดซึมเร็ว อินซูลิน
(Insulin) จะมาควบคุมไม่ให้น้ำตาลในกระแสเลือดสูง เมื่ออินซูลินมากดนานเข้า
ก็จะทำให้น้ำตาลเราต่ำ เมื่อน้ำตาลต่ำ เราก็จะหิวเร็ว ดังนั้นย้ำนะครับ
ว่าอาหารเช้าไม่ควรขาดเลย แต่ควรจะงดแป้งและน้ำตาล
กฎข้อที่สองคือ
อาหารเช้ามื้อนั้นๆ ไม่ควรจะรสจัดเกินไป เพราะในตอนเช้ายังไม่มีน้ำย่อยเยอะ
และกระเพาะอาหารยังไม่ขยับเต็มที่ หากเราทานอาหารที่มีความมัน
หรือเผ็ดเกินไป มันจะทำให้เกิดข้อเสียมากกว่า
ดังนั้นในมื้อเช้าจึงไม่ควรจะทานอาหารที่มันและเผ็ดเกินไป” คุณหมอกฤษดา อธิบายถึงหลักการรับประทานอาหารมื้อเช้าที่ดีต่อสุขภาพ
หลังบอกถึงหลักการทานอาหารเช้าที่เหมาะสมแล้ว เรามาดูกันเลยค่ะว่า
อาหารเช้าที่หลายท่านนิยมชมชอบ ด้วยเพราะคุ้นเคยดี แถมซื้อหาได้ง่าย
(เพราะขายอยู่พรึ่บทุกปากซอย) แท้จริงแล้ว แต่ละเมนูมีประโยชน์แค่ไหน
เหมาะจะเป็นมื้อเช้าที่ดีของคุณๆ หรือไม่
และคุณหมอท่านฟันธงมาว่าเมนูไหนเยี่ยมสุด
Read More...