.
.
.
.
.
ปูนิ่ม” เลี้ยงง่าย ราคาดี จึงเป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“ ที่สร้างความมั่นคงให้กับผู้ลงทุนทำได้ อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จได้ ก็จำเป็นต้องศึกษาวิธีการเลี้ยงให้เข้าใจถ่องแท้ ซึ่งจากการที่ทีม “ช่องทางทำกิน” ร่วมคณะของ ธ.ก.ส.-ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ลงไปดูงานด้านการประกอบอาชีพภาคเกษตรที่ภาคใต้ ก็มีโอกาสได้รับทราบข้อมูลวิธีการ กระบวนการ ’เลี้ยงปูนิ่ม“ ขาย วันนี้จึงนำมาเสนอให้ได้ลองพิจารณากัน...
ไผ่-วิชญุตธ์ สารวัลภ์ เจ้าของบ่อเลี้ยงปูนิ่ม ที่ ต.วิสัยใต้ อ.เมือง จ.ชุมพร เล่าให้ฟังว่า ที่บ้านนั้นเมื่อก่อนเลี้ยงกุ้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหยุดเลี้ยง แล้วก็ปล่อยบ่อทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร จนกรมประมงเข้ามาส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปูนิ่มแทนการเลี้ยงกุ้งในบ่อเลี้ยง กุ้งเดิม โดยจะลงทุนให้ในครั้งแรก ทั้งต่อแพเลี้ยงและเอาพันธุ์ปูมาลงให้ จึงสนใจ
“เกิดความสนใจ เพราะดีกว่าปล่อยบ่อทิ้งไว้เฉย ๆ เริ่มเลี้ยงครั้งแรกก็ลงเลี้ยงปู 600 ตัว เมื่อเลี้ยงแล้วไปได้ด้วยดี ก็เริ่มขยายกิจการออกไปเรื่อย ๆ จนตอนนี้ก็เลี้ยงปูนิ่มอยู่ประมาณ 5,000 ตัว” ไผ่บอก และว่า การเลี้ยงปูนิ่มนั้นไม่ยาก อยู่ที่ความขยันและตั้งใจ การเริ่มเลี้ยงปูนิ่มก็เริ่มจากเลือกทำเลในการเลี้ยงก่อน จะต้องเป็นบริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ ที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้ง่ายและน้ำหมุนเวียนได้สะดวก ซึ่งบ่อเลี้ยงกุ้งที่เป็นบ่อดินนั้นสามารถใช้เป็นบ่อเลี้ยงปูนิ่มได้
การเลี้ยงปูนิ่มในบ่อดินเป็นที่นิยม เพราะบ่อดินนั้นปูจะลอกคราบได้ดี ส่วนเรื่องของน้ำที่ใช้เลี้ยงปูนิ่มนั้น จำเป็นที่จะต้องดูแลให้อยู่ในค่าที่พอดี คือต้องมีค่าความเค็มอยู่ที่ 10-30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 10-30 ppt
สำหรับบ่อเลี้ยง และแพรองรับตะกร้าเลี้ยงปู ในส่วนของบ่อเลี้ยงนั้นจะสร้างลักษณะคล้ายบ่อเลี้ยงกุ้ง มีความลึกประมาณ 2 เมตร มีประตูสำหรับระบายน้ำเข้า-ออก 2 ประตู หรือประตูเดียวก็ได้ บริเวณกลางบ่อทำทางเดินไม้พร้อมหลังคาคลุมกันแดดพาดระหว่างคันบ่อ สำหรับไว้เดินให้อาหารปู ตรวจสอบ และเก็บปู
ส่วนการสร้างแพรองรับตะกร้า ใช้ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-2 นิ้ว มาต่อกันเป็นแพ ยาว 10-20 เมตร มีจำนวน 4 ช่อง ใช้ไม้ไผ่วางพาดขวางยึดท่อให้มีระยะห่างพอดีเพื่อรองรับตะกร้าที่ใช้บรรจุปู โดยตะกร้าที่ใช้เลี้ยงปูนั้น จะมีความกว้าง 22.6 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สูง 16.1 เซนติเมตร โดยจะใส่ปู 1 ตัว ต่อ 1 ตะกร้า
แพสำหรับเลี้ยงปูนิ่ม ต้องเคลื่อนที่ไปมาได้โดยการดึงเชือกที่ผูกยึดกับแพ โดยแพขนาด 10-20 เมตร เลี้ยงปูนิ่มได้ประมาณ 300-400 ตัว ส่วนค่าใช้จ่ายในการต่อแพ 1 แพ จะประมาณ 2,000-3,000 บาท การเลี้ยงปูนิ่มในตะกร้า ต่อ 1 แพ ที่เลี้ยงปูประมาณ 300-400 ตัว จะลงทุนค่าพันธุ์ปูประมาณ 3,000-4,000 บาท พันธุ์ปูที่ใช้เลี้ยงจะใช้เป็นพันธุ์ปูดำที่มีขนาดตัวประมาณ 6.0-7.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 10 ตัวต่อกิโลกรัม จะต้องเป็นปูที่มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีอวัยวะครบสมบูรณ์ ปูจึงจะโตเร็ว เก็บผลผลิตขายได้เร็ว พันธุ์ปูนั้นไผ่ซื้อจากจังหวัดระนองในราคากิโลกรัมละประมาณ 100 บาท
การปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้า ก่อนที่จะปล่อยจะต้องทำการปรับสภาพของปูให้เข้ากับแหล่งน้ำที่จะเลี้ยงก่อน โดยการใช้น้ำในบ่อที่ใช้เลี้ยงรดบนตัวปูให้ชุ่ม จากนั้นจึงค่อยตัดเชือกที่มัดก้ามออกแล้วปล่อยลงตะกร้า ตะกร้าที่ใช้เลี้ยงจะต้องใช้ตะกร้า 2 ใบประกบกันบน-ล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ปูหนีออกไปได้ โดยตะกร้าด้านบนทำรูไว้สำหรับให้อาหาร
หลังจากปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้าแล้ว จะต้องเริ่มตรวจปูลอกคราบในวันถัดไป เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 25 วัน ปูจะเริ่มลอกคราบ และจะลอกคราบหมดประมาณ 3 เดือน การตรวจและเก็บปูนิ่มจะดูทุก 4 ชั่วโมง เพราะถ้าปูลอกคราบไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง กระดองจะเริ่มแข็ง ไม่สามารถจำหน่ายได้ และกว่าปูจะลอกคราบอีกครั้งต้องรออีกราว 45 วันปูที่เลี้ยงนี้ เมื่อครบ 3 เดือน หรือปูไม่สามารถลอกคราบได้แล้ว ปูนั้นก็จะตาย ซึ่งสามารถเก็บขึ้นมาขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 40-50 บาท แต่จะต้องรีบเก็บมาแช่แข็งภายใน 4 ชั่วโมง
การตรวจเก็บปูนิ่ม จะสังเกตจากตะกร้าใดมีปูอยู่ 2 ตัว แสดงว่าปูลอกคราบ ต้องรีบทำการเก็บทันที เมื่อเก็บปูนิ่มมาแล้วให้นำไปแช่ในน้ำจืดที่สะอาดประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ความเค็มลดลง จากนั้นนำไปใส่ภาชนะบรรจุเก็บไว้ในตู้แช่เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงความสดไว้รอจำหน่าย และสามารถรักษาไว้ได้นานถึง 2-3 เดือน
สำหรับการดูแลให้อาหารปูนิ่มที่เลี้ยง จะต้องให้อาหารทุก ๆ 2 วัน อาหารที่ให้จะเป็นปลาเบญจพรรณ (ปลาเป็ด) ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ให้ตัวละ 1 ชิ้น ไม่ควรให้อาหารปูที่เลี้ยงเยอะเกินไป เนื่องจากจะทำให้ปูนั้นอ้วนเกินและจะไม่ลอกคราบ หรืออาจทำให้ปูตายได้ด้วย โดยค่าอาหารจะตกเดือนละประมาณ 250-300 บาท ต่อ 1 แพ
“การเก็บปูนิ่มนั้นสามารถเก็บได้ทุกวัน โดยที่บ่อของเราก็สามารถเก็บได้วันละประมาณ 10 กิโลกรัม ซึ่งปูนิ่มนั้นขายได้กิโลกรัมละประมาณ 200 บาท” เจ้าของบ่อเลี้ยงปูนิ่มรายนี้กล่าว และยังบอกด้วยว่า ช่องทางในการจำหน่ายปูนิ่มนั้นส่วนใหญ่จะส่งขายให้กับร้านอาหารและคนที่เข้า มารับซื้อที่บ่อ และบ่อดินที่ใช้เลี้ยงปูนิ่มนั้นยังสามารถปล่อยปลากะพงลงไปเลี้ยงได้ด้วย ซึ่งก็จะได้รายได้จากการจับปลากะพงขายอีกทางหนึ่งด้วย
บ่อ ’เลี้ยงปูนิ่ม“ ของ ไผ่-วิชญุตธ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.วิสัยใต้ อ.เมือง จ.ชุมพร ถ้าใครสนใจอยากศึกษาวิธีการ ขั้นตอนกระบวนการเลี้ยงปูนิ่ม หรือต้องการสั่งปูนิ่ม ลองโทรศัพท์ไปพูดคุยกับไผ่ได้ที่ โทร. 08-4889-9085 ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“ ภาคการเกษตร ที่ทางทีมงานเราไปพบเจอมาระหว่างที่ร่วมคณะไปกับ ธ.ก.ส. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการประกอบอาชีพของคนไทยด้านการเกษตร ก็นำมาฝากไว้ให้ได้ลองพิจารณากัน.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ รายงาน
ขอขอบคุณเจ้าของบทความ : http://www.dailynews.co.th/
ไผ่-วิชญุตธ์ สารวัลภ์ เจ้าของบ่อเลี้ยงปูนิ่ม ที่ ต.วิสัยใต้ อ.เมือง จ.ชุมพร เล่าให้ฟังว่า ที่บ้านนั้นเมื่อก่อนเลี้ยงกุ้ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงหยุดเลี้ยง แล้วก็ปล่อยบ่อทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร จนกรมประมงเข้ามาส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปูนิ่มแทนการเลี้ยงกุ้งในบ่อเลี้ยง กุ้งเดิม โดยจะลงทุนให้ในครั้งแรก ทั้งต่อแพเลี้ยงและเอาพันธุ์ปูมาลงให้ จึงสนใจ
“เกิดความสนใจ เพราะดีกว่าปล่อยบ่อทิ้งไว้เฉย ๆ เริ่มเลี้ยงครั้งแรกก็ลงเลี้ยงปู 600 ตัว เมื่อเลี้ยงแล้วไปได้ด้วยดี ก็เริ่มขยายกิจการออกไปเรื่อย ๆ จนตอนนี้ก็เลี้ยงปูนิ่มอยู่ประมาณ 5,000 ตัว” ไผ่บอก และว่า การเลี้ยงปูนิ่มนั้นไม่ยาก อยู่ที่ความขยันและตั้งใจ การเริ่มเลี้ยงปูนิ่มก็เริ่มจากเลือกทำเลในการเลี้ยงก่อน จะต้องเป็นบริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำ ที่สามารถนำน้ำเข้าบ่อได้ง่ายและน้ำหมุนเวียนได้สะดวก ซึ่งบ่อเลี้ยงกุ้งที่เป็นบ่อดินนั้นสามารถใช้เป็นบ่อเลี้ยงปูนิ่มได้
การเลี้ยงปูนิ่มในบ่อดินเป็นที่นิยม เพราะบ่อดินนั้นปูจะลอกคราบได้ดี ส่วนเรื่องของน้ำที่ใช้เลี้ยงปูนิ่มนั้น จำเป็นที่จะต้องดูแลให้อยู่ในค่าที่พอดี คือต้องมีค่าความเค็มอยู่ที่ 10-30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 10-30 ppt
สำหรับบ่อเลี้ยง และแพรองรับตะกร้าเลี้ยงปู ในส่วนของบ่อเลี้ยงนั้นจะสร้างลักษณะคล้ายบ่อเลี้ยงกุ้ง มีความลึกประมาณ 2 เมตร มีประตูสำหรับระบายน้ำเข้า-ออก 2 ประตู หรือประตูเดียวก็ได้ บริเวณกลางบ่อทำทางเดินไม้พร้อมหลังคาคลุมกันแดดพาดระหว่างคันบ่อ สำหรับไว้เดินให้อาหารปู ตรวจสอบ และเก็บปู
ส่วนการสร้างแพรองรับตะกร้า ใช้ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-2 นิ้ว มาต่อกันเป็นแพ ยาว 10-20 เมตร มีจำนวน 4 ช่อง ใช้ไม้ไผ่วางพาดขวางยึดท่อให้มีระยะห่างพอดีเพื่อรองรับตะกร้าที่ใช้บรรจุปู โดยตะกร้าที่ใช้เลี้ยงปูนั้น จะมีความกว้าง 22.6 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร สูง 16.1 เซนติเมตร โดยจะใส่ปู 1 ตัว ต่อ 1 ตะกร้า
แพสำหรับเลี้ยงปูนิ่ม ต้องเคลื่อนที่ไปมาได้โดยการดึงเชือกที่ผูกยึดกับแพ โดยแพขนาด 10-20 เมตร เลี้ยงปูนิ่มได้ประมาณ 300-400 ตัว ส่วนค่าใช้จ่ายในการต่อแพ 1 แพ จะประมาณ 2,000-3,000 บาท การเลี้ยงปูนิ่มในตะกร้า ต่อ 1 แพ ที่เลี้ยงปูประมาณ 300-400 ตัว จะลงทุนค่าพันธุ์ปูประมาณ 3,000-4,000 บาท พันธุ์ปูที่ใช้เลี้ยงจะใช้เป็นพันธุ์ปูดำที่มีขนาดตัวประมาณ 6.0-7.5 เซนติเมตร หรือประมาณ 10 ตัวต่อกิโลกรัม จะต้องเป็นปูที่มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ มีอวัยวะครบสมบูรณ์ ปูจึงจะโตเร็ว เก็บผลผลิตขายได้เร็ว พันธุ์ปูนั้นไผ่ซื้อจากจังหวัดระนองในราคากิโลกรัมละประมาณ 100 บาท
การปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้า ก่อนที่จะปล่อยจะต้องทำการปรับสภาพของปูให้เข้ากับแหล่งน้ำที่จะเลี้ยงก่อน โดยการใช้น้ำในบ่อที่ใช้เลี้ยงรดบนตัวปูให้ชุ่ม จากนั้นจึงค่อยตัดเชือกที่มัดก้ามออกแล้วปล่อยลงตะกร้า ตะกร้าที่ใช้เลี้ยงจะต้องใช้ตะกร้า 2 ใบประกบกันบน-ล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้ปูหนีออกไปได้ โดยตะกร้าด้านบนทำรูไว้สำหรับให้อาหาร
หลังจากปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้าแล้ว จะต้องเริ่มตรวจปูลอกคราบในวันถัดไป เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 25 วัน ปูจะเริ่มลอกคราบ และจะลอกคราบหมดประมาณ 3 เดือน การตรวจและเก็บปูนิ่มจะดูทุก 4 ชั่วโมง เพราะถ้าปูลอกคราบไปแล้วประมาณ 6 ชั่วโมง กระดองจะเริ่มแข็ง ไม่สามารถจำหน่ายได้ และกว่าปูจะลอกคราบอีกครั้งต้องรออีกราว 45 วันปูที่เลี้ยงนี้ เมื่อครบ 3 เดือน หรือปูไม่สามารถลอกคราบได้แล้ว ปูนั้นก็จะตาย ซึ่งสามารถเก็บขึ้นมาขายได้ในราคากิโลกรัมละประมาณ 40-50 บาท แต่จะต้องรีบเก็บมาแช่แข็งภายใน 4 ชั่วโมง
การตรวจเก็บปูนิ่ม จะสังเกตจากตะกร้าใดมีปูอยู่ 2 ตัว แสดงว่าปูลอกคราบ ต้องรีบทำการเก็บทันที เมื่อเก็บปูนิ่มมาแล้วให้นำไปแช่ในน้ำจืดที่สะอาดประมาณ 10-15 นาที เพื่อให้ความเค็มลดลง จากนั้นนำไปใส่ภาชนะบรรจุเก็บไว้ในตู้แช่เย็นที่อุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียส เพื่อให้คงความสดไว้รอจำหน่าย และสามารถรักษาไว้ได้นานถึง 2-3 เดือน
สำหรับการดูแลให้อาหารปูนิ่มที่เลี้ยง จะต้องให้อาหารทุก ๆ 2 วัน อาหารที่ให้จะเป็นปลาเบญจพรรณ (ปลาเป็ด) ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว ให้ตัวละ 1 ชิ้น ไม่ควรให้อาหารปูที่เลี้ยงเยอะเกินไป เนื่องจากจะทำให้ปูนั้นอ้วนเกินและจะไม่ลอกคราบ หรืออาจทำให้ปูตายได้ด้วย โดยค่าอาหารจะตกเดือนละประมาณ 250-300 บาท ต่อ 1 แพ
“การเก็บปูนิ่มนั้นสามารถเก็บได้ทุกวัน โดยที่บ่อของเราก็สามารถเก็บได้วันละประมาณ 10 กิโลกรัม ซึ่งปูนิ่มนั้นขายได้กิโลกรัมละประมาณ 200 บาท” เจ้าของบ่อเลี้ยงปูนิ่มรายนี้กล่าว และยังบอกด้วยว่า ช่องทางในการจำหน่ายปูนิ่มนั้นส่วนใหญ่จะส่งขายให้กับร้านอาหารและคนที่เข้า มารับซื้อที่บ่อ และบ่อดินที่ใช้เลี้ยงปูนิ่มนั้นยังสามารถปล่อยปลากะพงลงไปเลี้ยงได้ด้วย ซึ่งก็จะได้รายได้จากการจับปลากะพงขายอีกทางหนึ่งด้วย
บ่อ ’เลี้ยงปูนิ่ม“ ของ ไผ่-วิชญุตธ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 4 ต.วิสัยใต้ อ.เมือง จ.ชุมพร ถ้าใครสนใจอยากศึกษาวิธีการ ขั้นตอนกระบวนการเลี้ยงปูนิ่ม หรือต้องการสั่งปูนิ่ม ลองโทรศัพท์ไปพูดคุยกับไผ่ได้ที่ โทร. 08-4889-9085 ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่ง ’ช่องทางทำกิน“ ภาคการเกษตร ที่ทางทีมงานเราไปพบเจอมาระหว่างที่ร่วมคณะไปกับ ธ.ก.ส. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนการประกอบอาชีพของคนไทยด้านการเกษตร ก็นำมาฝากไว้ให้ได้ลองพิจารณากัน.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ รายงาน
Read More...