ไอศกรีมรูปไข่ “I-maru”
ไอศกรีมรูปไข่ I-maru รูปทรงภายนอกคล้ายไข่ แต่เนื้อในกลับเป็นไอศกรีมผลไม้ 100% ช่วย สร้างความสนใจให้ลูกค้าอย่างดียิ่ง โดยเป็นนวัตกรรมใหม่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกจากฝีมือเอสเอ็มอีไทย มุ่งขยายตลาดทั้งส่งออก ควบคู่กับในประเทศ ด้วยจุดเด่น ขายประสบการณ์ใหม่ในการกินไอศกรีม พร้อมกับคุณภาพรสชาติเยี่ยม เมื่อชิมแล้วต้องติดใจกลับมาเป็นขาประจำ
มรุต ชโลธร เจ้าของกิจการ ไอศกรีมรูปไข่ I-maru
@ แปลงโฉมเพิ่มค่าผลไม้ไทย
มรุต ชโลธร เจ้าของกิจการ และผู้บุกเบิกไอศกรีมแบรนด์ I-maru จากบริษัท อินโนเวชั่น ฟู้ด แพคเกจจิ้ง จำกัด เล่าว่า ครอบครัวทำธุรกิจในวงการอาหารแปรรูป จึง พยายามพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์อาหารอยู่เสมอ ประกอบกับพื้นเพเป็นชาว จ.จันทบุรี แหล่งผลไม้ขึ้นชื่อของประเทศ เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ทุเรียนออกมากจนล้นตลาด ราคาตกต่ำ ทำให้อยากพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุเรียนแปรรูปเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
“ทุเรียนแปรรูปในท้องตลาดทั่ว ไปจะมีแต่แบบเดิมๆ คือ กวน หรือทอดกรอบ ซึ่งทุเรียนเป็น ผลไม้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง คนที่ชอบก็จะชอบมาก ส่วนคนที่ไม่ชอบก็จะไม่แตะเลย แนวคิดในการแปรรูปทุเรียนของผม จึงพยายามทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงลูกค้าตลาดใหญ่มากกว่าที่เป็นมา ง่ายต่อการกิน แม้แต่คนที่ไม่ชอบทุเรียนก็ยังกินได้ จนลงตัวที่จะแปรรูปเป็นไอศกรีม เพราะเป็นของกินเล่นที่ทุกคน ทุกชาติคุ้นเคย และนิยมกันดีอยู่แล้ว” มรุต อธิบาย
ทั้งนี้ ไอศกรีมที่พัฒนาขึ้น มีจุดเด่นเป็นเนื้อทุเรียนล้วนๆ 100% ไม่มีส่วนผสม หรือเครื่องปรุงอื่นๆ เลย เนื้อไอศกรีมนุ่มเนียน เคล็ดลับอยู่ที่กระบวนการผลิต และพันธุ์ทุเรียนเจาะจงเป็นหมอนทองเท่านั้น
ร้าน ไอศกรีมรูปไข่ I-maru ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร
@จุดไอเดียรูปไข่สร้างเซอร์ไพรส์
อย่างไรก็ตาม หากจะขายเป็นไอศกรีมทุเรียนใส่ถ้วย คงไม่สร้างความประหลาดใจมากนัก นำ มาสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อเรียกความสนใจจากลูกค้า โดยนำเนื้อไอศกรีมอัดใส่ในพลาสติกรูปทรงไข่ วิธีกินแค่ใช้ไม้ปลายแหลมจิ้ม วัสดุห่อหุ้มก็จะแตกหลุดออก
มรุต อธิบายเสริมว่า ที่เลือกเป็นรูปทรงไข่เพราะต้องการสื่อถึงความเป็นธรรมชาติแท้ๆ อีกทั้ง ไข่มีรูปทรง และขนาดเหมาะสมในการกิน ส่วนพลาสติกที่ใช้ห่อหุ้มเป็นวัสดุชนิดเดียวกับที่ทำหัวจุกขวดนมทารก จึงมั่นใจด้านความสะอาดปลอดภัย ส่วนวัตถุดิบผลไม้ ใช้วิธีทำคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับเกษตรกร ขณะที่โรงงานผลิตได้มาตรฐานระดับส่งออก ทั้ง GMP และ HACCP
วิธีการกินไอศกรีมนมฯ ตัดบริเวณหัวจุกที่ยื่นออกมา
ส่วนความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น เจ้าของไอเดีย ระบุว่า ศึกษาด้วยตัวเอง ประกอบกับปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ใช้เวลาทดสอบนานนับปี กับงบประมาณกว่าเจ็ดหลัก วางลูกค้าเป้าหมายไว้ที่ตลาดส่งออก โดยเฉพาะประเทศที่นิยมกินทุเรียน นอกจากนั้น ยังเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยแปรรูปไอศกรีมมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วย ซึ่งเทคนิคการผลิตเหมือนเดิม ทำเป็น ไอศกรีมรูปไข่ I-maru เช่นกัน
@ต่อยอดไอศกรีมนมฮอกไกโดจากเต้า
เนื่องจากไอศกรีมผลไม้สำหรับคนไทยอาจจะไม่ใช่ เรื่องใหม่ ดังนั้น เพื่อจะทำตลาดในประเทศควบคู่ไปด้วย หนุ่มช่างคิด ได้พัฒนาเป็นไอศกรีมนมจากฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแหล่งนมวัวขึ้นชื่อของโลก ทั้งด้านความอร่อย และคุณค่าทางสารอาหาร เสิร์ฟในบรรจุภัณฑ์พลาสติกห่อหุ้มเช่นกัน แต่พิเศษคือ ทำ เป็นรูปคล้ายเต้านมวัว สร้างความแปลกใหม่ด้วยวิธีการกิน ตัดบริเวณหัวจุกที่ยื่นออกมา แล้วดูดกินเนื้อไอศกรีม เปรียบเหมือนกำลังดูดนมจากเต้าวัวจริงๆ
ทั้งนี้ ไอศกรีมนมฮอกไกโด มีให้เลือก 7 รสชาติ ได้แก่ วานิลลา บัตเตอร์สก๊อตซ์ กล้วย โยเกิร์ตเบอร์รี่ แคนตาลูป น้อยหน่า เบอร์รี่ และช็อกโกแลต
ตู้แช่พร้อมอุปกรณ์ ลงทุน 45,000 บ.
ไอศกรีมรูปไข่ I-maru รุกตลาดแฟรนไชส์ เปิดโอกาสสร้างอาชีพ
สำหรับการทำตลาดของไอศกรีมรูปไข่ I-maruนั้น มรุต เผยว่า เนื่องจากเป็นนวัตกรรมใหม่ไม่เคยมีมาก่อนในโลก จึงคว้ารางวัลด้านนวัตกรรมอาหารจากหลายสถาบัน และยังได้รับความสนใจจากภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพาณิชย์ พาไปโรดโชว์งานแฟร์ต่างประเทศ ทำให้ได้รับออเดอร์สั่งซื้อสินค้าจากทั้งประเทศจีน และฮ่องกง เป็นต้น ยอดสั่งประมาณ 2 ตู้คอนเทนเนอร์ต่อเดือน โดยจะเริ่มส่งสินค้าในต้นปีหน้า (2554)ขณะที่ในประเทศ ขยายช่องทางตลาด โดยเปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมธุรกิจในรูปแบบกึ่งแฟรนไชส์ โดยเงินลงทุน 45,000 บาท ได้ รับอุปกรณ์พร้อมขาย เช่น ตู้แช่ไอศกรีม ชุดอุปกรณ์ตกแต่ง บริการจัดส่งฟรี ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล (ต่างจังหวัดคิดค่าขนส่งตามระยะทาง) ที่ปรึกษาการตลาด ฝึกอบรม และบริการติดตั้งอุปกรณ์ฟรี เป็นต้น
สำหรับ ราคาส่งไอศกรีมอยู่ที่ 29 บาทต่อลูก กำหนดราคาขายปลีกขั้นต่ำ 39 บาทต่อลูก ซึ่งผู้ขายจะมีกำไรขั้นต่ำ 10 บาทต่อลูก (ยังไม่หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่า ค่าพนักงาน เป็นต้น)
มรุต เผยด้วยว่า ได้ทดสอบตลาดเปิดขายด้วยตัวเอง โดยวางตู้ที่ตลาดนัดสวนจตุจักร บริเวณโครงการ 26 ซ.1 ซึ่งได้ผลตอบรับอย่างสูง ยอดขายประมาณ 400-500 ลูกต่อวัน นอกจากนั้น ยังมีผู้สนใจซื้อตู้ไปลงแล้ว 4 จุด ได้แก่ ร้าน KATIES’ ใน MAXVALU พัฒนาการ ย่านพาหุรัด ใกล้ไชน่าเวิลด์ ภูเก็ต และหาดใหญ่ วางเป้าภายในสิ้นปีนี้ (2553) คาดจะมีสาขาประมาณ 20 จุดทั่วประเทศ
วิธีกินไอศกรีมรูปไข่ I-maru ทั้งไอศกีมผลไม้ และไอศกรีมนมฯ
“เนื่องจากเราเป็นเอสเอ็มอี รายเล็กๆ แทบที่จะใช้เงินไปทุ่มโฆษณา ผมเลือกที่จะใช้เงินทุนมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นตัวเรียกลูกค้าเข้ามาหาเอง ซึ่งไอศกรีมของผม ครั้งแรกที่เห็น ทุกคนจะสงสัยเข้ามาสอบถามว่าคืออะไร และอยากทดลองชิม เมื่อได้ลองแล้ว ผมเชื่อว่า จะประทับใจ กลับมาซื้อซ้ำเป็นขาประจำ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจยั่งยืนไม่ได้เป็นแค่อาหารแฟชั่นที่ลองครั้งเดียวก็พอ” มรุต ระบุ
โทร.08-6881-8785 , www.i-maru.com
ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001