ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยที่ต่อเนื่องมายาวนาน ได้สร้างปัญหาให้ประชาชนในเกือบทุกชนชั้น โดยเฉพาะรายได้ที่ไม่เพียงพอกับรายจ่ายของหลายครัวเรือน อย่างยิ่งกับภาคของเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ต่างต้องดิ้นรนเพื่อหาทางออกให้ชีวิตด้วยการสร้างอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างรายได้เสริม อย่าง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท โดยการนำของ ป้าพะเยาว์ พิกุลทอง ในวัย 60 ปีเศษ ที่รวมกลุ่มแม่บ้าน แปรรูปเปลือกส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์ ส้มโอแก้วรวมรสสมุนไพร จนเป็นสินค้าเด่นสร้างชื่อเสียง สร้างรายได้ให้ชุมชนไม่น้อย
ด้วย "ส้มโอ" เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะเลือกรับประทานเฉพาะเนื้อเท่านั้น ส่วนเปลือกจึงถูกทิ้งให้เน่าเปื่อยอย่างไร้คุณค่า แต่ปัจจุบัน เปลือกส้มโอ กลับกลายเป็นสินค้าทำเงินที่สร้างรายได้ให้กลุ่มแม่บ้านรวมทั้งเกษตรกรผู้ ปลูกอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ป้าพะเยาว์ เล่าย้อนถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ส้มโอแก้วรวมรสว่า แต่ก่อนมีสมาชิก 20 กว่าคน รวมกลุ่มกันแปรรูป วัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อหารายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว มีทั้งไข่เค็ม มะเฟือง มะกรูด มะตูม กล้วย ฯลฯ จนปี 2542 ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนแคนาดา พาไปดูการทำส้มโอแก้วของกลุ่มแม่บ้านในจ.พิจิตร ประกอบกับจ.ชัยนาทเป็นจังหวัดที่มีส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาคุณภาพดี และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้สมาชิกในกลุ่มด้วย
แม้จะเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย เพราะไม่มีความรู้เรื่องแปรรูปเปลือกส้มโอกันมาก่อน แต่เมื่อมองเห็นช่องทางสร้างรายได้และโอกาสเอื้ออำนวย พวกเขาจึงนำความรู้ที่ได้มาทำการทดลอง ซึ่งไม่ง่ายอย่างที่คิด ทั้งขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และการคำนวณอัตราส่วนผสมต้องให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกใจผู้บริโภค ต่างช่วยกันคิด ช่วยกันทำ อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านลองผิดลองถูก ซึ่งกว่าจะได้รสชาติที่โดนใจผู้บริโภคต้องใช้เวลานานนับปี จากนั้นพัฒนาเรื่อยมานำสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงแต่ง เพิ่มรสชาติ และสร้างสีสันให้ดูแปลกตาน่ารับประทาน จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และกลายเป็นหนึ่งในสินค้าโอท็อปสร้างชื่อของจ.ชัยนาทภายใต้แบรนด์ “ส้มโอแก้วรวมรส”
“การทำส้มโอแก้วให้ได้รสชาติอร่อยนั้นต้องใช้เปลือกส้มโอชั้นในสีขาวที่ แก่จัด จะนุ่ม ให้รสชาติดี และอย่าให้เปลือกที่มีแมลงวันทองต่อยปะปนลงเพราะจะทำให้ขม เป็นเมือก ก่อนนำไปกวนคั้นเอาน้ำขมออกให้หมด ไม่ควรผสมเนื้อส้มโอลงไปเพราะเวลาโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นรสขม ทำให้เสียรสชาติ ส่วนวิธีกวนต้องกวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหนียวนุ่มไม่แข็งหรือเละจนเกิน ไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเปลือกส้มโอด้วยเพราะแต่ละสายพันธุ์ให้รสชาติ แตกต่างกัน” ป้าพะเยาว์ บอกเคล็ดลับความอร่อยของส้มโอแก้วรวมรส
พร้อมเผยถึงเทคนิคที่ทำให้ส้มโอแก้วรวมรส เป็นที่ชื่นชอบของนักชิม ก็เนื่องจากแต่งแต้ม เติมกลิ่น ด้วยสมุนไพร 5 ชนิด คือ ใบเตย มะนาว กระเจี๊ยบ มะตูม และมะขาม จึงทำให้ส้มโอแก้วมีรสชาติเฉพาะตัวที่หวานนุ่ม เปรี้ยวกลมกล่อม เผ็ดนิดๆ
"เราจะเน้นคุณภาพมาตรฐาน และสะอาดถูกหลักอนามัย ปลอดภัยจากสารกันบูด ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน เหล่านี้จึงเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามา ยาวถึงกว่า 10 ปี จนทุกวันนี้มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทำงานกันแทบไม่มีวันหยุด บางครั้งทำกันข้ามวันข้ามคืน เพื่อผลิตสินค้าส่งให้ทันตามกำหนดเวลา" ป้าพะเยาว์ กล่าว
จากแต่ก่อนเคยออกไปเร่ขายตามตลาดนัด งานวัด งานโรงเรียน ปัจจุบันป้าพะเยาว์บอกเพียงนั่งรอรับออเดอร์ที่บ้าน ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นร้านของฝากตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ศูนย์โอท็อป จ.ชัยนาท และมีออกร้านตามงานแสดงสินค้าต่างๆ บ้าง ล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากห้างเทสโก้ โลตัส ให้นำสินค้าไปวางจำหน่ายในบูธโอท็อปทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกและคนในชุมชนอีกด้วย
แม้จะไม่ใช่เจ้าแรกที่ผลิตสินค้าส้มโอกวน แต่ด้วยสีสันและรสชาติแปลกใหม่ที่สมาชิกช่วยกันรังสรรค์คิดค้นขึ้นมา บวกกับความมานะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ ทำให้ชื่อผลิตภัณฑ์ส้มโอแก้วรวมรสสมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และยืนหยัดมาได้ยาวนานกว่า 10 ปี สนใจเรียนรู้กรรมวิธีการแปรรูปผลไม้ติดต่อได้ที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าว โพด ที่อยู่ 205 หมู่ 2 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000 โทร.0-5647-7654
ขั้นตอนการผลิต สำหรับกรรมวิธีและขั้นตอนการผลิต นั้น ป้าพะเยาว์ อธิบายให้ฟังว่า เลือกผลส้มโอที่แก่จัดล้างให้สะอาด ปอกเอาเฉพาะเปลือกชั้นในสีขาว มาแช่น้ำเกลือผสมน้ำปูนใสประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เนื้อเละ จากนั้นนำมาคั้นเอาน้ำขมออก และล้างต่อด้วยน้ำสะอาดอีก 5-6 น้ำ เสร็จแล้วนำไปต้มจนสุกและคั้นแห้งอีกครั้งก่อนนำไปลงเครื่องบดให้เป็นชิ้น เล็กๆ เวลากวนจะได้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ส่วนขั้นตอนการกวน ก็นำเปลือกส้มโอบดเทลงเครื่องกวนพร้อมส่วนผสม น้ำ น้ำตาล เกลือ น้ำสมุนไพร แบะแซ (พริกป่น เฉพาะรสมะขาม) จากนั้นปล่อยให้เครื่องกวนทำงานต่อ 5 ชั่วโมง เสร็จแล้วตักขึ้นใส่ภาชนะ ปั้นเป็นลูกกลมๆ คลุกน้ำตาลทรายอีกครั้งก่อนนำไปห่อกระดาษแก้ว และแพ็กลงบรรจุภัณฑ์วางจำหน่าย มีราคาให้เลือกตั้งแต่ 10 บาท 20 บาท และ 35 บาท หรือจะชั่งเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 100 บาท
"ธานี กุลแพทย์"
จังหวัดชัยนาท
" หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ
นามระบือสวนนก ส้มโอดก ขาวแตงกวา " ข้อมูลทั่วไป :
ชัยนาท แปลตามศัพท์มีความหมายว่า ชัยชนะที่มีเสียงบันลือ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากลำน้ำเก่า ตั้งขึ้นหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย สร้างในสมัยพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 เมืองๆ นี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรก หรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ มีเจ้าสามพระยาเป็นผู้ครองเมือง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยางมาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง และมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมืองชัยนาทแห่งนี้
นอกจากชัยนาทจะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่ปัจจุบันชัยนาทก็มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือปราณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยา มีตลาดการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย
การเดินทาง :
รถยนต์
ชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 194 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 50 มีทางแยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อ่างทอง สิงห์บุรี ประมาณกิโลเมตรที่ 183 มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ไปชัยนาทอีก 10 กิโลเมตร หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1543
รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) เริ่มบริการตั้งแต่เวลา 05.10-17.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2537 8055 บริษัท ชัยนาท ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3608 ที่ จ.ชัยนาท โทร. 0 5641 2264 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th
การเดินทางจากอำเภอเมืองชัยนาทไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอมโนรมย์ 14 กิโลเมตร
อำเภอสรรพยา 21 กิโลเมตร
อำเภอวัดสิงห์ 22 กิโลเมตร
อำเภอสรรคบุรี 27 กิโลเมตร
อำเภอหันคา 35 กิโลเมตร
อำเภอหนองมะโมง 42 กิโลเมตร
อำเภอเนินขาม 48 กิโลเมตร
อาณาเขตและการปกครอง : ชัยนาท มีเนื้อที่ประมาณ 2,469.74 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมง และอำเภอเนินขาม
ทิศเหนือ จดอุทัยธานี และนครสวรรค์
ทิศตะวันออก จดนครสวรรค์ และสิงห์บุรี
ทิศใต้ จดสิงห์บุรี และสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก จดอุทัยธานี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : สำนักงานจังหวัด โทร. 0 5641 1181, 0 5641 1204, 0 5641 5508
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5641 1919, 0 5641 6377
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1734, 0 5642 1353
ชัยนาททัวร์ โทร. 0 5641 2264
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 5641 2264
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
โรงพยาบาลชัยนาท โทร. 0 5641 2355
ที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1226
ด้วย "ส้มโอ" เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ ซึ่งผู้บริโภคส่วนใหญ่มักจะเลือกรับประทานเฉพาะเนื้อเท่านั้น ส่วนเปลือกจึงถูกทิ้งให้เน่าเปื่อยอย่างไร้คุณค่า แต่ปัจจุบัน เปลือกส้มโอ กลับกลายเป็นสินค้าทำเงินที่สร้างรายได้ให้กลุ่มแม่บ้านรวมทั้งเกษตรกรผู้ ปลูกอย่างเป็นกอบเป็นกำ
ป้าพะเยาว์ เล่าย้อนถึงที่มาของผลิตภัณฑ์ส้มโอแก้วรวมรสว่า แต่ก่อนมีสมาชิก 20 กว่าคน รวมกลุ่มกันแปรรูป วัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อหารายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว มีทั้งไข่เค็ม มะเฟือง มะกรูด มะตูม กล้วย ฯลฯ จนปี 2542 ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนแคนาดา พาไปดูการทำส้มโอแก้วของกลุ่มแม่บ้านในจ.พิจิตร ประกอบกับจ.ชัยนาทเป็นจังหวัดที่มีส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาคุณภาพดี และให้ผลผลิตตลอดทั้งปี จึงเหมาะที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็เพิ่มช่องทางสร้างรายได้ให้สมาชิกในกลุ่มด้วย
แม้จะเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทาย เพราะไม่มีความรู้เรื่องแปรรูปเปลือกส้มโอกันมาก่อน แต่เมื่อมองเห็นช่องทางสร้างรายได้และโอกาสเอื้ออำนวย พวกเขาจึงนำความรู้ที่ได้มาทำการทดลอง ซึ่งไม่ง่ายอย่างที่คิด ทั้งขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และการคำนวณอัตราส่วนผสมต้องให้ได้ปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้รสชาติที่ถูกใจผู้บริโภค ต่างช่วยกันคิด ช่วยกันทำ อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านลองผิดลองถูก ซึ่งกว่าจะได้รสชาติที่โดนใจผู้บริโภคต้องใช้เวลานานนับปี จากนั้นพัฒนาเรื่อยมานำสมุนไพรพื้นบ้านมาปรุงแต่ง เพิ่มรสชาติ และสร้างสีสันให้ดูแปลกตาน่ารับประทาน จนเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และกลายเป็นหนึ่งในสินค้าโอท็อปสร้างชื่อของจ.ชัยนาทภายใต้แบรนด์ “ส้มโอแก้วรวมรส”
“การทำส้มโอแก้วให้ได้รสชาติอร่อยนั้นต้องใช้เปลือกส้มโอชั้นในสีขาวที่ แก่จัด จะนุ่ม ให้รสชาติดี และอย่าให้เปลือกที่มีแมลงวันทองต่อยปะปนลงเพราะจะทำให้ขม เป็นเมือก ก่อนนำไปกวนคั้นเอาน้ำขมออกให้หมด ไม่ควรผสมเนื้อส้มโอลงไปเพราะเวลาโดนความร้อนจะเปลี่ยนเป็นรสขม ทำให้เสียรสชาติ ส่วนวิธีกวนต้องกวนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียวเหนียวนุ่มไม่แข็งหรือเละจนเกิน ไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเปลือกส้มโอด้วยเพราะแต่ละสายพันธุ์ให้รสชาติ แตกต่างกัน” ป้าพะเยาว์ บอกเคล็ดลับความอร่อยของส้มโอแก้วรวมรส
พร้อมเผยถึงเทคนิคที่ทำให้ส้มโอแก้วรวมรส เป็นที่ชื่นชอบของนักชิม ก็เนื่องจากแต่งแต้ม เติมกลิ่น ด้วยสมุนไพร 5 ชนิด คือ ใบเตย มะนาว กระเจี๊ยบ มะตูม และมะขาม จึงทำให้ส้มโอแก้วมีรสชาติเฉพาะตัวที่หวานนุ่ม เปรี้ยวกลมกล่อม เผ็ดนิดๆ
"เราจะเน้นคุณภาพมาตรฐาน และสะอาดถูกหลักอนามัย ปลอดภัยจากสารกันบูด ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 3 เดือน เหล่านี้จึงเป็นจุดเด่นที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เราได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ามา ยาวถึงกว่า 10 ปี จนทุกวันนี้มียอดสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สมาชิกทำงานกันแทบไม่มีวันหยุด บางครั้งทำกันข้ามวันข้ามคืน เพื่อผลิตสินค้าส่งให้ทันตามกำหนดเวลา" ป้าพะเยาว์ กล่าว
จากแต่ก่อนเคยออกไปเร่ขายตามตลาดนัด งานวัด งานโรงเรียน ปัจจุบันป้าพะเยาว์บอกเพียงนั่งรอรับออเดอร์ที่บ้าน ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นร้านของฝากตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ศูนย์โอท็อป จ.ชัยนาท และมีออกร้านตามงานแสดงสินค้าต่างๆ บ้าง ล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากห้างเทสโก้ โลตัส ให้นำสินค้าไปวางจำหน่ายในบูธโอท็อปทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกและคนในชุมชนอีกด้วย
แม้จะไม่ใช่เจ้าแรกที่ผลิตสินค้าส้มโอกวน แต่ด้วยสีสันและรสชาติแปลกใหม่ที่สมาชิกช่วยกันรังสรรค์คิดค้นขึ้นมา บวกกับความมานะ ซื่อสัตย์ และเอาใจใส่ ทำให้ชื่อผลิตภัณฑ์ส้มโอแก้วรวมรสสมุนไพรของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าวโพด เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และยืนหยัดมาได้ยาวนานกว่า 10 ปี สนใจเรียนรู้กรรมวิธีการแปรรูปผลไม้ติดต่อได้ที่กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรท่าข้าว โพด ที่อยู่ 205 หมู่ 2 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง จ.ชัยนาท 17000 โทร.0-5647-7654
ขั้นตอนการผลิต สำหรับกรรมวิธีและขั้นตอนการผลิต นั้น ป้าพะเยาว์ อธิบายให้ฟังว่า เลือกผลส้มโอที่แก่จัดล้างให้สะอาด ปอกเอาเฉพาะเปลือกชั้นในสีขาว มาแช่น้ำเกลือผสมน้ำปูนใสประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เนื้อเละ จากนั้นนำมาคั้นเอาน้ำขมออก และล้างต่อด้วยน้ำสะอาดอีก 5-6 น้ำ เสร็จแล้วนำไปต้มจนสุกและคั้นแห้งอีกครั้งก่อนนำไปลงเครื่องบดให้เป็นชิ้น เล็กๆ เวลากวนจะได้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
ส่วนขั้นตอนการกวน ก็นำเปลือกส้มโอบดเทลงเครื่องกวนพร้อมส่วนผสม น้ำ น้ำตาล เกลือ น้ำสมุนไพร แบะแซ (พริกป่น เฉพาะรสมะขาม) จากนั้นปล่อยให้เครื่องกวนทำงานต่อ 5 ชั่วโมง เสร็จแล้วตักขึ้นใส่ภาชนะ ปั้นเป็นลูกกลมๆ คลุกน้ำตาลทรายอีกครั้งก่อนนำไปห่อกระดาษแก้ว และแพ็กลงบรรจุภัณฑ์วางจำหน่าย มีราคาให้เลือกตั้งแต่ 10 บาท 20 บาท และ 35 บาท หรือจะชั่งเป็นกิโลกรัม กิโลกรัมละ 100 บาท
"ธานี กุลแพทย์"
จังหวัดชัยนาท
นามระบือสวนนก ส้มโอดก ขาวแตงกวา "
ชัยนาท แปลตามศัพท์มีความหมายว่า ชัยชนะที่มีเสียงบันลือ เป็นเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ตัวเมืองเดิมอยู่บริเวณฝั่งขวาแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองแพรกศรีราชา ใต้ปากลำน้ำเก่า ตั้งขึ้นหลังเมืองพันธุมวดี (สุพรรณบุรี) เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย สร้างในสมัยพญาเลอไทแห่งกรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1860-1879 เมืองๆ นี้จึงได้ชื่อว่า เมืองแพรก หรือเมืองสรรค์ มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านทางใต้ เมื่อกรุงสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง เมืองแพรกได้กลายเป็นเมืองหน้าด่านทางตอนเหนือของกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้เกิดชุมชนใหม่ไม่ไกลจากเมืองสรรค์ มีเจ้าสามพระยาเป็นผู้ครองเมือง ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 เมืองที่เกิดขึ้นใหม่นี้เป็นเมืองใหญ่ มีชื่อว่า ชัยนาท ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ย้ายตัวเมืองจากบริเวณแหลมยางมาตั้งตรงฝั่งซ้ายแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนเมืองสรรค์นั้นเสื่อมลงเรื่อยๆ เพราะผู้คนอพยพมาอยู่ที่ชัยนาทเป็นส่วนใหญ่ ในที่สุดก็กลายเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของชัยนาทเท่านั้น ชัยนาทเป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เคยใช้เป็นที่ตั้งทัพรับศึกพม่าหลายครั้ง และมีชัยทุกครั้งไป จึงเป็นที่มาของชื่อ เมืองชัยนาทแห่งนี้
นอกจากชัยนาทจะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่ปัจจุบันชัยนาทก็มีชื่อเสียงและมีสินค้าด้านหัตถกรรม การจักสาน การปั้น การทอ การทำเครื่องเบญจรงค์ ที่มีฝีมือปราณีต รูปแบบทันสมัย ราคาย่อมเยา มีตลาดการจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยฝีมือของชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย
การเดินทาง :
รถยนต์
ชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 194 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 ประมาณกิโลเมตรที่ 50 มีทางแยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 32 ผ่าน อ่างทอง สิงห์บุรี ประมาณกิโลเมตรที่ 183 มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 1 ไปชัยนาทอีก 10 กิโลเมตร หรือใช้ทางพิเศษอุดรรัถยา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1543
รถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและรถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิต 2) เริ่มบริการตั้งแต่เวลา 05.10-17.30 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2537 8055 บริษัท ชัยนาท ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2936 3608 ที่ จ.ชัยนาท โทร. 0 5641 2264 หรือเว็บไซต์ www.transport.co.th
การเดินทางจากอำเภอเมืองชัยนาทไปยังอำเภอต่าง ๆ
อำเภอเมือง - กิโลเมตร
อำเภอมโนรมย์ 14 กิโลเมตร
อำเภอสรรพยา 21 กิโลเมตร
อำเภอวัดสิงห์ 22 กิโลเมตร
อำเภอสรรคบุรี 27 กิโลเมตร
อำเภอหันคา 35 กิโลเมตร
อำเภอหนองมะโมง 42 กิโลเมตร
อำเภอเนินขาม 48 กิโลเมตร
อาณาเขตและการปกครอง : ชัยนาท มีเนื้อที่ประมาณ 2,469.74 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหันคา อำเภอมโนรมย์ อำเภอสรรคบุรี อำเภอสรรพยา อำเภอวัดสิงห์ อำเภอหนองมะโมง และอำเภอเนินขาม
ทิศเหนือ จดอุทัยธานี และนครสวรรค์
ทิศตะวันออก จดนครสวรรค์ และสิงห์บุรี
ทิศใต้ จดสิงห์บุรี และสุพรรณบุรี
ทิศตะวันตก จดอุทัยธานี
หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ : สำนักงานจังหวัด โทร. 0 5641 1181, 0 5641 1204, 0 5641 5508
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร. 0 5641 1919, 0 5641 6377
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1734, 0 5642 1353
ชัยนาททัวร์ โทร. 0 5641 2264
บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 0 5641 2264
ตำรวจท่องเที่ยว โทร. 1155
ตำรวจทางหลวง โทร. 1193
โรงพยาบาลชัยนาท โทร. 0 5641 2355
ที่ทำการไปรษณีย์ อำเภอเมือง โทร. 0 5641 1226
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001