วันเวลาผ่านไปเร็วมากเลยนะคะ แป๊บๆ เดียวก็จะถึงเดือนกันยายน-หน้าสารท อีกแล้ว .. แล้วทุกๆ เดือนกันยาของทุกปี ที่บ้านยายของพิม จะมีงานกวนกระยาสารทประจำปีค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าพิมกับที่บ้านจะต้องไปเป็นลูกมือด้วย .. และก่อนจะถึงงานกวนกระยาสารทของปีนี้ พิมก็ขอนำสูตรกระยาสารทพร้อมวิธีทำมาฝากกันก่อนค่ะ
"กระยาสารท" ... ถือเป็นขนมที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนไทยเรา ที่นำเอาธัญพืชหลากหลายมากวนรวมกับน้ำอ้อย น้ำตาล และแบะแซ เพื่อให้เป็นขนมที่เก็บไว้กินได้นาน
กระยาสารทนั้น ... โดยปกติ มักจะกวนกันหน้าสารท (ช่วงเดือนกันยา) จึงเรียกได้ว่าเป็นขนมประจำสารทไทยเรา ซึ่งถือว่าเป็นขนมชั้นดี และในสมัยโบราณก็มักใช้ขนมนี้ไปกำนัลแก่ญาติผู้ใหญ่ คนที่เราเคารพนับถือน่ะค่ะ
กระยาสารท .... เท่าที่พิมเคยเห็น และเคยลองชิม ก็มีอยู่หลายสูตร หลายหน้าตาด้วยกัน ... บางสูตรหนักถั่ว บางสูตรหนักข้าวพอง บางสูตรนิยมแค่เอางามาโรยด้านบน ไม่ใส่ผสมลงไปกวน บางสูตรใส่กะทิ บางสูตรไม่ใส่ .... ซึ่งแต่ละสูตร รวมถึงการเลือกใช้ของที่แตกต่างกันออกไปไป ก็ทำให้หน้าตากระยาสารทที่ออกมา แตกต่างกันไปด้วย
ซึ่งหน้าตากระยาสารทที่ยายของพิมทำขายมานานกว่า 40 ปีแล้วเนี่ย ... หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ
กระยาสารท ... ที่บ้านยายพิมทำ ... เมื่อพิมหยิบมาชิ้นนึง ... จะได้กลิ่นหอมหวานของน้ำอ้อย และน้ำตาลอย่างดีที่เราเลือกใช้ มาก่อนเป็นอันดับแรกเลยค่ะ .... แล้วพอกัดไปคำนึง ก็จะรู้สึกได้ถึงความกรอบนุ่ม ๆ . .. แล้วเวลาเคี้ยวก็จะได้รสสัมผัสมันๆ จากถั่ว งา ที่ผ่านการคั่วมาจนหอมแล้ว แถมยังมีข้าวพอง มีข้าวตอก อีกด้วย ..... ค่ะ
- ส่วนที่ 1 .... มี น้ำอ้อยดิบ + น้ำสะอาด + น้ำตาลปึกหรือปี๊บอย่างดี + แบะแซ
- ส่วนที่ 2 .... มีแค่ ข้าวตอก
- ส่วนที่ 3 .... มีข้าวเม่าราง + งาดำล้าง + ถั่วลิสงคั่ว
ป.ล. ภาพประกอบของส่วนผสมแบบชัดเจน ... มีไม่ครบนะคะ เพราะว่าทุกขั้นตอน ..รีบมากๆ ก็เลยมีเวลาถ่ายรูปส่วนผสมก่อนจะเอาลงกระทะ ... ค่อนข้างน้อยน่ะค่ะ
ส่วนที่ 1
"แบะแซ" .... ในเมืองไทย .. ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้มาจากการย่อยแป้งมันสำปะหลัง กับแป้งข้าวโพดค่ะ .... ในภาพมีปริมาณ 1/2 โลต่อ 1 ถุง .. (ตอนซื้อ ... ที่บ้านยายพิม ... บอกให้เขาชั่ง ๆ มาถุงละครึ่งกิโลเลย จะได้ไม่ต้องมาตวงใหม่ทีหลังน่ะค่ะ ... เพราะสูตรนึง ใช้ 1/2 โล)
"น้ำอ้อยดิบ" .... สีเข้ม ๆ แบบนี้ค่ะ ... ให้ทางร้านเค้าชั่งมาเลยถุงละประมาณ 3 ลิตร (สูตรนึงใช้ 3 ลิตร)
ป.ล. ไม่ใช่น้ำอ้อยคั้น สีเขียวอ่อน แบบที่ใส่ขวดขายเย็น ๆ ตามตลาดนะคะ
"น้ำตาลปึก" .... ส่วนนี่เป็นน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปี๊บค่ะ .... ใช้อย่างดี เพื่อให้กระยาสารทของเรามีความหวานหอม นุ่มนวล .... และถ้าต้องการให้กระยาสารทเราสีเข้ม ให้เลือกน้ำตาลสีเข้มๆ ... แต่ที่บ้านยายพิม ชอบให้สีอ่อนหน่อย ก็เลือกใช้น้ำตาลสีอ่อนนิดน่ะค่ะ
ปริมาณในภาพ .... ถุงละ 1 กิโล (แต่จริง ๆ ใช้สูตรละแค่ 1/2 กิโล)
ส่วน "น้ำสะอาด" ที่เป็นส่วนผสมอย่างสุดท้ายของส่วนที่ 1 ........ ก็ใช้น้ำสะอาดธรรมดา ๆ เลยค่ะ .. อันนี้ไม่ต้องมีรูปเน๊าะค่ะ
ส่วนที่ 2
ก็มีแค่ "ข้าวตอก" ค่ะ ........ สมัยก่อนที่บ้านพิมนิยมใช้ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าทั้งเปลือก มาคั่วเอง (วิธีการคั่วคล้ายการคั่วเมล็ดข้าวโพดให้เป็นป๊อปคอร์น) ... แต่ปัจจุบัน ซื้อจากร้านที่ไว้ใจได้แทนค่ะ (ใช้ 2.5 ขีด/สูตร)
ข้าวตอกเนี่ย ตอนซื้อมา มันจะมีกาก (เปลือก) ติดมาด้วย ... ก็เก็บออกไปให้หมดก่อนนะคะ
ส่วนที่ 3
"ข้าวเม่าราง" .. หรือ ข้าวเม่าคั่ว .... ซึ่งข้าวเม่าแบบนี้เนี่ย ... เมื่อก่อนราง (คั่ว) กันเองค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ซื้อเค้าเอา แต่เอาที่เขาทำใหม่ ๆ หน่อย เจ้าที่รู้จักกันเขาจะจัดให้ค่ะ (1.5 โลต่อ 1 สูตร)
"งาดำล้าง" ... มีหน้าตาแบบนี้นะคะ บางคนอาจจะสงสัยว่า ต่างจากงาดำทั่วไปตรงไหน ... พิมเลยอยากจะบอกว่า ต่างกันตรงที่ งาดำชนิดนี้ เป็นงาดำที่เขาเอาเปลือกออกแล้วน่ะค่ะ (ไม่ใช่งาขาว) และมีขายเฉพาะบางร้านเท่านั้นค่ะ
เราจะซื้องาดำล้าง (แบบดิบ) มาคั่วเอง คั่วก่อนใช้งาน 1 วัน เพื่อให้งาคงความหอมเอาไว้
ได้งามา ... เลือกเศษผงออก แล้วนำไปฝัดด้วยกระด้ง ให้เปลือกหรือเศษผงที่ยังเหลืออยู่ ออกไป ... นำไปผึ่งแดด 1 แดดบาง ๆ แล้วนำมาคั่วค่ะ ใช้ไฟอ่อน อย่าใจร้อน งาไหม้เร็วค่ะ
คั่วไปสักระยะ พองาเริ่มส่งกลิ่นหอม ก็เอาขึ้นได้ .... ไม่ต้องรอเปลี่ยนสีนะคะ เพราะงาดำ ดูสียาก แล้วอีกอย่าง ถ้านานไป นอกจากอาจจะมีกลิ่นไหม้แล้ว ยังจะได้งาดำสีกระดำกระด่างออกแดง ๆ ทำให้กระยาสารทไม่สวยอีกค่ะ
งานี่ใช้ประมาณ 3.5 โล ..... กระยาสารทที่บ้านพิมเน้นธัญพืชค่ะ ^^"
"ถั่วลิสงคั่ว" ... ใช้ถั่วลิสงดิบ แล้วเอามาคั่วเอง .... เวลาคั่ว ผสมแกลบลงไปด้วยค่ะ ใช้ถั่ว 1 ส่วน แกลบ 1 ส่วน คั่วไฟอ่อน ๆ .... อย่าใจร้อน เดี๋ยวถั่วสีกระดำกระด่าง (เหลืองไม่เสมอกัน) ส่งผลทำให้กระยาสารทจะออกมาหน้าตาไม่สวย (เหมือนคนทำ ... อิอิ)
สมัยก่อน ... ตาของพิมจะรับหน้าที่นี้ไป ไม่ยอมวางมือให้ใครคั่วเลยค่ะ เพราะกลัวไม่สวย (ฮ่ะๆ) แต่สมัยนี้ ก็ตกเป็นหน้าที่ของน้าชายไปค่ะ อีกหน่อย ก็สงสัยจะหน้าที่พิม หรือไม่ก็น้องชายพิม (แบบว่าต้องสะสมประสบการณ์กันเป็นทอดๆ ไม่สามารถทำแบบก้าวกระโดดได้)
คั่วถั่วเนี่ยนอกจากจะต้องใจเย็นแล้ว ต้องคอยดูด้วยนะคะ พอเปลือกถั่วเริ่มเหลือง ให้รีบเอาขึ้นเลย เพราะมันจะมาร้อนอีกสักพัก .... ช่วงยังร้อนนี่แหละ จะทำให้ถั่วสุกต่ออีกหน่อย ถ้าเราเอาขึ้นตอนเปลือกเริ่มเหลือง ทิ้งไว้สักพัก ถั่วจะสุกพอดี สีกำลังสวยเลยค่ะ
พอเอาถั่วขึ้นจากกระทะ ให้เอาถั่วใส่ตะแกรงไม้ไผ่สาน เพื่อร่อนเอาแกลบออกให้หมด .... จากนั้นก็ทิ้งไว้สักแป๊บ ให้ถั่วอุ่น ๆ ก็ค่อยเอามือขยี้ ๆ เปลือกทิ้ง และฝัดเปลือก (ด้วยกระด้ง) ออกไป .... จากนั้นก็บี้ให้เม็ดถั่วแยกออกจากกันเป็น 2 ซีก อย่าพยายามให้เม็ดแตก กระยาสารทจะออกมาไม่สวยงาม
ถั่วนี่ คั่วไว้ก่อนวันที่จะทำได้ค่ะ แต่ไม่ควรเกิน 2-3 วัน (ปกติที่บ้านยายพิม จะคั่วไว้ไม่เกิน 2 วัน)
ใช้สูตรละ 2.1 กิโล
เมื่อเราเตรียมส่วนผสมทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย ก็มาลงมือกวนกันค่ะ ... แต่ก่อนที่เราจะลงมือกวน .... เราต้องมาผสมส่วนผสมบางอย่างเข้าด้วยกันไว้ก่อนค่ะ
- ส่วนผสมส่วนแรก เตรียมเอาแต่ละอย่าง ปริมาณตามที่บอกไว้ มากองรวมกัน เพื่อเตรียมเอาไว้ผสมรวมกันในกระทะสำหรับกวน
- ส่วนผสมส่วนที่ 2 ... ชั่งไว้ตามที่บอกในสูตร .. แล้วก็พักเอาไว้ก่อน
- และ ส่วนผสมส่วนที่ 3 .... ชั่งแต่ละอย่าง ตามที่บอกไว้ด้านบน แล้วนำมาผสมกันในกาละมังใบใหญ่ ๆ ...... ซึ่งเราจะมาผสมส่วนผสมส่วนนี้กันก่อนค่ะ
นี่คือ กาละมัง ... สำหรับผสมส่วนผสมส่วนที่ 3 .... อายุกาละมัง พอ ๆ กับอายุพิมเลย...... ^^
สำหรับส่วนผสมส่วนที่ 3..... เราใช้ ข้าวเม่าราง 1.5 กิโล + ถั่วลิสง 2.1 กิโล + งาดำ 3.5 โล .... ชั่งทุกอย่างตามสูตรแล้ว ก็เอาเทใส่กาละมังใบใหญ่เลยค่ะ ... แล้วก็เอามือเราที่ล้างน้ำสะอาด + เช็ดให้แห้งแล้ว เคล้าส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันดี ... ได้ประมาณภาพล่าง ก็พักไว้ก่อน
ตามด้วยน้ำตาลปึ๊ก .. และก็แบะแซ
บางคนอาจจะสงสัยว่า ใส่อะไรทำไมตั้งหลายอย่าง แต่ละอย่างก็เห็นคุณสมบัติคล้ายกัน แต่จริง ๆ ถึงจะคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันนะคะ
- น้ำอ้อย ... ให้ความหวานหอม เหนียว
- น้ำตาล ... ให้ความกลมกล่อม
- แบะแซ ... เพื่อให้เกาะกันเป็นก้อน เป็นกลุ่มค่ะ
จากนั้นเราก็ยกกระทะไปตั้งที่เตาไฟ ที่เราจุดรอไว้ได้เลยค่ะ .... ซึ่งเราจะกวนหรือคนให้ส่วนผสมส่วนที่ 1 ในกระทะนี่ละลาย และข้นจนได้ที่ก่อน เราถึงจะผสมอย่างอื่นลงไปเป็นลำดับต่อไป
การกวนในขั้นตอนนี้ สามารถใช้ไฟแรงตามในภาพได้ แต่ไม่ใช่แรงซะขนาดท่วมกระทะนะคะ (ไฟ เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการกวนกระยาสารท)
เมื่อตั้งไฟไปสักแป๊บ จะเริ่มเดือดค่ะ เราก็ใช้ไม้พายกวนเป็นระยะ ๆ จนเริ่มเหนียว ....... ซึ่งเมื่อเริ่มเหนียวแล้ว ให้ลดไฟลงเหลือไฟกลาง ... ช่วงนี้จะเริ่มเห็นฟองน้ำตาลผุดเป็นพราย ๆ ซึ่งพราย จะมีลักษณะที่คนโบราณบ้านพิม จะเรียกว่า พรายแบบปลาหมอผุด
เด็ก ๆ พิมเคยถามยายว่า ทำไมเป็น ปลาช่อน ปลาสวายผุดไม่ได้เหรอ แบบว่าทำไมต้องปลาหมออ่ะ ... ยายก็ว่า .. ก็ปลาช่อนมันผุดเป็นวงใหญ่สิ นี่แค่วงเล็ก ๆ เลยต้องเปรียบเทียบกับปลาหมออ่ะ ... พิมก็เลยเห็นภาพค่ะ ยังแอบนึกว่าคนโบราณนี่เขาช่างเปรียบเทียบดีเน๊าะ เห็นเป็นภาพ และจำง่ายมากเลยค่ะ
ช่วงนี้ให้ระวังกระเด็นด้วย .. น้ำตาลร้อน ๆ เวลากระเด็นใส่เรา จะเกาะติดหนึบยิ่งกว่าแว๊กซ์ซะอีกค่ะ เคยโดนครั้งนึง เจ็บน้ำตาเล็ดเลย
ป.ล. พราย = ฟอง / พรายแบบปลาหมอผุด = ฟองเล็กถึงเล็กมาก
เราจะต้องกวนให้ส่วนผสมน้ำอ้อย น้ำตาลได้ที่ก่อน จึงจะใส่อย่างอื่นลงไปได้
วิธีดูว่าส่วนผสมน้ำตาลได้ที่หรือยัง ... ก็ใช้ช้อนกินข้าวเรานี่แหละค่ะ ตักน้ำตาลในกระทะขึ้นมาสัก 1/4 ช้อน ... เทใส่ขันที่มีน้ำเย็น แล้วดูว่าน้ำตาลจับตัวกันเป็นก้อนไหม ถ้าใช่ ก็ใช้ได้แล้วค่ะ (ต้องคอยทดสอบบ่อย ๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ส่วนผสมน้ำตาลที่กำลังพอดีจริง ๆ ไม่แก่ไป หรืออ่อนไป)
ช่วงนี้ *** เป็นอีกช่วงสำคัญช่วงนึง กระยาสารทจะแข็ง จะกรอบ จะนิ่ม ก็มาจากตรงนี้แหละค่ะ
ถ้าน้ำตาลได้ที่กำลังดี กระยาสารทจะะออกมาพอดี ไม่แข็งไม่นิ่มจนเกินไป .... แต่ถ้าน้ำตาลแก่เกินไป (เหนียวไป-จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง) กระยาสารทจะออกสีเข้ม เหนียวมาก กดใส่พิมพ์ยาก ตัดก็ยาก แถมแข็ง ๆ อีกค่ะ ..... แต่ถ้าน้ำตาลอ่อนไป (คือเหนียวไม่พอ) ตัวกระยาสารทก็จะนิ่มไป ตัดแล้วไม่ค่อยเป็นทรงน่ะค่ะ ... ซึ่งแบบน้ำตาลอ่อน ๆ ในอย่างหลังนี่ เหมาะกับกระยาสารท แบบตักขายเป็นกิโล หรือแบบที่ไม่ต้องอัดลงพิมพ์ค่ะ
พอน้ำตาลได้ที่ ....... ก็เทส่วนผสมที่ 2 ... ข้าวตอก ใส่ลงไปเลยค่ะ ประมาณ 3 ขีด
แล้วใช้ไม้พาย กวนแบบปาดไปปาดมา จนกระทั่งข้าวตอกซึมซับน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีของ น้ำตาล ... ถึงตอนนี้ก็ลดไฟลงอ่อนค่ะ เหลือไฟเปลวเล็ก ๆ ก็พอ
จากนั้นเทส่วนผสมที่ 3 ที่เราเคล้ารวมกันไว้ในกาละมัง ..... ทั้งหมด ลงไปในกระทะ (จากนี้ไป ต้องใช้ 3-4 คน ต่อ 1 กระทะ ในการกวนและคอยปรับแต่งไฟ ซึ่งทุกอย่างต้องรวดเร็วมาก ช้านิด อาจจะส่งผลทำให้ไหม้ได้)
ใช้พายใหญ่ 2 พาย (1 คน ถือ 1 พาย) ยืนฝั่งตรงข้ามกัน แล้วก็กวน ในลักษณะปาดทบไปทบมา จากก้นกระทะ ขึ้นมาด้านบน
เวลากวน .. สองคนที่ถือพาย จะต้องคนด้วยพาย สลับกันไปมา ให้ได้จังหวะ ... กวนส่วนผสมทีละน้อย กวน (กดพาย) ไปจนถึงก้นกระทะ แล้วก็ค่อย ๆ พ ลิกตลบส่วนผสมนั้นขึ้นมาปาดไปข้างใดข้างนึง แล้วก็กวนในจังหวะต่อไป
สำหรับกระทะใหญ่ และปริมาณส่วนผสมเยอะขนาดนี้ ....... ไม่สามารถกวนคนเดียวได้ เพราะจะช้าเกินไป แล้วก็อาจจะทำให้ก้นกระทะไหม้ได้ค่ะ (แต่สำหรับกระทะเล็ก ๆ ส่วนผสมน้อย ใช้คนเดียวได้ค่ะ)
และนอกจากคนกวน .... ก็จะต้องมีอีกคนนึง คอยจัดการเรื่องไฟ ... ต้องระวังไม่ให้ในกระทะมีควันขึ้นมาเด็ดขาด เพราะนั่นแสดงว่าร้อนเ กินไป อาจจะทำให้ถั่วหรืองาไหม้ (มักไหม้ที่ก้นกระทะ) ทำให้กระยาสารทสีไม่สวยและก็ขมได้ค่ะ (ต้องระมัดระวังตรงนี้เป็นพิเศษอีกจุด)
หากมีควันขึ้น ... จะต้องรีบคีบถ่านออก จนไม่ให้เห็นเปลว หรือไม่ก็เอาแผ่นสังกะสี ปิดด้านบนถ่าน ตามภาพ
กวนไป พายไปพายมา จนกระทั่งส่วนผสมทั้งหมด ถูกน้ำตาลเคลือบ หรือว่าซึมซับเอาน้ำตาลเข้าไปเรียบร้อยแล้ว จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน สม่ำเสมอกันทั้งกระทะ .. .........ก็เป็นอันใช้ได้ (ใช้เวลาไม่นาน) ... จังหวะนี้ (ก่อนจะยกกระทะลงจากเตา) ก็ให้เอาไม้พายปาด ๆ ส่วนผสมตรงกลางกระทะขึ้นมา ไว้ด้านบน ๆ ให้ตรงกลางกระทะเป็นร่อง จะได้ไม่ไหม้ค่ะ
แล้วก็ทำการยกทั้งกระทะ ลงมาตั้งบนอะไรก็ได้ค่ะ ..... อย่างที่บ้านยายพิมนี่ เขาจะตั้งบนปากครกที่ใช้ตำข้าวสมัยก่อนค่ะ
จากนั้นก็ตักใส่พิมพ์กระยาสารทเลยค่ะ ซึ่งสำหรับสูตรนี้ ปริมาณตามในกระทะ จะได้กระยาสารททั้งหมด 2 พิมพ์ใหญ่ 1 พิมพ์เล็ก (พิมพ์แบบที่บ้านของยายพิม) น้ำหนักรวมประมาณ 10-11 โล
** สำคัญ ** ช่วงนี้เป็นช่วงต้องรีบค่ะ ... แข่งกับเวลาสุด ๆ ช้าไม่ได้เลย เพราะพอยกกระทะส่วนผสมลงจากเตาแล้ว ส่วนผสมจะแข็งไวมากๆ ยิ่งน้ำตาลแก่เท่าไหร่ ส่วนผสมยิ่งแห้งเร็วค่ะ ซึ่งถ้าส่วนผสมแห้งเร็ว จะทำให้กดลงพิมพ์ให้เรียบร้อยได้ยาก
ป.ล. กระยาสารทที่บ้านพิม จะทำออกมามีลักษณะเป็นแบบชิ้นค่ะ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการอัดกระยาสารทลงพิมพ์ แล้วก็ตัดๆ แต่กระยาสารทบางสูตร เค้าจะทำเป็นแผ่น หรือตักขายเป็นกิโล (ซึ่งมักจะเป็นสูตรที่เน้นข้าวพอง และข้าวตอก) ก็ไม่ต้องลำบากในส่วนตรงนี้ค่ะ ... กวนเสร็จ ตักใส่กาละมัง ยกไปวางขายได้เลย
แล้วก็รีบเอาไม้คลึงกระยาสารท ที่เราเตรียมไว้ มาทำการคลึง ๆ กระยาสารทให้ลงไปตามรูปพิมพ์ (ขอเรียกว่า กระบะ) เลยค่ะ
จะได้ออกมาหน้าตาประมาณนี้ค่ะ
จากนั้นเราก็จะเริ่มตัดเป็นชิ้น ๆ กันทันทีเลยค่ะ ... โดยเอาไม้บรรทัด (ทำมาโดยเฉพาะ) มาวัดตามแนวที่เราทำรอยไว้โดยรอบกระบะ .... แล้วก็เอามีดกรีด ๆ ตามไม้บรรทัด
การตัดนี่ก็มีเคล็ดลับนะคะ (จริง ๆ ทุกขั้นตอนมีเคล็ดลับหมดแหละค่ะ) เราต้องกดมีดลงตรง ๆ กดอย่างมั่นใจ อย่าวอกแว่ก จะทำให้มีโอกาส ตัดเบี้ยวได้ ที่สำคัญต้องกดไม้บรรทัด ไว้แน่น ๆ เพื่อเป็นแนวตัดให้เราค่ะ .. ที่สำคัญอีกอย่าง คือ มีดต้องคมมากๆ และเป็นมีดด้ามสั้น ๆ จะดีที่สุดค่ะ
ตัดตามแนวกว้าง และแนวยาว จะได้ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ
แล้วต่อไป ก็ค่อย ๆ เอามีดแซะออกจากกระบะ วางลงบนกระด้งที่ปูพลาสติคเอาไว้ (กันติด) เพื่อให้คลายความร้อน
จากนั้นทิ้งระยะไว้สักประมาณ 2 นาที ก็บรรจุใส่ถุงได้เลยค่ะ ปริมาณตามชอบ แต่ปกติบ้านพิม จะใส่กันประมาณถุงละ 1 โล แล้วก็มัดปากถุงให้เรียบร้อย ........ เตรียมเอาไปขายหรือแจกตามอัธยาศัย ^^
มาถึงตอนนี้ ..... ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำกระยาสารทตามแบบบ้านพิมแล้วนะคะ ........ ใครอยากจะลองทำ แล้วหาร้านขายส่วนผสมไม่เจอ หรือว่าอยากทราบรายละเอียดตรงอื่น โพสต์ถามพิมไว้ในบอร์ดได้เลยนะคะ แล้วพิมจะไปตอบให้ค่ะ
"กระยาสารท" ... ถือเป็นขนมที่เกิดขึ้นจากภูมิปัญญาของคนไทยเรา ที่นำเอาธัญพืชหลากหลายมากวนรวมกับน้ำอ้อย น้ำตาล และแบะแซ เพื่อให้เป็นขนมที่เก็บไว้กินได้นาน
กระยาสารทนั้น ... โดยปกติ มักจะกวนกันหน้าสารท (ช่วงเดือนกันยา) จึงเรียกได้ว่าเป็นขนมประจำสารทไทยเรา ซึ่งถือว่าเป็นขนมชั้นดี และในสมัยโบราณก็มักใช้ขนมนี้ไปกำนัลแก่ญาติผู้ใหญ่ คนที่เราเคารพนับถือน่ะค่ะ
กระยาสารท .... เท่าที่พิมเคยเห็น และเคยลองชิม ก็มีอยู่หลายสูตร หลายหน้าตาด้วยกัน ... บางสูตรหนักถั่ว บางสูตรหนักข้าวพอง บางสูตรนิยมแค่เอางามาโรยด้านบน ไม่ใส่ผสมลงไปกวน บางสูตรใส่กะทิ บางสูตรไม่ใส่ .... ซึ่งแต่ละสูตร รวมถึงการเลือกใช้ของที่แตกต่างกันออกไปไป ก็ทำให้หน้าตากระยาสารทที่ออกมา แตกต่างกันไปด้วย
ซึ่งหน้าตากระยาสารทที่ยายของพิมทำขายมานานกว่า 40 ปีแล้วเนี่ย ... หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ
กระยาสารท ... ที่บ้านยายพิมทำ ... เมื่อพิมหยิบมาชิ้นนึง ... จะได้กลิ่นหอมหวานของน้ำอ้อย และน้ำตาลอย่างดีที่เราเลือกใช้ มาก่อนเป็นอันดับแรกเลยค่ะ .... แล้วพอกัดไปคำนึง ก็จะรู้สึกได้ถึงความกรอบนุ่ม ๆ . .. แล้วเวลาเคี้ยวก็จะได้รสสัมผัสมันๆ จากถั่ว งา ที่ผ่านการคั่วมาจนหอมแล้ว แถมยังมีข้าวพอง มีข้าวตอก อีกด้วย ..... ค่ะ
:: ส่วนผสม / รายละเอียด / วิธีทำ ::
กระยาสารท ... ที่บ้านพิม มีส่วนผสมด้วยกัน 3 ส่วนค่ะ (แยกให้เห็นเน๊าะ จะได้เข้าใจกันง่ายๆ)- ส่วนที่ 1 .... มี น้ำอ้อยดิบ + น้ำสะอาด + น้ำตาลปึกหรือปี๊บอย่างดี + แบะแซ
- ส่วนที่ 2 .... มีแค่ ข้าวตอก
- ส่วนที่ 3 .... มีข้าวเม่าราง + งาดำล้าง + ถั่วลิสงคั่ว
ป.ล. ภาพประกอบของส่วนผสมแบบชัดเจน ... มีไม่ครบนะคะ เพราะว่าทุกขั้นตอน ..รีบมากๆ ก็เลยมีเวลาถ่ายรูปส่วนผสมก่อนจะเอาลงกระทะ ... ค่อนข้างน้อยน่ะค่ะ
ส่วนที่ 1
"แบะแซ" .... ในเมืองไทย .. ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้มาจากการย่อยแป้งมันสำปะหลัง กับแป้งข้าวโพดค่ะ .... ในภาพมีปริมาณ 1/2 โลต่อ 1 ถุง .. (ตอนซื้อ ... ที่บ้านยายพิม ... บอกให้เขาชั่ง ๆ มาถุงละครึ่งกิโลเลย จะได้ไม่ต้องมาตวงใหม่ทีหลังน่ะค่ะ ... เพราะสูตรนึง ใช้ 1/2 โล)
"น้ำอ้อยดิบ" .... สีเข้ม ๆ แบบนี้ค่ะ ... ให้ทางร้านเค้าชั่งมาเลยถุงละประมาณ 3 ลิตร (สูตรนึงใช้ 3 ลิตร)
ป.ล. ไม่ใช่น้ำอ้อยคั้น สีเขียวอ่อน แบบที่ใส่ขวดขายเย็น ๆ ตามตลาดนะคะ
"น้ำตาลปึก" .... ส่วนนี่เป็นน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปี๊บค่ะ .... ใช้อย่างดี เพื่อให้กระยาสารทของเรามีความหวานหอม นุ่มนวล .... และถ้าต้องการให้กระยาสารทเราสีเข้ม ให้เลือกน้ำตาลสีเข้มๆ ... แต่ที่บ้านยายพิม ชอบให้สีอ่อนหน่อย ก็เลือกใช้น้ำตาลสีอ่อนนิดน่ะค่ะ
ปริมาณในภาพ .... ถุงละ 1 กิโล (แต่จริง ๆ ใช้สูตรละแค่ 1/2 กิโล)
ส่วน "น้ำสะอาด" ที่เป็นส่วนผสมอย่างสุดท้ายของส่วนที่ 1 ........ ก็ใช้น้ำสะอาดธรรมดา ๆ เลยค่ะ .. อันนี้ไม่ต้องมีรูปเน๊าะค่ะ
ส่วนที่ 2
ก็มีแค่ "ข้าวตอก" ค่ะ ........ สมัยก่อนที่บ้านพิมนิยมใช้ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้าทั้งเปลือก มาคั่วเอง (วิธีการคั่วคล้ายการคั่วเมล็ดข้าวโพดให้เป็นป๊อปคอร์น) ... แต่ปัจจุบัน ซื้อจากร้านที่ไว้ใจได้แทนค่ะ (ใช้ 2.5 ขีด/สูตร)
ข้าวตอกเนี่ย ตอนซื้อมา มันจะมีกาก (เปลือก) ติดมาด้วย ... ก็เก็บออกไปให้หมดก่อนนะคะ
ส่วนที่ 3
"ข้าวเม่าราง" .. หรือ ข้าวเม่าคั่ว .... ซึ่งข้าวเม่าแบบนี้เนี่ย ... เมื่อก่อนราง (คั่ว) กันเองค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ซื้อเค้าเอา แต่เอาที่เขาทำใหม่ ๆ หน่อย เจ้าที่รู้จักกันเขาจะจัดให้ค่ะ (1.5 โลต่อ 1 สูตร)
"งาดำล้าง" ... มีหน้าตาแบบนี้นะคะ บางคนอาจจะสงสัยว่า ต่างจากงาดำทั่วไปตรงไหน ... พิมเลยอยากจะบอกว่า ต่างกันตรงที่ งาดำชนิดนี้ เป็นงาดำที่เขาเอาเปลือกออกแล้วน่ะค่ะ (ไม่ใช่งาขาว) และมีขายเฉพาะบางร้านเท่านั้นค่ะ
เราจะซื้องาดำล้าง (แบบดิบ) มาคั่วเอง คั่วก่อนใช้งาน 1 วัน เพื่อให้งาคงความหอมเอาไว้
ได้งามา ... เลือกเศษผงออก แล้วนำไปฝัดด้วยกระด้ง ให้เปลือกหรือเศษผงที่ยังเหลืออยู่ ออกไป ... นำไปผึ่งแดด 1 แดดบาง ๆ แล้วนำมาคั่วค่ะ ใช้ไฟอ่อน อย่าใจร้อน งาไหม้เร็วค่ะ
คั่วไปสักระยะ พองาเริ่มส่งกลิ่นหอม ก็เอาขึ้นได้ .... ไม่ต้องรอเปลี่ยนสีนะคะ เพราะงาดำ ดูสียาก แล้วอีกอย่าง ถ้านานไป นอกจากอาจจะมีกลิ่นไหม้แล้ว ยังจะได้งาดำสีกระดำกระด่างออกแดง ๆ ทำให้กระยาสารทไม่สวยอีกค่ะ
งานี่ใช้ประมาณ 3.5 โล ..... กระยาสารทที่บ้านพิมเน้นธัญพืชค่ะ ^^"
"ถั่วลิสงคั่ว" ... ใช้ถั่วลิสงดิบ แล้วเอามาคั่วเอง .... เวลาคั่ว ผสมแกลบลงไปด้วยค่ะ ใช้ถั่ว 1 ส่วน แกลบ 1 ส่วน คั่วไฟอ่อน ๆ .... อย่าใจร้อน เดี๋ยวถั่วสีกระดำกระด่าง (เหลืองไม่เสมอกัน) ส่งผลทำให้กระยาสารทจะออกมาหน้าตาไม่สวย (เหมือนคนทำ ... อิอิ)
สมัยก่อน ... ตาของพิมจะรับหน้าที่นี้ไป ไม่ยอมวางมือให้ใครคั่วเลยค่ะ เพราะกลัวไม่สวย (ฮ่ะๆ) แต่สมัยนี้ ก็ตกเป็นหน้าที่ของน้าชายไปค่ะ อีกหน่อย ก็สงสัยจะหน้าที่พิม หรือไม่ก็น้องชายพิม (แบบว่าต้องสะสมประสบการณ์กันเป็นทอดๆ ไม่สามารถทำแบบก้าวกระโดดได้)
คั่วถั่วเนี่ยนอกจากจะต้องใจเย็นแล้ว ต้องคอยดูด้วยนะคะ พอเปลือกถั่วเริ่มเหลือง ให้รีบเอาขึ้นเลย เพราะมันจะมาร้อนอีกสักพัก .... ช่วงยังร้อนนี่แหละ จะทำให้ถั่วสุกต่ออีกหน่อย ถ้าเราเอาขึ้นตอนเปลือกเริ่มเหลือง ทิ้งไว้สักพัก ถั่วจะสุกพอดี สีกำลังสวยเลยค่ะ
พอเอาถั่วขึ้นจากกระทะ ให้เอาถั่วใส่ตะแกรงไม้ไผ่สาน เพื่อร่อนเอาแกลบออกให้หมด .... จากนั้นก็ทิ้งไว้สักแป๊บ ให้ถั่วอุ่น ๆ ก็ค่อยเอามือขยี้ ๆ เปลือกทิ้ง และฝัดเปลือก (ด้วยกระด้ง) ออกไป .... จากนั้นก็บี้ให้เม็ดถั่วแยกออกจากกันเป็น 2 ซีก อย่าพยายามให้เม็ดแตก กระยาสารทจะออกมาไม่สวยงาม
ถั่วนี่ คั่วไว้ก่อนวันที่จะทำได้ค่ะ แต่ไม่ควรเกิน 2-3 วัน (ปกติที่บ้านยายพิม จะคั่วไว้ไม่เกิน 2 วัน)
ใช้สูตรละ 2.1 กิโล
เมื่อเราเตรียมส่วนผสมทั้งหมดเสร็จเรียบร้อย ก็มาลงมือกวนกันค่ะ ... แต่ก่อนที่เราจะลงมือกวน .... เราต้องมาผสมส่วนผสมบางอย่างเข้าด้วยกันไว้ก่อนค่ะ
- ส่วนผสมส่วนแรก เตรียมเอาแต่ละอย่าง ปริมาณตามที่บอกไว้ มากองรวมกัน เพื่อเตรียมเอาไว้ผสมรวมกันในกระทะสำหรับกวน
- ส่วนผสมส่วนที่ 2 ... ชั่งไว้ตามที่บอกในสูตร .. แล้วก็พักเอาไว้ก่อน
- และ ส่วนผสมส่วนที่ 3 .... ชั่งแต่ละอย่าง ตามที่บอกไว้ด้านบน แล้วนำมาผสมกันในกาละมังใบใหญ่ ๆ ...... ซึ่งเราจะมาผสมส่วนผสมส่วนนี้กันก่อนค่ะ
นี่คือ กาละมัง ... สำหรับผสมส่วนผสมส่วนที่ 3 .... อายุกาละมัง พอ ๆ กับอายุพิมเลย...... ^^
สำหรับส่วนผสมส่วนที่ 3..... เราใช้ ข้าวเม่าราง 1.5 กิโล + ถั่วลิสง 2.1 กิโล + งาดำ 3.5 โล .... ชั่งทุกอย่างตามสูตรแล้ว ก็เอาเทใส่กาละมังใบใหญ่เลยค่ะ ... แล้วก็เอามือเราที่ล้างน้ำสะอาด + เช็ดให้แห้งแล้ว เคล้าส่วนผสมทั้ง 3 อย่าง ให้เข้ากันดี ... ได้ประมาณภาพล่าง ก็พักไว้ก่อน
จากนั้นก็ได้เวลาลงมือกวนกันจริง ๆ แล้วค่ะ ........ เริ่มต้นก็ไปติดเตาไฟรอไว้ก่อน (ควรใช้เตาฟืน)
ระหว่างรอไฟติด ... ก็ตั้งกระทะ (ที่เราจะใช้กวนกระยาสารท) บนอะไรก็ได้ค่ะ ที่ไม่ใช่บนเตาไฟ (ที่จุดไว้แล้ว) .... เทน้ำอ้อยดิบลงไป ตอนเทอย่าลืมใช้กระชอน กรองด้วยนะคะ เผื่อมีเศษผงอยู่ด้วย
เวลาเทน้ำอ้อยออกจากถุงแล้ว พยายามรีดน้ำอ้อยออกจากถุงให้หมดนะคะ ถ้ายังมีเหลือติดอยู่ สามารถเติมน้ำสะอาดลงไปล้างในถุงได้ประมาณครึ่งลิตรค่ะตามด้วยน้ำตาลปึ๊ก .. และก็แบะแซ
บางคนอาจจะสงสัยว่า ใส่อะไรทำไมตั้งหลายอย่าง แต่ละอย่างก็เห็นคุณสมบัติคล้ายกัน แต่จริง ๆ ถึงจะคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันนะคะ
- น้ำอ้อย ... ให้ความหวานหอม เหนียว
- น้ำตาล ... ให้ความกลมกล่อม
- แบะแซ ... เพื่อให้เกาะกันเป็นก้อน เป็นกลุ่มค่ะ
จากนั้นเราก็ยกกระทะไปตั้งที่เตาไฟ ที่เราจุดรอไว้ได้เลยค่ะ .... ซึ่งเราจะกวนหรือคนให้ส่วนผสมส่วนที่ 1 ในกระทะนี่ละลาย และข้นจนได้ที่ก่อน เราถึงจะผสมอย่างอื่นลงไปเป็นลำดับต่อไป
การกวนในขั้นตอนนี้ สามารถใช้ไฟแรงตามในภาพได้ แต่ไม่ใช่แรงซะขนาดท่วมกระทะนะคะ (ไฟ เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในการกวนกระยาสารท)
เมื่อตั้งไฟไปสักแป๊บ จะเริ่มเดือดค่ะ เราก็ใช้ไม้พายกวนเป็นระยะ ๆ จนเริ่มเหนียว ....... ซึ่งเมื่อเริ่มเหนียวแล้ว ให้ลดไฟลงเหลือไฟกลาง ... ช่วงนี้จะเริ่มเห็นฟองน้ำตาลผุดเป็นพราย ๆ ซึ่งพราย จะมีลักษณะที่คนโบราณบ้านพิม จะเรียกว่า พรายแบบปลาหมอผุด
เด็ก ๆ พิมเคยถามยายว่า ทำไมเป็น ปลาช่อน ปลาสวายผุดไม่ได้เหรอ แบบว่าทำไมต้องปลาหมออ่ะ ... ยายก็ว่า .. ก็ปลาช่อนมันผุดเป็นวงใหญ่สิ นี่แค่วงเล็ก ๆ เลยต้องเปรียบเทียบกับปลาหมออ่ะ ... พิมก็เลยเห็นภาพค่ะ ยังแอบนึกว่าคนโบราณนี่เขาช่างเปรียบเทียบดีเน๊าะ เห็นเป็นภาพ และจำง่ายมากเลยค่ะ
ช่วงนี้ให้ระวังกระเด็นด้วย .. น้ำตาลร้อน ๆ เวลากระเด็นใส่เรา จะเกาะติดหนึบยิ่งกว่าแว๊กซ์ซะอีกค่ะ เคยโดนครั้งนึง เจ็บน้ำตาเล็ดเลย
ป.ล. พราย = ฟอง / พรายแบบปลาหมอผุด = ฟองเล็กถึงเล็กมาก
เราจะต้องกวนให้ส่วนผสมน้ำอ้อย น้ำตาลได้ที่ก่อน จึงจะใส่อย่างอื่นลงไปได้
วิธีดูว่าส่วนผสมน้ำตาลได้ที่หรือยัง ... ก็ใช้ช้อนกินข้าวเรานี่แหละค่ะ ตักน้ำตาลในกระทะขึ้นมาสัก 1/4 ช้อน ... เทใส่ขันที่มีน้ำเย็น แล้วดูว่าน้ำตาลจับตัวกันเป็นก้อนไหม ถ้าใช่ ก็ใช้ได้แล้วค่ะ (ต้องคอยทดสอบบ่อย ๆ ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ส่วนผสมน้ำตาลที่กำลังพอดีจริง ๆ ไม่แก่ไป หรืออ่อนไป)
ช่วงนี้ *** เป็นอีกช่วงสำคัญช่วงนึง กระยาสารทจะแข็ง จะกรอบ จะนิ่ม ก็มาจากตรงนี้แหละค่ะ
ถ้าน้ำตาลได้ที่กำลังดี กระยาสารทจะะออกมาพอดี ไม่แข็งไม่นิ่มจนเกินไป .... แต่ถ้าน้ำตาลแก่เกินไป (เหนียวไป-จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง) กระยาสารทจะออกสีเข้ม เหนียวมาก กดใส่พิมพ์ยาก ตัดก็ยาก แถมแข็ง ๆ อีกค่ะ ..... แต่ถ้าน้ำตาลอ่อนไป (คือเหนียวไม่พอ) ตัวกระยาสารทก็จะนิ่มไป ตัดแล้วไม่ค่อยเป็นทรงน่ะค่ะ ... ซึ่งแบบน้ำตาลอ่อน ๆ ในอย่างหลังนี่ เหมาะกับกระยาสารท แบบตักขายเป็นกิโล หรือแบบที่ไม่ต้องอัดลงพิมพ์ค่ะ
พอน้ำตาลได้ที่ ....... ก็เทส่วนผสมที่ 2 ... ข้าวตอก ใส่ลงไปเลยค่ะ ประมาณ 3 ขีด
แล้วใช้ไม้พาย กวนแบบปาดไปปาดมา จนกระทั่งข้าวตอกซึมซับน้ำตาล และเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีของ น้ำตาล ... ถึงตอนนี้ก็ลดไฟลงอ่อนค่ะ เหลือไฟเปลวเล็ก ๆ ก็พอ
จากนั้นเทส่วนผสมที่ 3 ที่เราเคล้ารวมกันไว้ในกาละมัง ..... ทั้งหมด ลงไปในกระทะ (จากนี้ไป ต้องใช้ 3-4 คน ต่อ 1 กระทะ ในการกวนและคอยปรับแต่งไฟ ซึ่งทุกอย่างต้องรวดเร็วมาก ช้านิด อาจจะส่งผลทำให้ไหม้ได้)
ใช้พายใหญ่ 2 พาย (1 คน ถือ 1 พาย) ยืนฝั่งตรงข้ามกัน แล้วก็กวน ในลักษณะปาดทบไปทบมา จากก้นกระทะ ขึ้นมาด้านบน
เวลากวน .. สองคนที่ถือพาย จะต้องคนด้วยพาย สลับกันไปมา ให้ได้จังหวะ ... กวนส่วนผสมทีละน้อย กวน (กดพาย) ไปจนถึงก้นกระทะ แล้วก็ค่อย ๆ พ ลิกตลบส่วนผสมนั้นขึ้นมาปาดไปข้างใดข้างนึง แล้วก็กวนในจังหวะต่อไป
สำหรับกระทะใหญ่ และปริมาณส่วนผสมเยอะขนาดนี้ ....... ไม่สามารถกวนคนเดียวได้ เพราะจะช้าเกินไป แล้วก็อาจจะทำให้ก้นกระทะไหม้ได้ค่ะ (แต่สำหรับกระทะเล็ก ๆ ส่วนผสมน้อย ใช้คนเดียวได้ค่ะ)
และนอกจากคนกวน .... ก็จะต้องมีอีกคนนึง คอยจัดการเรื่องไฟ ... ต้องระวังไม่ให้ในกระทะมีควันขึ้นมาเด็ดขาด เพราะนั่นแสดงว่าร้อนเ กินไป อาจจะทำให้ถั่วหรืองาไหม้ (มักไหม้ที่ก้นกระทะ) ทำให้กระยาสารทสีไม่สวยและก็ขมได้ค่ะ (ต้องระมัดระวังตรงนี้เป็นพิเศษอีกจุด)
หากมีควันขึ้น ... จะต้องรีบคีบถ่านออก จนไม่ให้เห็นเปลว หรือไม่ก็เอาแผ่นสังกะสี ปิดด้านบนถ่าน ตามภาพ
กวนไป พายไปพายมา จนกระทั่งส่วนผสมทั้งหมด ถูกน้ำตาลเคลือบ หรือว่าซึมซับเอาน้ำตาลเข้าไปเรียบร้อยแล้ว จนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน สม่ำเสมอกันทั้งกระทะ .. .........ก็เป็นอันใช้ได้ (ใช้เวลาไม่นาน) ... จังหวะนี้ (ก่อนจะยกกระทะลงจากเตา) ก็ให้เอาไม้พายปาด ๆ ส่วนผสมตรงกลางกระทะขึ้นมา ไว้ด้านบน ๆ ให้ตรงกลางกระทะเป็นร่อง จะได้ไม่ไหม้ค่ะ
แล้วก็ทำการยกทั้งกระทะ ลงมาตั้งบนอะไรก็ได้ค่ะ ..... อย่างที่บ้านยายพิมนี่ เขาจะตั้งบนปากครกที่ใช้ตำข้าวสมัยก่อนค่ะ
จากนั้นก็ตักใส่พิมพ์กระยาสารทเลยค่ะ ซึ่งสำหรับสูตรนี้ ปริมาณตามในกระทะ จะได้กระยาสารททั้งหมด 2 พิมพ์ใหญ่ 1 พิมพ์เล็ก (พิมพ์แบบที่บ้านของยายพิม) น้ำหนักรวมประมาณ 10-11 โล
** สำคัญ ** ช่วงนี้เป็นช่วงต้องรีบค่ะ ... แข่งกับเวลาสุด ๆ ช้าไม่ได้เลย เพราะพอยกกระทะส่วนผสมลงจากเตาแล้ว ส่วนผสมจะแข็งไวมากๆ ยิ่งน้ำตาลแก่เท่าไหร่ ส่วนผสมยิ่งแห้งเร็วค่ะ ซึ่งถ้าส่วนผสมแห้งเร็ว จะทำให้กดลงพิมพ์ให้เรียบร้อยได้ยาก
ป.ล. กระยาสารทที่บ้านพิม จะทำออกมามีลักษณะเป็นแบบชิ้นค่ะ เพราะฉะนั้นจะต้องมีการอัดกระยาสารทลงพิมพ์ แล้วก็ตัดๆ แต่กระยาสารทบางสูตร เค้าจะทำเป็นแผ่น หรือตักขายเป็นกิโล (ซึ่งมักจะเป็นสูตรที่เน้นข้าวพอง และข้าวตอก) ก็ไม่ต้องลำบากในส่วนตรงนี้ค่ะ ... กวนเสร็จ ตักใส่กาละมัง ยกไปวางขายได้เลย
แล้วก็รีบเอาไม้คลึงกระยาสารท ที่เราเตรียมไว้ มาทำการคลึง ๆ กระยาสารทให้ลงไปตามรูปพิมพ์ (ขอเรียกว่า กระบะ) เลยค่ะ
จะได้ออกมาหน้าตาประมาณนี้ค่ะ
จากนั้นเราก็จะเริ่มตัดเป็นชิ้น ๆ กันทันทีเลยค่ะ ... โดยเอาไม้บรรทัด (ทำมาโดยเฉพาะ) มาวัดตามแนวที่เราทำรอยไว้โดยรอบกระบะ .... แล้วก็เอามีดกรีด ๆ ตามไม้บรรทัด
การตัดนี่ก็มีเคล็ดลับนะคะ (จริง ๆ ทุกขั้นตอนมีเคล็ดลับหมดแหละค่ะ) เราต้องกดมีดลงตรง ๆ กดอย่างมั่นใจ อย่าวอกแว่ก จะทำให้มีโอกาส ตัดเบี้ยวได้ ที่สำคัญต้องกดไม้บรรทัด ไว้แน่น ๆ เพื่อเป็นแนวตัดให้เราค่ะ .. ที่สำคัญอีกอย่าง คือ มีดต้องคมมากๆ และเป็นมีดด้ามสั้น ๆ จะดีที่สุดค่ะ
ตัดตามแนวกว้าง และแนวยาว จะได้ออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ
แล้วต่อไป ก็ค่อย ๆ เอามีดแซะออกจากกระบะ วางลงบนกระด้งที่ปูพลาสติคเอาไว้ (กันติด) เพื่อให้คลายความร้อน
จากนั้นทิ้งระยะไว้สักประมาณ 2 นาที ก็บรรจุใส่ถุงได้เลยค่ะ ปริมาณตามชอบ แต่ปกติบ้านพิม จะใส่กันประมาณถุงละ 1 โล แล้วก็มัดปากถุงให้เรียบร้อย ........ เตรียมเอาไปขายหรือแจกตามอัธยาศัย ^^
มาถึงตอนนี้ ..... ก็เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำกระยาสารทตามแบบบ้านพิมแล้วนะคะ ........ ใครอยากจะลองทำ แล้วหาร้านขายส่วนผสมไม่เจอ หรือว่าอยากทราบรายละเอียดตรงอื่น โพสต์ถามพิมไว้ในบอร์ดได้เลยนะคะ แล้วพิมจะไปตอบให้ค่ะ
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001