จากเอ็นทรีที่แล้ว อาหารยอดฮิตเห็นจะไม่พ้นผักพื้นบ้านแสนอร่อยของข้าพเจ้าไปได้ หลายคนที่เคยได้ลิ้มรสต่างก็หลงรักกันไปอย่างถ้วนทั่ว ข้าพเจ้าจึงขอนำสาระน่ารู้มาฝากกันซะเลย "ผักเหลียง" เป็นพืชยืนต้นที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ ๑-๒เมตร มีใบเรียวยาว สามารถนำยอดของผักเหลียงมารับประทานได้ แต่ต้องทำให้สุกก่อนโดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดผักเหลียงใส่ไข่ แกงเลียงผักเหลียงใส่กุ้ง นำมาต้มกะทิ ใช้รองห่อหมก หรือลวกจิ้มน้ำพริก ซึ่งเป็นที่นิยมรับประทานมากของชาวภาคใต้อย่างกว้างขวาง
ผักเหลียงจัดเป็นผักพื้นบ้านประเภทไม้ยืนต้นขนาดกลางมีมากในแถบจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และแทบทุกจังหวัดในภาคใต้ ถือว่าเป็นผักประจำถิ่นใต้เลยก็ได้ ว่ากันว่าถ้าจะกินผักเหลียงที่มีรสหวานอร่อยแล้วละก็ต้องเป็นผักเหลียงที่ขึ้นในร่ม หรือไม่ก็ต้องหลังฤดูฝนไปแล้ว เพราะเป็นช่วงที่ผักเหลียงเริ่มแตกใบใหม่ แหล่งดั้งเดิมของผักเหลียงขึ้นอยู่ตามป่าเขา ที่ราบ บางครั้งก็เห็นขึ้นเคียงข้างกับต้นสะตอและต้นยาง ลักษณะของผักเหลียงที่อร่อย
คนใต้เขาแนะนำให้เลือกใบที่เป็นเพสลาด คือไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป ใบจะออกรสมันและหวานนิดๆและนอกจากความอร่อยแล้ว คนใต้บางคนบอกว่าหากผู้คนภาคอื่น ได้มีโอกาสลิ้มลองผักเหลียงมากขึ้น อาจจะหลงเสน่ห์ปักษ์ใต้เอาได้ง่ายๆ เลยทีเดียว
"ผักเหลียง" มีการปลูกกันอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคใต้ ทางพังงา ภูเก็ต กระบี่เรียกว่า "ผักเหมียง" สุราษฎร์ฯ เรียกว่า "ผักเขรียง" ส่วนทางชุมพร ระนอง ประจวบฯเรียกว่า "ผักเหลียง"
ต้นเหลียงมักไม่มีศัตรูพืชมากนัก ไม่โดนแมลงหรือเชื้อรารบกวนจึงมั่นใจได้ว่าเป็นผักปลอดจากสารพิษอย่างแน่นอน อันที่จริงผักจากไม้ยืนต้นส่วนใหญ่ก็มักจะปลอดสารพิษอยู่แล้ว ชาวบ้านที่ชุมพรจะกำมาขาย กำละ 5 บาทเท่านั้น เมื่อเทียบกับผักที่ไม่ปลอดสารพิษในกรุงเทพฯแล้ว ผักเหลียงทั้งปลอดภัย ทั้งอร่อยทั้งประหยัดกว่าหลายเท่าค่ะ เสียดายที่หาผักเหลียงในกรุงเทพฯได้ยากข้าพเจ้าจึงโชคดีกว่าคนกรุงก็ตรงนี้นี่เอง
ผักเหลียงอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนที่ต้องถือว่าเป็นสารต้านออกซิเดชั่นที่ สำคัญ ทั้งยังเป็นสารตั้งต้นสร้างวิตามินเออีกด้วย มีข้อมูลออกมาจากภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ว่า ผักเหลียงร้อยกรัมหรือหนึ่งขีดไม่รวมก้านให้เบต้าแคโรทีน สูงถึง 1,089 ไมโครกรัมหน่วยเรตินัล สูงกว่าผักบุ้งจีนสามเท่ามากกว่าผักบุ้งไทย 5-10 เท่า ผักเหลียงมีเบต้าแคโรทีนมากกว่าใบตำลึงเสียด้วยซ้ำผักที่ถือว่า เป็นสุดยอดของแหล่งเบต้าแคโรทีนคือแครอท ก็ไม่ได้มีเบต้าแคโรทีนมากไปกว่าผักเหลียงเลย เบต้าแคโรทีนเป็นสารสีส้ม แต่กลับมองไม่เห็นสีส้มในผักเหลียงก็เพราะมันถูกสีเขียว ของใบผักปกปิดไว้จนหมด กินผักเหลียง จึงให้ทั้งคุณค่าของเบต้าแคโรทีนและสารพฤกษเคมีจากผักใบ และผักเหลียงยังให้คุณค่าของแคลเซียมและฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก อีกด้วย
อาหารยอดนิยมจากผักเหลียงที่ขึ้นชื่อของเมืองใต้คือ "ผักเหลียงต้มกะปิ" หรือที่รู้จักกันดีว่า "แกงเคย"
กรรมวิธีการทำก็ไม่ยุ่งยากเลย เพียงต้มน้ำให้เดือด ใส่กะปิ หอมแดงบุบ น้ำตาลทราย พอเครื่องเดือดทั่วกันก็ใส่ผักเหลียงได้เลยส่วนใหญ่ใส่กันทั้งใบ ไม่เด็ดก้านใบทิ้ง
เพราะก้านทำให้น้ำแกงมีรสหวานพอใส่ผักเหลียงแล้วยกลงได้เลย เคี่ยวนานไปผักจะสลดหมด แกงหม้อนี้ใช้เกลือปรุงรสแทนน้ำปลา แต่อาจเสริมรสชาติความอร่อยด้วยการใส่กุ้งแห้งหรือกุ้ง ใหญ่ลงไปด้วยก็ได้ รสชาติเหมือนแกงเลียง แต่ต่างกันตรงที่เครื่องแกงของแกงเลียงจะนำมาโขลกก่อน แล้วจึงใส่ลงในหม้อแกง แต่แกงผักเหลียงนี้ไม่ต้องนำเครื่องแกงไปโขลก
นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำอาหารจานผัดที่แสนธรรมดา แต่รสชาติไม่ธรรมดาอย่าง "ผักเหลียงผัดไข่" วิธีทำจะว่าไปแล้วก็เหมือนพวกหัวไชโป๊ผัดไข่ มะละกอสับผัดไข่เพียงแต่เราเปลี่ยนเป็นใบเหลียงเท่านั้น รับประทานกันข้าวสวยร้อนๆ ก็อร่อยไปอีกแบบ แม้แต่ห่อหมกของคนใต้ยังนิยมใช้ใบเหลียงมารองก้นกระทง นอกเหนือไปจากใบโหระพา ผักกาดขาว และใบยออีกด้วย
หรือจะนำมาต้มกับกะทิเป็น"ผักเหลียงต้มกะทิ" ก็ได้ หรือง่ายกว่านั่น ก็คือผักเหลียงต้มน้ำปลาวิธีการแสนง่ายดายด้วยการต้มใบเหลียงในน้ำเดือดแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำปลาอย่างดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น รสชาติหวานของผักเหลียงเข้ากับความเค็มอย่างกลมกล่อมของน้ำปลาเข้ากันได้เป็นอย่างดีเชียวค่ะ ถือเป็นอาหารพิเศษสำหรับเด็ก ๆ ที่ไม่ชอบทานผักได้อีกด้วยนะคะผักเหลียงจึงได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งผักพื้นบ้านด้วยคุณประโยชน์หลายประการเช่นนี้เอง
วิธีการขยายพันธุ์ผักเหลียง
เกษตรกรที่คิดจะปลูกผักเหลียงไว้ขายเป็นรายได้เสริมหรือปลูกเพื่อบริโภค เริ่มลงมือปลูกวันนี้เพียง 2 ปี ก็เก็บยอดขายได้ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดไป ขยายพันธุ์ง่ายได้ผลทุกวิธี ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า และไม้ยืนต้นขนาดกลางที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา เป็นพืชที่นิยมบริโภค
เนื่องจากเป็นผักป่าปลอดสารเคมี มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ปัจจุบันมีการขยายปลูกผักเหลียงในสวนผลไม้ สวนยางพารา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น ด้วยเมล็ด ไหลราก กิ่งตอนและปักชำ โดยมีวิธีการดังนี้
1. เมล็ด เมล็ดสุกเปลือกนอกจะมีสีเหลือง เปลือกในแข็งสีน้ำตาล นำเมล็ดแช่น้ำเอาเปลือกนอกออก แล้วนำไปเพาะในกระบะทรายหรือขี้เถ้าแกลบผสมทรายประมาณ4 เดือน เมื่อเมล็ดงอกมีใบ 2-3 คู่ นำลงถุงเพาะชำเลี้ยงไว้ประมาณ 1 ปี จึงลงแปลงปลูก
2. ไหลราก คือ รากแขนงที่อยู่ระดับผิวดินจะแตกเป็นต้นได้ ก็สามารถขุดต้นแล้วนำลงชำถุงเลี้ยงไว้ประมาณ 6 เดือน จึงลงแปลงปลูก
3. กิ่งตอน ควรเลือกกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป คือ กิ่งที่มีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลาตอนประมาณ 2 เดือน เมื่อรากออกสมบูรณ์แล้วนำลงชำถุงอีก 2-3 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก
4. ปักชำ ก็สามารถทำได้แต่ได้ผลค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงไม่นิยมทำกันเพราะต้องใช้ฮอร์โมนเร่งราก ปักชำในตู้ชื้นหรือใช้ระบบพ่นหมอก ซึ่งทำให้แตกรากช้า และมีเปอร์เซ็นต์งอกต่ำ
3. กิ่งตอน ควรเลือกกิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป คือ กิ่งที่มีสีน้ำตาลอ่อน ใช้เวลาตอนประมาณ 2 เดือน เมื่อรากออกสมบูรณ์แล้วนำลงชำถุงอีก 2-3 เดือน จึงนำลงแปลงปลูก
4. ปักชำ ก็สามารถทำได้แต่ได้ผลค่อนข้างต่ำ เกษตรกรจึงไม่นิยมทำกันเพราะต้องใช้ฮอร์โมนเร่งราก ปักชำในตู้ชื้นหรือใช้ระบบพ่นหมอก ซึ่งทำให้แตกรากช้า และมีเปอร์เซ็นต์งอกต่ำ
หวังว่าข้อมูลเล็กน้อยนี้อาจจะทำให้ท่านรัก "ผักเหลียง" ผักพื้นบ้านของชาวใต้มากขึ้นไปอีกนะคะ แต่ข้าพเจ้าเองนอกจากหลงรักแล้ว ยังรู้สึกภาคภูมิใจ
เป็นของแถมด้วยค่ะ อ้อ!... ลืมบอกไปคนชุมพรไม่ค่อยมีใครเรียกเจ้าผักชนิดนี้ว่า"ผักเหลียง" หรอกนะคะ ถ้าจะไปหาซื้อต้องเรียกว่า "ใบเหลียง" ค่ะ
ที่มา http://www.oknation.net/blog/nnnnnn/2008/02/07/entry-1
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001