กล้วยเล็บมือนางอบหลากหลายรสชาติ
กล้วยเล็บมือนางอบน้ำผึ้ง
กล้วย เล็บมือนางเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่เด่นเป็นสำคัญของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ดังคำขวัญประจำจังหวัดว่า ลักษณะเด่นของกล้วยเล็บมือนาง อำเภอหลังสวน ก็คือ ขนาดของผลไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป รสชาติกลิ่นหอม ทำให้เป็นที่นิยมของคนต่างถิ่นจนถึงกับส่งไปจำหน่ายยังต่างจังหวัด โดยเฉพาะขึ้นห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ แต่ในบางครั้งทางร้านที่รับไปขายไม่หมดเจ้าของสวนต้องรับกล้วยที่สุกงอมกลับ คืนมา เกษตรกร จึงนำมาให้ทำเป็นกล้วยอบแห้งเพื่อเป็นการเก็บถนอมอาหารอย่างดี
จัดเตรียมอุปกรณ์
๑. กล้วยเล็บมือนางที่สุกงอม
๒. กระด้งไม้ไผ่สานสำหรับผึ่งกล้วย
- ๓. ตู้อบและเตาไฟ (ถ้าใช้อบด้วยเตาถ่าน)
- ๔. ตะแกรงรองกล้วย
- ๕. น้ำเกลือ
กล้วยเล็บมือนางจัดเรียงเข้าเตาอบ
วิธีทำ
- ๑. นำกล้วยที่สุกงอมแล้วมาปอกเปลือกลอกเส้นใยให้สะอาดแล้วแช่ลงในน้ำเกลือให้ท่วมกล้วย (น้ำ ๒ ลิตร/เกลือ ๑ ช้อน) ประมาณ ๕ นาที
- ๒. ใช้กระชอนช้อนกล้วยขึ้นจากน้ำเกลือเกลี่ยลงในกระด้งผึ่งให้สะเด็ดน้ำประมาณ ๑ ช.ม.
- ๓. น้ำกล้วยที่ผึ่งแห้งแล้วเรียงบนตะแกรงโปร่งนำเข้าเตาอบ ซึ่งการอบจะแบ่งออกเป็น ๒ ช่วง คือ
- - ช่วงแรกใช้ไฟแรงขนาด ๗๐ เซลเซียส อบนาน ๑๒ ช.ม. แล้วนำออกมาพักไว้ ๒ ช.ม.
- -ช่วงที่ ๒ นำกล้วยที่พักจนครบ ๒ ช.ม. แล้วเข้าเตาอบอีกครั้ง ลดอุณหภูมิลงเหลือเพียง ๓๐ เซลเซียส อบนาน ๘ ช.ม.
- ๔. นำกล้วยที่อบครั้งที่ ๒ แล้วออกจากเตาอบมาพักทิ้งไว้ให้เย็นก่อนที่จะบรรจุหีบห่อนำออกจำหน่าย กล้วยที่ทำเสร็จแล้วจะมีสีน้ำตาลเข้ม จับมือเหนียวติดมือคล้ายน้ำตาลเชื่อม รสชาติหวานตามธรรมชาติโดยมิต้องใส่น้ำตาล
กล้วย เล็บมือนางอบแห้งนี้ทำรายได้ให้กับเกษตรกรและแม่บ้านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องทิ้งผลผลิตกล้วยที่เหลือจากการขายสด กล้วยเล็บมือนางอบแห้งนี้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานวัน เหมาะที่จะเป็นของฝากของกำนัลสำหรับคนต่างถิ่นเป็นอย่างยิ่ง
กล้วยเล็บมือนางอบกรอบ
กล้วยเล็บมือนางอบกรอบ
วิธีทำ
1. กล้วยเล็บมือนางดิบขูดผิวออกบางๆ ล้างในน้ำเกลือ นำมาหั่นบางๆทั้งเปลือกที่ขูดผิวแล้ว
2. นำกล้วยที่หั่นแล้วใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น หรือเก็บในภาชนะสูญญากาศ หมักไว้ 1 คืน
3. นำน้ำตาลปิ๊บ เนย เกลือ นมสด คลุกรวมกัน
4. นำกล้วยที่หมักไว้ออกมาแกะไม่ให้ติดกัน 5. นำน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำกล้วยและส่วนผสมข้อ 3 ลงทอดพร้อมกัน คอยคนไปเรื่อยๆจนเหลืองกรอบ ตักออก เกลี่ยให้เย็น เก็บใส่ถุง
2. นำกล้วยที่หั่นแล้วใส่ถุงพลาสติก มัดปากถุงให้แน่น หรือเก็บในภาชนะสูญญากาศ หมักไว้ 1 คืน
3. นำน้ำตาลปิ๊บ เนย เกลือ นมสด คลุกรวมกัน
4. นำกล้วยที่หมักไว้ออกมาแกะไม่ให้ติดกัน 5. นำน้ำมันพืชใส่กระทะตั้งไฟให้ร้อน แล้วนำกล้วยและส่วนผสมข้อ 3 ลงทอดพร้อมกัน คอยคนไปเรื่อยๆจนเหลืองกรอบ ตักออก เกลี่ยให้เย็น เก็บใส่ถุง
กล้วยเล็บมือนางอบกรอบอีกหนึ่งรูปแบบ
วิธีทำ
1.ตั้งกระทะให้ร้อน เติมน้ำมันทั้งหมดลงในกระทะ พอให้ น้ำมันร้อน จึงขูดผิวกล้วยออกบางๆ แล้วฝาน เป็นแผ่น ตาม ความยาวของผล ใส่ลงทอดในน้ำมันทันที หมั่นคนและ พลิกชิ้นกล้วยกลับให้ถูกความร้อนสม่ำเสมอกัน จนกรอบ ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน 2.เทน้ำมันออกจากกระทำให้หมด ใส่น้ำตาล น้ำ และเกลือ ลงในกระทะนั้น ต้มจนน้ำตาลละลาย และเคี่ยวต่ออีกครู่ จนน้ำตาลเหนียวเป็นเส้น (ทดสอบโดยเมื่อใช้ปลายมีดจุ่มลงในน้ำเชื่อม แล้วยกมีดขึ้น น้ำเชื่อมจะยืดตามมีดเป็นเส้น)
3.ใส่กล้วยที่ทอดไว้ ลงในกระทะน้ำเชื่อมทันทีที่ยกลงจากเตา เคล้าเบา ๆ ให้น้ำเชื่อมจับชิ้นกล้วยให้ทั่วถึง
4.พักไว้จนเย็นสนิทและน้ำเชื่อมแห้งสนิทด้วย จึงเก็บใส่ ภาชนะที่ปิดได้สนิท
กล้วยเล็บมือนางฉาบ
จังหวัดชุมพร มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1098 โดยมีฐานะเป็นเมืองสิบสองนักษัตรของนครศรีธรรมราช ใช้รูปแพะเป็นตราเมือง และเป็นเมืองหน้าด่านฝ่ายเหนือเพราะอยู่ตอนบนของภาคใต้ ในพุทธศักราช 1997 รัชสมัยแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงว่าเมืองชุมพร เป็นเมืองตรี อาณาจักรฝ่ายใต้ของกรุงศรีอยุธยา
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นมณฑลชุมพร ต่อมามีการยุบการปกครองระบอบมณฑลเป็นจังหวัด ชุมพรจึงมีฐานะเป็นจังหวัด
คำว่า “ชุมพร” มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ชุมนุมพล” เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่าน การเดินทัพไม่ว่าจะมาจากฝ่ายเหนือหรือว่าฝ่ายใต้ ล้วนเข้ามาตั้งค่ายชุมนุมพลกันที่นี่ จึงเรียกจุดนี้ว่า “ชุมนุมพล” ต่อมาเพี้ยนเป็น “ชุมพร” อีกประการหนึ่งในการเดินทางไปทำศึกสงครามของแม่ทัพนายกองตั้งแต่สมัยโบราณมา เมื่อจะเคลื่อนพลจะต้องทำพิธีส่งทัพโดยการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้ได้รับชัยชนะในการสู้รบเป็นการบำรุงขวัญทหาร ในสถานที่ชุมนุมเพื่อรับพรเช่นนี้ ตรงกับความหมายชุมนุมพร หรือประชุมพร ซึ่งทั้งสองคำนี้อาจเป็นต้นเหตุของคำว่า “ชุมนุมพร” เช่นเดียวกัน
แต่อีกทางหนึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะได้มาจากชื่อพันธุ์ไม้ธรรมชาติในท้องถิ่น ได้แก่ ต้นมะเดื่อชุมพร เพราะที่ตั้งของเมืองชุมพรนั้นอยู่บนฝั่งแม่น้ำท่าตะเภา มีต้นมะเดื่อชุมพรขึ้นอยู่มากมาย ต้นมะเดื่อชุมพรจึงเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของตราประจำจังหวัดชุมพร
ลักษณะภูมิประเทศ :
ภูมิประเทศโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นแนวยาว และแคบไปตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยมีชายฝั่งทะเลยาวถึง 222 กิโลเมตร ความกว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร พื้นที่ประกอบด้วยภูเขาสูงสลับพื้นที่ราบ พื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดเป็นเทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาภูเก็ต ซึ่งเป็นเขตชายแดนไทย-พม่า การที่จังหวัดชุมพรถูกขนาบด้วยภูเขาและทะเล อีกทั้งยังได้รับมรสุมทั้งทางฝั่งทะเลด้านตะวันออก และด้านตะวันตก ทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ป่าไม้ ดีบุก และปะการัง แม่น้ำที่สำคัญๆ ของจังหวัด ได้แก่ แม่น้ำท่าตะเภาและแม่น้ำหลังสวน นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยลำคลองสายสั้นๆ ไหลจากเทือกเขาทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากน้ำชุมพร
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ ป่าไม้ ดีบุก และปะการัง แม่น้ำที่สำคัญๆ ของจังหวัด ได้แก่ แม่น้ำท่าตะเภาและแม่น้ำหลังสวน นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วยลำคลองสายสั้นๆ ไหลจากเทือกเขาทางฝั่งตะวันตกของจังหวัดไหลลงสู่อ่าวไทยบริเวณปากน้ำชุมพร
อาณาเขตและการปกครอง :
จังหวัดชุมพรตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย บนแหลมมลายูบริเวณคอคอดกระ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร และทางรถไฟสายใต้ประมาณ 485 กิโลเมตร มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 36 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ เขตอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
ทิศใต้ เขตอำเภอละแม และอำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก เขตอำเภอปะทิว อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม จดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับจังหวัดระนอง และทิศตะวันตกของอำเภอ ท่าแซะบางส่วนติดต่อกับสหภาพพม่า
จังหวัดชุมพร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอท่าแซะ อำเภอละแม อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 6,009.008 ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ เขตอำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว ติดต่อกับอำเภอบางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์
ทิศใต้ เขตอำเภอละแม และอำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับอำเภอท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันออก เขตอำเภอปะทิว อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวี อำเภอทุ่งตะโก อำเภอหลังสวน และอำเภอละแม จดอ่าวไทย
ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอพะโต๊ะ ติดต่อกับจังหวัดระนอง และทิศตะวันตกของอำเภอ ท่าแซะบางส่วนติดต่อกับสหภาพพม่า
จังหวัดชุมพร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คืออำเภอเมืองชุมพร อำเภอหลังสวน อำเภอสวี อำเภอท่าแซะ อำเภอละแม อำเภอพะโต๊ะ และอำเภอทุ่งตะโก มีพื้นที่การปกครองทั้งสิ้น 6,009.008 ตารางกิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 077) | |
สำนักงานจังหวัด | 511-551 |
ศูนย์ข่าวสารการท่องเที่ยว | 288-818-9 , 281-828 |
สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวชุมพร | 504-441 , 501-633 |
ขนส่งจังหวัดชุมพร | 511-119 , 502-268 |
สถานี บ.ข.ส. จังหวัดชุมพร | 502-725 |
สถานีรถไฟชุมพร | 511-103 |
กองกำกับการตำรวจภูธร | 511-004, 501-039 |
เทศบาลเมืองชุมพร | 511-024 |
ที่ว่าการอำเภอเมืองชุมพร | 511-214 |
รพ.ชุมพร | 511-180 , 503-672-3 |
รพ.หลังสวน | 541-771 |
รพ.สวี | 531-206 , 531-394 |
รพ.ท่าแซะ | 599-026-8 |
รพ.ปะทิว | 591-028 |
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001