ต้นปีนี้ (2554) ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพืชสวน เห็นชอบการ พิจารณามาตรการนำเข้าเมล็ดกาแฟ เพื่อใช้ในประเทศภายใต้ afta ปี 2554 โดยให้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) หรือผู้ประกอบธุรกิจแปรรูปกาแฟ และเป็นนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดเป็นผู้ดำเนินการ…
ทางคณะอนุกรรมการฯมีวัตถุประสงค์หลักก็เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูป เท่านั้น ห้ามจำหน่ายหรือแจกจ่ายเป็นวัตถุดิบในประเทศ โดยผู้มีสิทธินำเข้าต้องรับซื้อผลผลิตกาแฟภายในประเทศช่วงฤดูกาลถัดไปเป็น ปริมาณ 2 เท่า เพื่อเป็น มาตรการช่วยเหลือให้ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ…
เอนก จิตตขจรเกียรติ หรือเฮียหนุ่ย.
กาแฟ…เป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของบ้านเราแม้ว่าจะไม่ใช่พืชหลัก แต่ก็ทำรายได้กระจายให้กับเกษตรกรปีหนึ่งเป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกได้ในหลายพื้นที่ทั้งในพื้นราบและที่สูง
โดยเฉพาะกาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica) ซึ่งปลูกในพื้นที่สูง จังหวัดเชียงราย นายสมชัย หทยะตันติ ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ยกขึ้นมาเป็นนโยบายด้วยการจัดเทศกาล มหัศจรรย์ ดอกกาแฟบานบนดอยฯ ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่เชียงรายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์
ชุมพรเป็นจังหวัดหนึ่งที่ปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้ากันมาอย่างยาวนาน มีพื้นที่การปลูกกาแฟประมาณร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ปลูกกาแฟทั้งประเทศ (ราว 300,000 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 40,000 กว่าตันต่อปี) ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร
การผลิตกาแฟของกลุ่มสหกรณ์ยังไม่ครบวงจรของกระบวนการจาก Farm to Cup จึงต้องส่งผลผลิตจากต้นน้ำเข้าสู่การผลิตให้เข้าถึงผู้บริโภค ช่วงที่เป็นช่องว่างของกระบวนการผลิตนี้ นายเอนก จิตตขจรเกียรติ หรือเฮียหนุ่ย จึงเข้ามาเชื่อมต่อ ประสานให้ครบวงจร
ขั้นตอนการคั่วเมล็ด.
เฮียหนุ่ย เล่าว่า…กิจการกาแฟโบราณได้ฝ่าความจนมา 3 ชั่ว เริ่มจาก คุณปู่ขี่ลิ้ม แซ่จิว เมื่อราวปี 2490 เปิดโรงงานเล็กๆ แถว ซอยจินดาถวิล ถนนสี่พระยา กทม. จากนั้นผ่านมาสู่รุ่น คุณพ่อวรเทพ จิตตขจรเกียรติ รับช่วงกิจการนี้เมื่อปี 2507…
….กระทั่งเมื่อปี 2535 ผมเข้ามาทำเป็นรุ่น 3 จากนั้นกิจการเติบโตเรื่อยมา และจดทะเบียนในรูปแบบบริษัทในชื่อ บริษัทขจรเกียรติกาแฟ จำกัด…แต่ยังคงใช้กรรมวิธีผลิตแบบดั้งเดิม โดยนำผลผลิตเมล็ดกาแฟ สายพันธุ์โรบัสต้า จาก กลุ่มสหกรณ์จังหวัดชุมพร มาเป็นวัตถุดิบประมาณ เดือนละไม่ต่ำกว่า 10 ตัน
ขั้นตอนการผลิตกาแฟ เริ่มจาก นำเมล็ดกาแฟที่ต้องการไปคั่วในเตาอบที่อุณหภูมิอันเหมาะสม ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วเทเมล็ดกาแฟออกจากเครื่องอบกาแฟ ก่อนนำเมล็ดกาแฟที่ผ่านการอบแล้วไปพักไว้ในถังสักพักให้เย็นลงเพื่อรอการ ผสม ต่อมาให้นำกาแฟที่ผ่านการอบแล้วไปบดให้ ละเอียดตามสูตร ซึ่งเป็นสูตรเฉพาะที่กำหนดตามผู้บริโภค (เปิดเผยได้แต่ต้องเข้ามาเรียนรู้ด้วยตนเอง)
จากนั้นให้ นำกาแฟที่บดแล้วมาผสมกับน้ำตาลทรายขาว และนำไปเคี่ยวให้สุกจนเป็นสีดำ ซึ่ง ตรงนี้ถือว่าเป็นจุดสำคัญที่จะต้องใช้น้ำตาลทรายขาวเท่านั้น เพราะหากใช้น้ำตาลทรายแดงในเวลาต่อมาจะมีรสชาติเปรี้ยวเกิดขึ้นได้ แล้วไปผสมกับธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าว, ข้าวกล้อง, ข้าวโพด, ถั่วเหลือง, งา ฯลฯ ตามความต้องการ จุดเด่นอยู่ที่เป็นของดี มีสีดำ ความเข้มข้น รสชาติดี และ ราคาถูก ซึ่งผลิตภัณฑ์จะมีหลายชนิด หลายเกรด รวมแล้วขณะนี้มีถึง 10 สูตร
การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์.
ทิ้งไว้สักพัก ก่อนบรรจุถุง จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่บรรจุแพ็กเกจ ภายใต้แบรนด์ “กาแฟโบราณมังกรบิน” เตรียมส่งจำหน่ายให้แก่ลูกค้า ผลิตภัณฑ์นี้นอกจาก ได้รับการการันตีคุณภาพสินค้า จาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้วยังได้รับมาตรฐาน GMP หรือ (Good Manufacturing Practice) ในการผลิตอาหารโดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็น พิษไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภคอีกด้วย….นับว่าเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย
ผู้สนใจต้องการไปเรียนรู้ขั้นตอนการผลิตหรืออยากซดกาแฟโบราณ ก็ติดต่อไปได้ที่ 94/2 ม.4 ซ.กระทุ่มล้ม 27 ถ.พุทธมณฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220 หรือกริ๊งกร๊างหา เฮียหนุ่ย ได้ที่ 0-2814-1059, 0-2814-1649 เขาพร้อมที่จะถ่ายทอดเป็นวิทยาทาน เพื่อความเจริญรุดหน้าในผลิตภัณฑ์กาแฟโบราณของบ้านเรา…คือฟรี.
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ไชยรัตน์ ส้มฉุน
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001