ว่าไปแล้วผู้คนในบ้านเรานั้นนิยมรับประทานอาหารญี่ปุ่นมา เนิ่นนานหลายสิบปีแล้ว และเชื่อว่ากระแสนี้ก็ยังคงอยู่ต่อไป เห็นได้จากการเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นใหม่ๆ อยู่ตลอด หรือแม้กระทั่งตามตลาดนัดหรือตลาดทั่วๆ ไป แม้กระทั่งหน้าโรงเรียนก็มีการวางขายอาหารญี่ปุ่น “ซูชิ” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสังคมไทย
กุศมัยกรุ๊ป เจ้าของ Dr.Sushi
ฉะนั้น วันนี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีแฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นอยู่หลายเจ้า หนึ่งในนั้นคือแบรนด์ “Dr.Sushi” ของบริษัท กุศมัย เคเทอริ่ง จำกัด ที่มี “คุณเกษมศักดิ์ ป้อมศุวรรณ” นั่งเก้าอี้ซีอีโอเชฟ ด้วยว่าเขาผู้นี้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องอาหารของเมืองปลาดิบเป็นอย่างดี ผ่านการทำงานในภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นมีชื่อ และเคยเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นมาแล้วด้วย
สาเหตุสำคัญที่บริษัทกุศมัยฯ เข้ามาจับธุรกิจอาหารญี่ปุ่น เพราะคลุกคลีอยู่ในวงการนี้อยู่แล้ว และมองว่าอาหารญี่ปุ่นแม้จะเข้ามาในประเทศไทยถึง 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังไปได้ดี อย่างที่คุณเกษมศักดิ์ เล่าว่า “บริษัทผลิตเกี่ยวกับเสื่อไม้ไผ่ ทำไม้จิ้มฟัน ทำตะเกียบอยู่แล้ว โดยส่งออกต่างประเทศทั่วโลกแล้วก็ส่งในประเทศด้วย ต่อมาก็เปิดเป็นบริษัท กุศมัย คิชเช่นแวร์ ขายเครื่องครัว และเปิดบริษัท กุศมัย มอเตอร์ ผลิตรถสามล้อขาย ต่อมา ดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย ประธานกรรมการกุศมัยกรุ๊ป ก็ชักชวนผมมาร่วมงาน เพราะตอนนั้นผมเปิดร้านขายอาหารญี่ปุ่นอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี แต่มีปัญหาเศรษฐกิจขายไม่ดี”
ทั้งนี้ การทำแฟรนไชส์อาหารญี่ปุ่นของ “Dr.Sushi” ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่แล้ว มาจากความคิดของคุณเกษมศักดิ์ที่ว่า อยากทำให้เหมือนเป็นภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นเคลื่อนที่ โดยนำอุปกรณ์ครัวทุกอย่างของญี่ปุ่นมาลงในรถสามล้อไทยและแต่งรถให้สวยงาม สามารถวิ่งไปมาได้ตามจุดขายต่างๆ ถือเป็นจุดเด่นที่ยังไม่มีเจ้าไหนทำ โดยใช้รถสามล้อ “ซูโมต้า” ที่กุศมัยกรุ๊ปเป็นผู้ประกอบรถเอง
เรียกว่าไปจอดรถที่ไหนก็ปั้นซูชิกันต่อหน้าเดี๋ยวนั้นเลย ให้ลูกค้าได้ลิ้มรสกันสดๆ ไม่ใช่ปั้นมาจากบ้านนานหลายชั่วโมงกว่าจะถึงปากลูกค้า และอยากจะเลือกซูชิหน้าไหนแบบไหนก็สั่งได้ตามใจชอบ
สามล้อ ดร.ซูชิ 250,000 บาท
คุณเกษมศักดิ์ ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเข้ามาทำธุรกิจนี้ว่า “คนที่จะมาซื้อแฟรนไชส์ผม คุณสมบัติแรกคือต้องรักการบริการ รักการทำอาหาร ต้องมีใจและต้องอึด ส่วนงบประมาณในการทำดร.ซูชิแบ่งเป็นหลายระดับ สเต็ปแรกออกมาเป็นรถ สเต็ปสองเป็นคีออสตั้งทั่วๆ ไป ราคา 150,000 บาท ซึ่งถ้าเป็นดร.ซูชิติดล้อจะเริ่มต้นที่ 250,000 บาท โดยใช้รถขนาด 200 ซีซี 14.5 แรงม้า ใช้น้ำมัน 20 กิโลเมตร ต่อลิตร โดยออกแบบที่ญี่ปุ่นแต่ผลิตที่ประเทศจีน แล้วมาประกอบในประเทศไทย ซึ่งในราคา 250,000 บาท จะครบเบ็ดเสร็จเลย มีเครื่องครัว มีรถ ฝึกงานให้ ใช้เวลาฝึก 1 เดือนถึง 45 วัน และช่วยเปิดร้านให้ด้วย”
สำหรับการเลือกซื้อแฟรนไชส์ดร.ซูชิแบบรถหรือแบบคีออสนั้น ขึ้นอยู่กับความชอบของลูกค้า เพราะบางคนอาจจะอยากขับรถขายวันละ 2 จุด กลางวันจุดหนึ่ง เย็นจุดหนึ่ง และสามารถไปรับงานข้างนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งหรืองานบวช แต่ถ้าเป็นคีออสจะอยู่กับที่เลย
เตรียมเข็นอาหารญี่ปุ่นอีกหลายตัว
ในการทำแฟรนไชส์ดร.ซูชิ นั้นถือเป็นสินค้าชิ้นแรกของบริษัท ในอนาคตจะมีสินค้าอื่นๆ ตามมาอีก
“ตอนนี้เราทำแต่ซูชิก่อน ยังไม่อยากล่วงเข้าไปที่อาหารครัวร้อน ซึ่งตามแบบชุดแรกที่คำนวณไว้คือชุดเป็นรถดร.ซูชิ รถแบบต่อไปอาจจะเป็นรถราเม็ง ต่อไปก็เป็นรถข้าวหน้าญี่ปุ่น แล้วก็เป็นรถสเต๊ก สินค้าแต่ละอย่างจะเป็นแบรนด์ของตัวเอง เราจะไม่นำสินค้าไปปนกันเพราะจะทำให้งานสับสน ยกตัวอย่างคีออสคันเดียวแค่ซูชิอย่างเดียวเมนูก็เกือบ 20 อย่างแล้ว ถ้าจะดึงราเม็งมาร่วมกับซูชิด้วยจะสับสน”
ยันรสชาติเทียบเท่าภัตตาคาร
พูดถึงซูชิของที่นี่ คุณเกษมศักดิ์ รับประกันว่า รสชาติดีไม่แพ้ภัตตาคาร หรือตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป แต่ราคาย่อมเยากว่ากันเยอะ
“ซูชิของเราจะใกล้เคียงกับที่ขายในภัตตาคารทั่วไป เซ็ตราคา 60 บาททุกเมนู ถ้าเป็นชุดเด็กจะมีข้าวปั้นหน้ากุ้ง ข้าวปั้นหน้าไข่หวาน แล้วก็จะมีแคลิฟอร์เนียมากิ โฟโตมากิ แล้วก็ข้าวห่อสาหร่ายไส้ต่างๆ เซ็ตหนึ่งมี 8-10 คำ เซ็ตหนึ่ง 60 บาท ถือว่าโอเคตกคำละ 10 บาทขึ้นไป และที่ขายราคานี้ได้เพราะเสียค่าเช่าพื้นที่น้อย ถ้าขึ้นห้างคงขายไม่ได้ ผมเป็นเชฟร้านอาหารมา การันตีได้ว่าวัตถุดิบทุกอย่างและความอร่อยไม่แตกต่างกัน คนส่วนใหญ่มักจะติดแบรนด์ แต่สูตรการทำใกล้เคียงกันอาจารย์ก็ใกล้เคียงกัน ทำงานมาด้วยกันถึงเวลาก็ไปแตกสาขา คนหนึ่งไปทำแบรนด์นี้คนนี้ก็ไปทำแบรนด์โน้น”
ในการซื้อแฟรนไชส์ของดร.ซูชินั้น จะต้องสั่งวัตถุดิบของบริษัทที่มีครบหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวญี่ปุ่น น้ำส้ม สาหร่าย รวมถึงวัตถุดิบเกี่ยวกับอาหารญี่ปุ่นทั้งหมด
“ในราคาที่กำหนดไว้นี้ปีแรกฟรี ปีต่อไปเก็บปีละ 12,000 บาท เป็นค่าป้ายอย่างเดียว ซึ่งจะไม่มีรายเดือนเพราะเราเก็บเป็นรายปีตกเดือนละ 1,000 บาท ผมถือว่าโอเค ก็เหมือนเป็นค่าแบรนด์ ขณะที่บางแฟรนไชส์เขาเก็บต่อยอดการขายด้วย อาจจะ 2-3 เปอร์เซ็นต์”
ชี้ทำเลทองขายดี
ทั้งนี้ ก่อนจะซื้อขายแฟรนไชส์กันนั้น ทางบริษัทจะมีการแนะนำลูกค้าก่อนว่าเหมาะที่จะขายในทำเลแบบใด
“คนที่จะทำต้องดูทำเลก่อน ควรจะเป็นแหล่งชุมชนที่มีผู้คนพลุกพล่าน อย่างหน้าหมู่บ้านใหญ่ๆ แหล่งชุมชนใหญ่ๆ ที่เป็นออฟฟิศหรือแหล่งที่มีคนทานอาหารเยอะๆ อีกแหล่งคือตามมหาวิทยาลัย ตอนนี้เราขายอยู่ที่ชุมชนใหญ่บางบอน ตลาดต้นสนหลังตึกสินธร และที่ทาวน์อินทาวน์ พร้อมกันนั้นกำลังเจรจากับเทศกิจในเขตเยาวราชว่าจะขายได้ไหม”
จากประสบการณ์ที่คุณเกษมศักดิ์นำรถสามล้อตระเวนไปขายตามแหล่งใหญ่ๆ ที่ได้ระบุไว้นั้น ปรากฏว่า เฉลี่ยแล้วขายได้วันละ 100 กล่อง คิดเป็นเงิน 6,000 บาท จะได้กำไรประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์
ส่วนการที่ทางบริษัทไปออกบู๊ธตามงานต่างๆ อาทิ งานแฟรนไชส์ ก็ได้รับความสนใจจากลูกค้าจำนวนไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างรอการตัดสินใจในเรื่องทำเล ซึ่งลูกค้าที่มาซื้อแฟรนไชส์ส่วนมากจะไปขายแหล่งออฟฟิศในกรุงเทพฯ แต่ก็มีต่างจังหวัดด้วย อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทจะต้องพิจารณาก่อน เพราะตามนโยบายจะเน้นตลาดในกรุงเทพฯ เป็นหลัก เพราะมองว่ากรุงเทพฯ เป็นตลาดใหญ่ ทุกที่มีกำลังซื้อหมด แต่จะโตในแหล่งชุมชนที่มีขนาดใหญ่ก่อน ซึ่งอาจต้องใช้เวลาเป็นปีสองปีก็ว่ากันไป ถ้าจะก้าวกระโดดก็คงจะยากหน่อย”
ตั้งเป้าขยาย 10 จุดภายในปีนี้
ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าว่าภายในกลางปีนี้จะทำให้ได้ 5 จุด พอสิ้นปีน่าจะเป็น 10 จุด คือจะใช้รูปแบบตลาดจุดละ 1 ที่ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นว่าถ้าขายอยู่แหล่งนี้คนที่จะซื้อจะต้องขายอย่างไร
พร้อมกันนั้น คุณเกษมศักดิ์ ย้ำนักย้ำหนาว่า ของทุกอย่างเป็นของญี่ปุ่นหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าวญี่ปุ่น น้ำส้มญี่ปุ่น วาซาบิสด สาเหตุที่ทำได้ก็เพราะบริษัทผลิตพวกนี้อยู่แล้ว
นอกจากนี้ ในการขายแฟรนไชส์ ลูกค้าบางคนตั้งคำถามว่าทำไมถึงต้องใช้เวลาในการเรียนรู้การทำซูชินาน 3-5 วัน ซึ่งคุณเกษมศักดิ์ ก็ต้องอธิบายความจำเป็นว่า เรียนวันเดียวไม่สามารถทำเป็นได้ทันที การเรียน 3-5 วันเพราะต้องไปฝึกงานในจุดที่บริษัทไปตั้งจุดขายด้วย เพื่อที่จะได้รู้ว่าหน้างานที่จะขายให้ลูกค้าเป็นอย่างไร และในเวลาที่ลูกค้ามาสั่งครั้งละ 3-5 กล่อง จะต้องวางแผนการทำงานอย่างไร จะคุยกับลูกค้าอย่างไร ต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ด้วย ไม่ใช่ว่าเรียนรู้วิธีทำแล้วจะขายได้เลย
ในฐานะที่เป็นเชฟอาหารญี่ปุ่น เขาบอกว่า “การทำซูชิไม่ยาก ขอให้เราตั้งใจและอดทนนิดหนึ่ง คนที่ทำเป็นคนที่ชำนาญทำง่ายแป๊บๆ เสร็จ แต่คนที่ยังไม่เคยทำแล้วมาทำตอนแรกดูเหมือนง่ายแต่ทำไปแล้ว...เอ๊ะทำไมมัน ยากจังเลย ดังนั้น ต้องเข้าใจว่าระยะเวลาที่เริ่มเรียนและฝึกงานคือการทำงานครั้งแรก อาจจะช้านิดหนึ่งแต่หลังจากที่ผ่านไปเดือนหรือสองเดือนจะง่ายขึ้น”
อาหารญี่ปุ่นอนาคตสดใส
ถามย้ำอีกครั้งถึงตลาดอาหารญี่ปุ่นแบบซูชิ ซีอีโอเชฟของกุศมัยฯ มองว่า “ผมคิดว่าตลาดอาหารญี่ปุ่นยังไปได้ กลุ่มผู้บริโภคก็ยังมีอยู่เพียงแต่ว่าการนำเสนอต่อผู้บริโภคจะทำอย่างไรเท่า นั้นเอง เมื่อก่อนที่ผ่านมา 2-3 ปีก็มีคนนำเสนอเป็นตลาดล่าง แต่ตลาดล่างคือคนที่ไม่ได้มีโอกาสเข้าห้าง พอไปตลาดเห็นก็ซื้อทาน แต่คนที่อยู่ในตลาดบนคือคนที่อยู่ในภัตตาคารอยู่ในห้างต่างๆ เขาก็เข้าห้างไปเลย ผมเองจับช่องว่างระหว่างบนกับล่างมาอยู่ตรงกลาง โดยคนที่อยู่ระดับล่างสามารถที่จะทานเหมือนคนที่อยู่ตลาดบนได้ ส่วนคนที่ภัตตาคารสามารถลงมาทานที่ตลาดล่างได้”
ฟังอย่างนี้แล้ว เชื่อว่าบางคนคงอยากจะมาขายซูชิแบบนี้บ้าง ซึ่งถ้าสนใจในแบรนด์ของดร.ซูชิ คุณเกษมศักดิ์ แนะนำว่า มาพูดคุยกับทางบริษัทได้ที่ โทรศัพท์ (02) 899-7882, (083) 145-7288, (02) 416-5615 อี-เมล info@kusamai.com หรือเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.kusamai.com ซึ่งทางบริษัทเองกำลังเจรจากับบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อให้ปล่อยกู้สำหรับคนที่ศักยภาพผ่อนใช้
หลังสัมภาษณ์เสร็จสรรพก็ทดลองชิมดู ยอมรับว่าเงิน 60 บาทที่ซื้อไปคุ้มค่าทีเดียว เพราะรสชาติอร่อยอย่างที่เชฟเกษมศักดิ์คุยไว้จริงๆ...เสียดายอยากจะกลับไป รับประทานอีกครั้ง แต่เผอิญถิ่นที่อยู่หรือแม้กระทั่งที่ทำงานไม่ได้อยู่ในแหล่งที่มีแฟรนไช ส์ดร.ซูชิขายสักแห่ง สงสัยต้องรอจนกว่าทางบริษัทกุศมัยฯ จะทำแบบดีลิเวอรี่กระมัง
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001