"ตอนนี้ที่มีส่งให้เป็นญี่ปุ่นและ อังกฤษ ญี่ปุ่นเป็นต้นคิดออกแบบและผลิตเครื่องให้ มีข้อผูกพันที่ต้องผลิตส่งให้กับญี่ปุ่นในทุก 4 เดือน จำนวนส่ง 700-800 กิโลกรัม ต่อครั้ง ส่วนอังกฤษเป็นช่องทางที่ลูกชายไปเรียนและมีกลุ่มเพื่อนที่รู้จักนำไป จำหน่าย จึงยังเป็นจำนวนไม่มากนัก รวมถึงในประเทศไทยที่ยังวางจำหน่ายไม่แพร่หลายเท่าที่ควร มีมากในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และร้านเลมอนฟาร์ม ในกรุงเทพฯ เท่านั้น"
อาหารสร้างอาชีพสุทธิทัต
สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขายดีต่อยอด เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป (OTOP) มีให้เห็นเป็นจำนวนหลักหมื่นต่อภูมิภาคของประเทศ ซึ่งหลังตราแบรนด์เป็นสินค้าโอท็อปแล้ว ขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ในการพัฒนายกระดับสินค้าให้ครองใจ จนกลายเป็นสินค้าท็อปฮิตติดลมบน นอกเหนือจากตราแบรนด์โอท็อปที่ได้รับมาก่อนหน้า
ส่วนใหญ่ของดีของขึ้นชื่อจะได้รับการพัฒนายกระดับมาจากทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นๆ และหวังต่อยอดให้เป็นเสมือนหนึ่งอาชีพของชุมชน แต่ทั้งหมดก็ด้วยความสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดให้สินค้าขายตัวเองได้หรือไม่ เช่น ตาลโตนด เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นของดีเมืองเพชรบุรี เพราะเป็นพืชที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีมากที่สุดของประเทศไทย ทั้งยังเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์นับจากรากถึงยอด โดยเฉพาะ "น้ำตาลโตนด" กลายเป็นน้ำตาลโตนดที่รสชาติดีที่สุดของประเทศ แม้ว่าจะมีผลิตในจังหวัดอื่นบ้างก็ตาม
ความหวานหอมอันเลื่องชื่อของน้ำตาลโตนด ปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแปรรูป ออกแบบโลโก้ แพ็กเกจ และชื่อผลิตภัณฑ์ วางจำหน่ายเป็นน้ำตาลโตนดผง บรรจุในรูปของซองขนาดเล็ก ฉีกง่าย สำหรับปรุงรสชาติเครื่องดื่มร้อนโดยเฉพาะ "เส้นทางเศรษฐี" ขออาสาพาไปดูความสำเร็จของน้ำตาลโตนดของดีเมืองเพชรบุรี
รักษาฐานอาชีพ
สร้างผลิตภัณฑ์รองรับ
"ตอน นี้ที่มีส่งให้เป็นญี่ปุ่นและอังกฤษ ญี่ปุ่นเป็นต้นคิดออกแบบและผลิตเครื่องให้ มีข้อผูกพันที่ต้องผลิตส่งให้กับญี่ปุ่นในทุก 4 เดือน จำนวนส่ง 700-800 กิโลกรัม ต่อครั้ง ส่วนอังกฤษเป็นช่องทางที่ลูกชายไปเรียนและมีกลุ่มเพื่อนที่รู้จักนำไป จำหน่าย จึงยังเป็นจำนวนไม่มากนัก รวมถึงในประเทศไทยที่ยังวางจำหน่ายไม่แพร่หลายเท่าที่ควร มีมากในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และร้านเลมอนฟาร์ม ในกรุงเทพฯ เท่านั้น"
ข้อความข้างต้นเป็นคำให้สัมภาษณ์ของ คุณบุญสม นุชนิยม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี และอีกตำแหน่งคือแม่ของลูกและภรรยาที่ดีของครอบครัว "ยี่สาร"
คุณบุญสม แม้จะมีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นถึงประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ก็ไม่ได้ทำให้มุมมองในแง่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเลือนไป เพราะคุณบุญสมถือเป็นตัวตั้งตัวตีและเป็นหลักในการยกระดับน้ำตาลโตนดเป็นของ พรีเมี่ยม เทียบเท่าน้ำตาลชั้นดีชนิดบรรจุซองบนชั้นกาแฟ แม้ฟังดูอาจไม่แปลกเพราะน้ำตาลก็สามารถบรรจุซองสำหรับปรุงเครื่องดื่มร้อน ได้เช่นกัน เพียงแต่ที่ผ่านมาหากคิดคำนวณให้ดีจะทราบว่า น้ำตาลบรรจุซองล้วนเป็นน้ำตาลทรายที่ไม่ได้เริ่มต้นวัตถุดิบมาจาก "ตาลโตนด"
ทั้งปัจจุบันยังบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นซองกันความชื้นอย่าง ดี มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้ชื่ออย่างเป็นทางการ วางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ "เสน่ห์เมืองเพชร"
คุณบุญสม เล่าย้อนที่มาที่ไปก่อนเติบใหญ่เป็นแบรนด์ว่า ด้วยพื้นฐานอาชีพดั้งเดิมของประชากรจังหวัดเพชรบุรี คือ ทำน้ำตาลโตนด เมื่อวันเวลาเปลี่ยนทำให้การสานต่อด้านอาชีพที่ต้องใช้กำลังกายในการขึ้นตาล เริ่มหดหาย เนื่องจากความเสี่ยงต่อชีวิต หากพลาดพลั้งนั่นหมายถึงโอกาสพิการหรือเสียชีวิต เพราะต้นตาลแต่ละต้นมีความสูงประมาณ 40 เมตร หรือแม้กระทั่งการทำคล้ายนั่งร้านพาดไปยังตาลแต่ละต้นตามแนวคิดของคนรุ่น ใหม่ก็นับเป็นความเสี่ยงที่ไม่ต่างกัน
แต่หากยังคงอาชีพทำน้ำตาลโตนดอยู่ ผลผลิตที่ได้สามารถนำรายได้เป็นกอบเป็นกำได้เช่นกัน เนื่องจากตาลเพียง 3 ต้น สามารถนำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาลโตนดได้ 2 ครั้ง หรือน้ำตาลโตนด 7-10 กิโลกรัม ขึ้นกับฤดูการให้ผลผลิต
ความคิดของคุณบุญสม พุ่งประเด็นไปที่การรักษาอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นไว้ในฐานะของคนเมือง เพชรบุรี แต่อีกนัยหนึ่ง คือ มุมมองของการพัฒนา "น้ำตาลโตนด" ให้ออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
รับซื้อราคาสูงกว่าตลาด
มุ่งแปรรูป "น้ำตาลผง"
นับ ถอยหลังไปก่อนหน้านี้ไม่นานนัก คุณบุญสม ยอมรับว่าเป็นความยากในความพยายามทำให้เกษตรกรที่มีอาชีพทำน้ำตาลโตนดมีราย ได้เทียบเท่ากับเกษตรกรผู้ปลูกพืชชนิดอื่น เพราะการส่งเสริมให้คงไว้ในอาชีพการทำน้ำตาลโตนดโดยการขึ้นตาลเองไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในมุมของการรับซื้อผลิตผลเป็นสิ่งที่ต้องขบคิด
ภาพของการเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทำให้ถูกตั้งคำถามจากพ่อเมืองเพชรบุรีขณะนั้นว่า จะทำอย่างไรให้น้ำตาลโตนดขายดีเหมือนน้ำตาลทราย ทั้งยังแนะด้วยว่าควรทำให้น้ำตาลโตนดเป็นที่ต้องการจากตลาดในรูปของน้ำตาลผง สำหรับชง เพื่อเป็นช่องทางกระจายสินค้า แต่ด้วยมุมมองของพื้นฐานคนเพชรบุรีเดิม ทำให้คุณบุญสมมองว่า น้ำตาลโตนดไม่เหมาะแปรรูปเป็นน้ำตาลผง เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำตาลโตนดหากถูกลมหรือความชื้นเพียงนิดเดียวจะละลาย
"จังหวะ นั้นมีรายการโทรทัศน์พูดถึงอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำน้ำตาลจากต้นจาก ยิ่งเมื่อรู้ว่าการทำน้ำตาลไม่แค่น้ำตาลปี๊บแต่เป็นน้ำตาลผง จึงพยายามติดต่อนายอำเภอในพื้นที่ และขอไปดูขั้นตอนการลงมือทำจริง"
คุณ บุญสม บอกว่า ขั้นตอนการทำเหมือนการเคี่ยวตาล จึงขอให้เจ้าของพื้นที่เคี่ยวน้ำตาลโตนดที่นำไปด้วยให้เกิดผง กลับได้รับการปฏิเสธ แต่ด้วยความสามารถในการเจรจาต่อรองจึงทำให้การไปในครั้งนั้นได้ประสบการณ์ อย่างมากเหลือ
"เมื่อลงมือทำเอง นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวหลังจากปุดน้ำตาลละเอียดหายหมด ดิฉันยกเทลงกระบะ ก่อนใช้พายไม้คนกระทั่งขึ้นเกล็ด หลังแห้งรีบนำใส่ถุง คนที่ได้ชิมพูดเป็นคำเดียวกันว่า อร่อย หอมและหวาน ทั้งสียังออกเป็นสีทองอร่ามสวย"
นับเป็นครั้งแรกที่คุณบุญสมลงมือเคี่ยวน้ำตาลโตนดและได้ผลผลิตออกมา เป็นน้ำตาลผงอย่างที่เคยได้รับคำแนะนำ ทำให้เริ่มมองเห็นอนาคตของน้ำตาลโตนดผงที่อยู่ในมือ จึงเปิดรับซื้อน้ำตาลโตนดแท้จากชาวบ้านด้วยราคากิโลกรัมละ 60-65 บาท หรือในราคารับซื้อที่มากกว่าราคาท้องตลาด 20 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน
"เสน่ห์เมืองเพชร"
ส่งญี่ปุ่น-อังกฤษ
หลัง ประสบความสำเร็จในการเคี่ยวน้ำตาลโตนดผง คุณบุญสมใช้ประสบการณ์เท่าที่มีทั้งหมดในการเคี่ยว เมื่อได้น้ำตาลโตนดผงจึงเก็บไว้บ้าง แจกจ่ายให้กับแขกของจังหวัดบ้าง และท้ายที่สุดได้มีโอกาสถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในนามของจังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งระหว่างนั้นมีการพัฒนาเรื่องของการออกแบบแพ็กเกจ โลโก้ และชื่อสินค้า โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด เพราะเป็นสินค้าที่เชิดหน้าชูตาให้กับจังหวัดเป็นอย่างดี รวมทั้งการจดอนุสิทธิบัตรน้ำตาลโตนดผงแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจดทะเบียนเป็นประเภท อนุสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิต ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
คุณบุญสม เล่าว่า เริ่มก้าวเข้าสู่รูปแบบของอุตสาหกรรมหลังจากตัดสินใจซื้อเครื่องผลิตน้ำตาล โตนดผง ซึ่งทราบจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งว่า มีเครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผงอยู่ในอำเภอท่ายาง จึงตามไปพบและทราบว่า เครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวญี่ปุ่นที่นำเครื่องนี้มอบให้ กับคนไทยรายหนึ่ง สำหรับใช้ในการผลิตน้ำตาลโตนดผง โดยมีข้อผูกพันว่าน้ำตาลโตนดผงที่ผลิตได้ทั้งหมดต้องส่งให้กับญี่ปุ่นเพียง รายเดียว
"เจ้าของเดิมที่เป็นคนไทยดูแลการผลิตเสียชีวิตไปก่อนหน้าที่ดิฉันพบ เครื่อง จึงตัดสินใจซื้อเครื่องด้วยราคา 1,500,000 บาท และติดต่อกับเจ้าของเครื่องชาวญี่ปุ่นเพื่อผลิตน้ำตาลโตนดผงส่งให้เช่นเดียว กับชาวไทยคนแรก คนญี่ปุ่นต้นตอของเครื่องผลิต บอกกับดิฉันว่า ชาวญี่ปุ่นรับประทานน้ำตาลโตนดผงมานานกว่า 3 ปีแล้ว และติดใจในรสชาติ ความหอม หวาน จึงคิดค้นเครื่องผลิตและขอให้คนไทยผลิตส่งให้ โดยรับซื้อปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 700-800 กิโลกรัม"
คุณบุญสม ระบุด้วยว่า เครื่องดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่น ไม่มีจำหน่ายที่ใดในโลก จึงไม่กลัวการลอกเลียนแบบทำน้ำตาลโตนดผง ซึ่งผลผลิตที่ได้จากเครื่องจะได้น้ำตาลโตนดผง 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเครื่องไม่รับน้ำตาลปลอม หากนำน้ำตาลอื่นปนไประหว่างการผลิตจะทำให้เครื่องเกิดปัญหา
หลังมีชื่อสินค้า โลโก้ และแพ็กเกจเป็นของตนเอง คุณบุญสมเริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทย โดยให้วางจำหน่ายยังร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนของจังหวัดเพชรบุรี เพียง 4-5 ร้าน และร้านเลมอนฟาร์มในกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว โดยจำนวนการผลิตหลักจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะ
สำหรับกำลังการผลิต คุณบุญสม ระบุว่า สามารถผลิตได้ 20 กิโลกรัม ต่อครั้ง ใน 1 วัน จะเดินเครื่อง 5-6 ครั้งแล้วแต่ออร์เดอร์ ซึ่งในอนาคตอยู่ระหว่างการขนส่งเครื่องที่มีกำลังผลิตมากขึ้นจากญี่ปุ่น โดยเครื่องดังกล่าวจะสามารถผลิตได้ครั้งละ 150 กิโลกรัม ต่อครั้ง ดังนั้น เมื่อสามารถผลิตได้สินค้าคราวละจำนวนมาก การสต๊อควัตถุดิบ คือ น้ำตาลโตนด จึงเป็นส่วนสำคัญ
ฤดูที่น้ำตาลโตนดมีมากคือระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ส่วนเดือนอื่นๆ เป็นปริมาณน้ำตาลที่มีน้อย หรือไม่มีเลย ทำให้คุณบุญสมจำต้องนำวัตถุดิบที่ได้มากในช่วงฤดูของผลผลิตเข้าห้องเย็นเช่า ซึ่งอยู่ในละแวกบ้าน
"กำไร" ตัวเลขของการประกอบธุรกิจ คุณบุญสมไม่ปฏิเสธว่า คนทำธุรกิจไม่มีใครไม่หวังรวย เธอเองก็เช่นกันหวังว่าสักวันหนึ่งจะรวย แต่ด้วยอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ประกอบอยู่ขณะนี้ อยู่ในระดับเริ่มต้น อีกทั้งจำต้องเปิดตลาดใหม่ให้กับสินค้า ราคาสินค้าที่วางจำหน่ายจึงทำให้เธอได้กำไรเพียงกล่องละ 4 บาท
ในท้ายที่สุด คุณบุญสมยังหวังว่า "เสน่ห์เมืองเพชร" ในรูปของน้ำตาลโตนดผง จะได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างดี เพราะเป็นการผลิตโดยวัตถุดิบดั้งเดิมในท้องถิ่นของประเทศ ดังนั้น หากมีผู้สนใจนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มยอดการผลิตให้กับสินค้าภายในประเทศ สามารถติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ (081) 984-8946 หรือ (032) 414-128 คุณบุญสม ยินดีต้อนรับ
ข้อมูลจำเพาะ
กิจการ รับซื้อน้ำตาลโตนด ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลโตนดผง
ชื่อกิจการ เสน่ห์เมืองเพชร
ลักษณะกิจการ เจ้าของคนเดียว
เจ้าของกิจการ คุณบุญสม นุชนิยม
เงินลงทุน หลักล้านบาท
วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ น้ำตาลโตนดแท้ เครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผง
รูปแบบการขาย จำหน่ายส่ง
แหล่งซื้อวัตถุดิบ รับซื้อจากเกษตรกรปลูกตาลในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
สินค้า น้ำตาลโตนดผง
จุดเด่นของสินค้า หอม หวาน สีสวย
รายจ่ายซื้อวัตถุดิบ ขึ้นกับการรับซื้อวัตถุดิบ โดยให้ราคารับซื้อสูงกว่าราคาตลาด 20 บาท
พนักงาน 8 คน
ยอดขาย ประมาณ 3-4 ตัน ต่อปี
สถานที่ตั้ง เลขที่ 210/8-10 หมู่ 1 ถนนใหญ่ ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
โทรศัพท์ (081) 984-8946 และ (032) 414-128
........................................................
ตาล เป็นพรรณไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล (Genus) Borassus ในวงศ์ (Family) Palmae เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1-1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1-2 เมตร ขอบทางของก้านทั้ง 2 ข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็งและคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาล แต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็งหลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้ายกัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่งโตวัดผ่ากลางประมาณ 2 เซนติเมตร และมีกาบแข็งหุ้มแต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้นๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมัน หุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1-3 เมล็ด
............................................................
จังหวัดเพชรบุรี มีต้นตาลมากที่สุดในประเทศไทย ดังปรากฏหลักฐานจาก "นิราศเมืองเพชร" ของ สุนทรภู่ ความตอนหนึ่งว่า "ทุกประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล" ด้วยเหตุนี้ ต้นตาลจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีคู่กับเขาวัง หรือพระนครคีรี ปรากฏเป็นตราและธงประจำจังหวัดเพชรบุรี สืบมาจนถึงทุกวันนี้
ต้นตาลเมือง เพชร ให้ผลผลิตน้ำตาลโตนดที่ดีที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณตราบจนถึงปัจจุบัน จึงมีชื่อเสียงติดปากคนทั่วไปว่า "น้ำตาลเพชรบุรี" เพราะมีรสหวานหอมอร่อย มีรสชาติกลมกล่อมชวนรับประทาน จนเป็นที่มาของคำว่า "หวานเหมือนน้ำตาลเมืองเพชร" ดังนั้น ต้นตาลจึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี โดยทั่วไปชาวชนบท ชาวนาจะปลูกข้าวและทำตาลควบคู่กันไป ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกต้นตาลไว้บริเวณคันนา ในตัวเมืองเพชรบุรี ก็ปรากฏว่ามีการปลูกต้นตาลเช่นกัน บริเวณที่มีต้นตาลมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ท้องทุ่งตำบลหนองไม้เหลือง ตำบลโตนดหลาย ตำบลไร่ส้ม ตำบลโรงเข้ เป็นต้น และทุกท้องที่ในเขตอำเภอบ้านลาด เมื่อมองผ่านต้นตาล จะมองไม่เห็นท้องฟ้าอีกด้านหนึ่ง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการทำนา 2 ครั้ง เป็นผลให้ต้นตาลปรับสภาพไม่ทัน เพราะพื้นที่มีน้ำมากเกินไป กลายเป็นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ต้นตาลไม่ได้พักตัวที่เรียกว่า "แต่งตัว" ในที่สุดก็ต้องยืนต้นตายภายในเวลาไม่นานนัก เพราะระบบนิเวศเปลี่ยนจากเดิม ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
..................................................
ต้นตาลในจังหวัดเพชรบุรี แบ่งออกได้เป็น 2 พันธุ์ ดังนี้1. ตาลบ้าน มีจำนวนเต้าตาลในแต่ละผล 1-4 เต้า แบ่งสายพันธุ์ย่อยได้อีก 3 พันธุ์ คือ
1.1 ตาลหม้อ มีผลขนาดใหญ่ ผิวดำคล้ำ
1.2 ตาลไข่ มีผลสีขาวเหลือง ผลขนาดเล็กกว่า แต่เต้าตาลใหญ่ขนาดใกล้เคียงกับตาลหม้อ (มีเนื้อหุ้มเต้าตาลบาง)
1.3 ตาลจาก มีผลในทะลายแน่นคล้ายทะลายจาก
2. ตาลป่า มีผลเล็กขนาดตาลไข่ มีผลเขียวคล้ำ มีเต้า 1-2 เต้า ลำต้นสีเขียวสด ก้านใบยาว (บางคนเรียกว่า ตาลก้านยาว) พบแถบเขาแด่น อำเภอบ้านลาด และในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตาลป่ายังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมักขึ้นอยู่ในป่า
ประโยชน์ของต้นตาล ต้นตาลเป็นต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี ที่แข็งแรงยืนยง สามารถทนแล้ง ทนฝน และกระแสลมร้อนหนาวตามสภาพดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก นอกจากต้นตาลจะให้ประโยชน์ในการทำน้ำตาลโตนดแล้ว ส่วนต่างๆ ของต้นตาลยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อีก
credit : http://www.matichon.co.th/
อาหารสร้างอาชีพสุทธิทัต
สินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขายดีต่อยอด เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือโอท็อป (OTOP) มีให้เห็นเป็นจำนวนหลักหมื่นต่อภูมิภาคของประเทศ ซึ่งหลังตราแบรนด์เป็นสินค้าโอท็อปแล้ว ขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ในการพัฒนายกระดับสินค้าให้ครองใจ จนกลายเป็นสินค้าท็อปฮิตติดลมบน นอกเหนือจากตราแบรนด์โอท็อปที่ได้รับมาก่อนหน้า
ส่วนใหญ่ของดีของขึ้นชื่อจะได้รับการพัฒนายกระดับมาจากทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นๆ และหวังต่อยอดให้เป็นเสมือนหนึ่งอาชีพของชุมชน แต่ทั้งหมดก็ด้วยความสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดให้สินค้าขายตัวเองได้หรือไม่ เช่น ตาลโตนด เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นของดีเมืองเพชรบุรี เพราะเป็นพืชที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีมากที่สุดของประเทศไทย ทั้งยังเป็นพืชที่ให้คุณประโยชน์นับจากรากถึงยอด โดยเฉพาะ "น้ำตาลโตนด" กลายเป็นน้ำตาลโตนดที่รสชาติดีที่สุดของประเทศ แม้ว่าจะมีผลิตในจังหวัดอื่นบ้างก็ตาม
ความหวานหอมอันเลื่องชื่อของน้ำตาลโตนด ปัจจุบัน ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแปรรูป ออกแบบโลโก้ แพ็กเกจ และชื่อผลิตภัณฑ์ วางจำหน่ายเป็นน้ำตาลโตนดผง บรรจุในรูปของซองขนาดเล็ก ฉีกง่าย สำหรับปรุงรสชาติเครื่องดื่มร้อนโดยเฉพาะ "เส้นทางเศรษฐี" ขออาสาพาไปดูความสำเร็จของน้ำตาลโตนดของดีเมืองเพชรบุรี
รักษาฐานอาชีพ
สร้างผลิตภัณฑ์รองรับ
"ตอน นี้ที่มีส่งให้เป็นญี่ปุ่นและอังกฤษ ญี่ปุ่นเป็นต้นคิดออกแบบและผลิตเครื่องให้ มีข้อผูกพันที่ต้องผลิตส่งให้กับญี่ปุ่นในทุก 4 เดือน จำนวนส่ง 700-800 กิโลกรัม ต่อครั้ง ส่วนอังกฤษเป็นช่องทางที่ลูกชายไปเรียนและมีกลุ่มเพื่อนที่รู้จักนำไป จำหน่าย จึงยังเป็นจำนวนไม่มากนัก รวมถึงในประเทศไทยที่ยังวางจำหน่ายไม่แพร่หลายเท่าที่ควร มีมากในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และร้านเลมอนฟาร์ม ในกรุงเทพฯ เท่านั้น"
ข้อความข้างต้นเป็นคำให้สัมภาษณ์ของ คุณบุญสม นุชนิยม ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบุรี และอีกตำแหน่งคือแม่ของลูกและภรรยาที่ดีของครอบครัว "ยี่สาร"
คุณบุญสม แม้จะมีตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นถึงประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ก็ไม่ได้ทำให้มุมมองในแง่ของภูมิปัญญาท้องถิ่นจะเลือนไป เพราะคุณบุญสมถือเป็นตัวตั้งตัวตีและเป็นหลักในการยกระดับน้ำตาลโตนดเป็นของ พรีเมี่ยม เทียบเท่าน้ำตาลชั้นดีชนิดบรรจุซองบนชั้นกาแฟ แม้ฟังดูอาจไม่แปลกเพราะน้ำตาลก็สามารถบรรจุซองสำหรับปรุงเครื่องดื่มร้อน ได้เช่นกัน เพียงแต่ที่ผ่านมาหากคิดคำนวณให้ดีจะทราบว่า น้ำตาลบรรจุซองล้วนเป็นน้ำตาลทรายที่ไม่ได้เริ่มต้นวัตถุดิบมาจาก "ตาลโตนด"
ทั้งปัจจุบันยังบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบเป็นซองกันความชื้นอย่าง ดี มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้ชื่ออย่างเป็นทางการ วางจำหน่ายภายใต้แบรนด์ "เสน่ห์เมืองเพชร"
คุณบุญสม เล่าย้อนที่มาที่ไปก่อนเติบใหญ่เป็นแบรนด์ว่า ด้วยพื้นฐานอาชีพดั้งเดิมของประชากรจังหวัดเพชรบุรี คือ ทำน้ำตาลโตนด เมื่อวันเวลาเปลี่ยนทำให้การสานต่อด้านอาชีพที่ต้องใช้กำลังกายในการขึ้นตาล เริ่มหดหาย เนื่องจากความเสี่ยงต่อชีวิต หากพลาดพลั้งนั่นหมายถึงโอกาสพิการหรือเสียชีวิต เพราะต้นตาลแต่ละต้นมีความสูงประมาณ 40 เมตร หรือแม้กระทั่งการทำคล้ายนั่งร้านพาดไปยังตาลแต่ละต้นตามแนวคิดของคนรุ่น ใหม่ก็นับเป็นความเสี่ยงที่ไม่ต่างกัน
แต่หากยังคงอาชีพทำน้ำตาลโตนดอยู่ ผลผลิตที่ได้สามารถนำรายได้เป็นกอบเป็นกำได้เช่นกัน เนื่องจากตาลเพียง 3 ต้น สามารถนำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาลโตนดได้ 2 ครั้ง หรือน้ำตาลโตนด 7-10 กิโลกรัม ขึ้นกับฤดูการให้ผลผลิต
ความคิดของคุณบุญสม พุ่งประเด็นไปที่การรักษาอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นไว้ในฐานะของคนเมือง เพชรบุรี แต่อีกนัยหนึ่ง คือ มุมมองของการพัฒนา "น้ำตาลโตนด" ให้ออกมาในรูปของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ
รับซื้อราคาสูงกว่าตลาด
มุ่งแปรรูป "น้ำตาลผง"
นับ ถอยหลังไปก่อนหน้านี้ไม่นานนัก คุณบุญสม ยอมรับว่าเป็นความยากในความพยายามทำให้เกษตรกรที่มีอาชีพทำน้ำตาลโตนดมีราย ได้เทียบเท่ากับเกษตรกรผู้ปลูกพืชชนิดอื่น เพราะการส่งเสริมให้คงไว้ในอาชีพการทำน้ำตาลโตนดโดยการขึ้นตาลเองไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในมุมของการรับซื้อผลิตผลเป็นสิ่งที่ต้องขบคิด
ภาพของการเป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ทำให้ถูกตั้งคำถามจากพ่อเมืองเพชรบุรีขณะนั้นว่า จะทำอย่างไรให้น้ำตาลโตนดขายดีเหมือนน้ำตาลทราย ทั้งยังแนะด้วยว่าควรทำให้น้ำตาลโตนดเป็นที่ต้องการจากตลาดในรูปของน้ำตาลผง สำหรับชง เพื่อเป็นช่องทางกระจายสินค้า แต่ด้วยมุมมองของพื้นฐานคนเพชรบุรีเดิม ทำให้คุณบุญสมมองว่า น้ำตาลโตนดไม่เหมาะแปรรูปเป็นน้ำตาลผง เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำตาลโตนดหากถูกลมหรือความชื้นเพียงนิดเดียวจะละลาย
"จังหวะ นั้นมีรายการโทรทัศน์พูดถึงอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำน้ำตาลจากต้นจาก ยิ่งเมื่อรู้ว่าการทำน้ำตาลไม่แค่น้ำตาลปี๊บแต่เป็นน้ำตาลผง จึงพยายามติดต่อนายอำเภอในพื้นที่ และขอไปดูขั้นตอนการลงมือทำจริง"
คุณ บุญสม บอกว่า ขั้นตอนการทำเหมือนการเคี่ยวตาล จึงขอให้เจ้าของพื้นที่เคี่ยวน้ำตาลโตนดที่นำไปด้วยให้เกิดผง กลับได้รับการปฏิเสธ แต่ด้วยความสามารถในการเจรจาต่อรองจึงทำให้การไปในครั้งนั้นได้ประสบการณ์ อย่างมากเหลือ
"เมื่อลงมือทำเอง นำน้ำตาลโตนดไปเคี่ยวหลังจากปุดน้ำตาลละเอียดหายหมด ดิฉันยกเทลงกระบะ ก่อนใช้พายไม้คนกระทั่งขึ้นเกล็ด หลังแห้งรีบนำใส่ถุง คนที่ได้ชิมพูดเป็นคำเดียวกันว่า อร่อย หอมและหวาน ทั้งสียังออกเป็นสีทองอร่ามสวย"
นับเป็นครั้งแรกที่คุณบุญสมลงมือเคี่ยวน้ำตาลโตนดและได้ผลผลิตออกมา เป็นน้ำตาลผงอย่างที่เคยได้รับคำแนะนำ ทำให้เริ่มมองเห็นอนาคตของน้ำตาลโตนดผงที่อยู่ในมือ จึงเปิดรับซื้อน้ำตาลโตนดแท้จากชาวบ้านด้วยราคากิโลกรัมละ 60-65 บาท หรือในราคารับซื้อที่มากกว่าราคาท้องตลาด 20 บาท โดยไม่จำกัดจำนวน
"เสน่ห์เมืองเพชร"
ส่งญี่ปุ่น-อังกฤษ
หลัง ประสบความสำเร็จในการเคี่ยวน้ำตาลโตนดผง คุณบุญสมใช้ประสบการณ์เท่าที่มีทั้งหมดในการเคี่ยว เมื่อได้น้ำตาลโตนดผงจึงเก็บไว้บ้าง แจกจ่ายให้กับแขกของจังหวัดบ้าง และท้ายที่สุดได้มีโอกาสถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในนามของจังหวัดเพชรบุรี อีกทั้งระหว่างนั้นมีการพัฒนาเรื่องของการออกแบบแพ็กเกจ โลโก้ และชื่อสินค้า โดยได้รับการสนับสนุนจากจังหวัด เพราะเป็นสินค้าที่เชิดหน้าชูตาให้กับจังหวัดเป็นอย่างดี รวมทั้งการจดอนุสิทธิบัตรน้ำตาลโตนดผงแท้ 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจดทะเบียนเป็นประเภท อนุสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิต ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
คุณบุญสม เล่าว่า เริ่มก้าวเข้าสู่รูปแบบของอุตสาหกรรมหลังจากตัดสินใจซื้อเครื่องผลิตน้ำตาล โตนดผง ซึ่งทราบจากการบอกเล่าของชายคนหนึ่งว่า มีเครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผงอยู่ในอำเภอท่ายาง จึงตามไปพบและทราบว่า เครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวญี่ปุ่นที่นำเครื่องนี้มอบให้ กับคนไทยรายหนึ่ง สำหรับใช้ในการผลิตน้ำตาลโตนดผง โดยมีข้อผูกพันว่าน้ำตาลโตนดผงที่ผลิตได้ทั้งหมดต้องส่งให้กับญี่ปุ่นเพียง รายเดียว
"เจ้าของเดิมที่เป็นคนไทยดูแลการผลิตเสียชีวิตไปก่อนหน้าที่ดิฉันพบ เครื่อง จึงตัดสินใจซื้อเครื่องด้วยราคา 1,500,000 บาท และติดต่อกับเจ้าของเครื่องชาวญี่ปุ่นเพื่อผลิตน้ำตาลโตนดผงส่งให้เช่นเดียว กับชาวไทยคนแรก คนญี่ปุ่นต้นตอของเครื่องผลิต บอกกับดิฉันว่า ชาวญี่ปุ่นรับประทานน้ำตาลโตนดผงมานานกว่า 3 ปีแล้ว และติดใจในรสชาติ ความหอม หวาน จึงคิดค้นเครื่องผลิตและขอให้คนไทยผลิตส่งให้ โดยรับซื้อปีละ 3 ครั้ง ครั้งละ 700-800 กิโลกรัม"
คุณบุญสม ระบุด้วยว่า เครื่องดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของญี่ปุ่น ไม่มีจำหน่ายที่ใดในโลก จึงไม่กลัวการลอกเลียนแบบทำน้ำตาลโตนดผง ซึ่งผลผลิตที่ได้จากเครื่องจะได้น้ำตาลโตนดผง 100 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเครื่องไม่รับน้ำตาลปลอม หากนำน้ำตาลอื่นปนไประหว่างการผลิตจะทำให้เครื่องเกิดปัญหา
หลังมีชื่อสินค้า โลโก้ และแพ็กเกจเป็นของตนเอง คุณบุญสมเริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทย โดยให้วางจำหน่ายยังร้านค้าในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนของจังหวัดเพชรบุรี เพียง 4-5 ร้าน และร้านเลมอนฟาร์มในกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว โดยจำนวนการผลิตหลักจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะ
สำหรับกำลังการผลิต คุณบุญสม ระบุว่า สามารถผลิตได้ 20 กิโลกรัม ต่อครั้ง ใน 1 วัน จะเดินเครื่อง 5-6 ครั้งแล้วแต่ออร์เดอร์ ซึ่งในอนาคตอยู่ระหว่างการขนส่งเครื่องที่มีกำลังผลิตมากขึ้นจากญี่ปุ่น โดยเครื่องดังกล่าวจะสามารถผลิตได้ครั้งละ 150 กิโลกรัม ต่อครั้ง ดังนั้น เมื่อสามารถผลิตได้สินค้าคราวละจำนวนมาก การสต๊อควัตถุดิบ คือ น้ำตาลโตนด จึงเป็นส่วนสำคัญ
ฤดูที่น้ำตาลโตนดมีมากคือระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ส่วนเดือนอื่นๆ เป็นปริมาณน้ำตาลที่มีน้อย หรือไม่มีเลย ทำให้คุณบุญสมจำต้องนำวัตถุดิบที่ได้มากในช่วงฤดูของผลผลิตเข้าห้องเย็นเช่า ซึ่งอยู่ในละแวกบ้าน
"กำไร" ตัวเลขของการประกอบธุรกิจ คุณบุญสมไม่ปฏิเสธว่า คนทำธุรกิจไม่มีใครไม่หวังรวย เธอเองก็เช่นกันหวังว่าสักวันหนึ่งจะรวย แต่ด้วยอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ประกอบอยู่ขณะนี้ อยู่ในระดับเริ่มต้น อีกทั้งจำต้องเปิดตลาดใหม่ให้กับสินค้า ราคาสินค้าที่วางจำหน่ายจึงทำให้เธอได้กำไรเพียงกล่องละ 4 บาท
ในท้ายที่สุด คุณบุญสมยังหวังว่า "เสน่ห์เมืองเพชร" ในรูปของน้ำตาลโตนดผง จะได้รับการตอบรับจากสังคมอย่างดี เพราะเป็นการผลิตโดยวัตถุดิบดั้งเดิมในท้องถิ่นของประเทศ ดังนั้น หากมีผู้สนใจนำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มยอดการผลิตให้กับสินค้าภายในประเทศ สามารถติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ (081) 984-8946 หรือ (032) 414-128 คุณบุญสม ยินดีต้อนรับ
ข้อมูลจำเพาะ
กิจการ รับซื้อน้ำตาลโตนด ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลโตนดผง
ชื่อกิจการ เสน่ห์เมืองเพชร
ลักษณะกิจการ เจ้าของคนเดียว
เจ้าของกิจการ คุณบุญสม นุชนิยม
เงินลงทุน หลักล้านบาท
วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ น้ำตาลโตนดแท้ เครื่องผลิตน้ำตาลโตนดผง
รูปแบบการขาย จำหน่ายส่ง
แหล่งซื้อวัตถุดิบ รับซื้อจากเกษตรกรปลูกตาลในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี
สินค้า น้ำตาลโตนดผง
จุดเด่นของสินค้า หอม หวาน สีสวย
รายจ่ายซื้อวัตถุดิบ ขึ้นกับการรับซื้อวัตถุดิบ โดยให้ราคารับซื้อสูงกว่าราคาตลาด 20 บาท
พนักงาน 8 คน
ยอดขาย ประมาณ 3-4 ตัน ต่อปี
สถานที่ตั้ง เลขที่ 210/8-10 หมู่ 1 ถนนใหญ่ ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
โทรศัพท์ (081) 984-8946 และ (032) 414-128
........................................................
ตาล เป็นพรรณไม้พวกปาล์มขนาดใหญ่ สกุล (Genus) Borassus ในวงศ์ (Family) Palmae เป็นปาล์มที่แข็งแรงมากชนิดหนึ่ง และเป็นปาล์มที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น ต้นสูงถึง 40 เมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำแข็งมาก แต่ไส้กลางลำต้นอ่อน บริเวณโคนต้นจะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่ ใบเหมือนพัดขนาดใหญ่ กว้าง 1-1.5 เมตร มีก้านเป็นทางยาว 1-2 เมตร ขอบทางของก้านทั้ง 2 ข้าง มีหนามเหมือนฟันเลื่อยสีดำแข็งและคมมาก โคนก้านแยกออกจากกันคล้ายคีมเหล็กโอบหุ้มลำต้นไว้ ช่อดอกเพศผู้ใหญ่ รวมกันเป็นกลุ่มคล้ายนิ้วมือ เราเรียกว่านิ้วตาล แต่ละนิ้วยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และโตวัดผ่ากลางประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร โคนกลุ่มช่อจะมีก้าน ช่อรวมและมีกาบแข็งหลายกาบหุ้มโคนก้านช่ออีกทีหนึ่ง ช่อดอกเพศเมียก็คล้ายกัน แต่นิ้วจะเป็นปุ่มปม ปุ่มปมคือดอกที่ติดนิ้วตาล ดอกหนึ่งโตวัดผ่ากลางประมาณ 2 เซนติเมตร และมีกาบแข็งหุ้มแต่ละดอก กาบนี้จะเติบโตไปเป็นหัวจุกลูกตาลอีกทีหนึ่ง ผลกลมหรือรูปทรงกระบอกสั้นๆ โตวัดผ่ากลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผลเป็นเส้นใยแข็งเป็นมัน มักมีสีเหลืองแกมดำคล้ำเป็นมัน หุ้มห่อเนื้อเยื่อสีเหลืองไว้ภายใน ผลหนึ่งๆ จะมีเมล็ดใหญ่แข็ง 1-3 เมล็ด
............................................................
จังหวัดเพชรบุรี มีต้นตาลมากที่สุดในประเทศไทย ดังปรากฏหลักฐานจาก "นิราศเมืองเพชร" ของ สุนทรภู่ ความตอนหนึ่งว่า "ทุกประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล" ด้วยเหตุนี้ ต้นตาลจึงกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีคู่กับเขาวัง หรือพระนครคีรี ปรากฏเป็นตราและธงประจำจังหวัดเพชรบุรี สืบมาจนถึงทุกวันนี้
ต้นตาลเมือง เพชร ให้ผลผลิตน้ำตาลโตนดที่ดีที่สุดมาตั้งแต่สมัยโบราณตราบจนถึงปัจจุบัน จึงมีชื่อเสียงติดปากคนทั่วไปว่า "น้ำตาลเพชรบุรี" เพราะมีรสหวานหอมอร่อย มีรสชาติกลมกล่อมชวนรับประทาน จนเป็นที่มาของคำว่า "หวานเหมือนน้ำตาลเมืองเพชร" ดังนั้น ต้นตาลจึงนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดเพชรบุรี โดยทั่วไปชาวชนบท ชาวนาจะปลูกข้าวและทำตาลควบคู่กันไป ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกต้นตาลไว้บริเวณคันนา ในตัวเมืองเพชรบุรี ก็ปรากฏว่ามีการปลูกต้นตาลเช่นกัน บริเวณที่มีต้นตาลมากที่สุดของจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ ท้องทุ่งตำบลหนองไม้เหลือง ตำบลโตนดหลาย ตำบลไร่ส้ม ตำบลโรงเข้ เป็นต้น และทุกท้องที่ในเขตอำเภอบ้านลาด เมื่อมองผ่านต้นตาล จะมองไม่เห็นท้องฟ้าอีกด้านหนึ่ง แต่ปัจจุบันเนื่องจากมีการทำนา 2 ครั้ง เป็นผลให้ต้นตาลปรับสภาพไม่ทัน เพราะพื้นที่มีน้ำมากเกินไป กลายเป็นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ต้นตาลไม่ได้พักตัวที่เรียกว่า "แต่งตัว" ในที่สุดก็ต้องยืนต้นตายภายในเวลาไม่นานนัก เพราะระบบนิเวศเปลี่ยนจากเดิม ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ
..................................................
ต้นตาลในจังหวัดเพชรบุรี แบ่งออกได้เป็น 2 พันธุ์ ดังนี้1. ตาลบ้าน มีจำนวนเต้าตาลในแต่ละผล 1-4 เต้า แบ่งสายพันธุ์ย่อยได้อีก 3 พันธุ์ คือ
1.1 ตาลหม้อ มีผลขนาดใหญ่ ผิวดำคล้ำ
1.2 ตาลไข่ มีผลสีขาวเหลือง ผลขนาดเล็กกว่า แต่เต้าตาลใหญ่ขนาดใกล้เคียงกับตาลหม้อ (มีเนื้อหุ้มเต้าตาลบาง)
1.3 ตาลจาก มีผลในทะลายแน่นคล้ายทะลายจาก
2. ตาลป่า มีผลเล็กขนาดตาลไข่ มีผลเขียวคล้ำ มีเต้า 1-2 เต้า ลำต้นสีเขียวสด ก้านใบยาว (บางคนเรียกว่า ตาลก้านยาว) พบแถบเขาแด่น อำเภอบ้านลาด และในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตาลป่ายังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก เพราะมักขึ้นอยู่ในป่า
ประโยชน์ของต้นตาล ต้นตาลเป็นต้นไม้คู่บ้านคู่เมืองเพชรบุรี ที่แข็งแรงยืนยง สามารถทนแล้ง ทนฝน และกระแสลมร้อนหนาวตามสภาพดินฟ้าอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องบำรุงรักษามากนัก นอกจากต้นตาลจะให้ประโยชน์ในการทำน้ำตาลโตนดแล้ว ส่วนต่างๆ ของต้นตาลยังมีประโยชน์ในด้านต่างๆ อีก
credit : http://www.matichon.co.th/
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001