“เมื่อร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์เริ่ม แพร่หลายเข้ามาในจังหวัดนครสวรรค์ มีร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์หลายรายเปิดรอการขาย หวังชิงตลาดหมูกระทะที่มีอยู่ ด้วยประสบการณ์ในร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ที่ขอนแก่นหลายปีก่อน ทำให้คุณธีระพงศ์ทราบดีว่า ของแปลกใหม่ย่อมเป็นของที่ดึงดูดใจลูกค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าประจำที่เคยมีสูญเสียไป เขาจึงปรับกลยุทธ์ด้วยการเปิดร้านหมูกระทะเพิ่มอีกสาขา แต่ครั้งนี้เลือกเปิดในรูปแบบของบุฟเฟ่ต์”
“ความยากของการทำบุฟเฟ่ต์ คือ การควบคุมต้นทุน ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการภายในร้าน เช่น การซื้อของควรซื้อจำนวนมาก เป็นล็อตหรือน้ำหนักเป็นตัน เพื่อให้ได้ราคาต้นทุนที่ถูกลง”
หากลองเปิดเว็บไซต์กูเกิ้ลเพื่อค้นหาคำว่า “แชมป์หมูกะทะ นครสวรรค์” พบว่า มีมากถึง 8,900 รายการ จัดว่าเป็นคำค้นที่ได้รับความนิยมไม่น้อย
หมูกระทะ เป็นอาหารรับประทานนอกบ้านที่ผู้รับประทานมีเป้าหมายในปริมาณมากกว่าคุณภาพ ของอาหาร แต่ในยุคที่ความหลากหลายของหมูกระทะมากขึ้น รสชาติจึงเป็นแรงจูงใจหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าเข้าร้าน ยิ่งเมื่อการเติบโตที่พุ่งพรวดของร้านหมูกระทะมากขึ้นชนิดทะยานไม่หยุด ทำให้หลายรายจำต้องปิดตัวลง เพราะแข่งขันด้านราคาไม่ไหว
แต่ขณะที่ แชมป์หมูกะทะ มีมากถึง 8 สาขาทั่วประเทศ นับจากขอนแก่น 2 สาขาอุบลราชธานี 1 สาขา อุดรธานี 2 สาขา กำแพงเพชร 1 สาขา และ นครสวรรค์ 2 สาขา
หอบเงินตั้งหลัก
หมูกระทะชุด นำร่อง
นักบริหารหนุ่มที่มีความรู้ไม่สูงนัก แต่สามารถบริหารจัดการร้านขนาดใหญ่ที่รองรับคนได้มากถึง 900 คน ต่อวัน ทั้งยังยืนหยัดต้านคู่แข่งสินค้าในไลน์เดียวกันมานานถึง 9 ปี ชนิดไม่พลาดพลั้ง ถือเป็นบุคคลที่น่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างยิ่ง
เจ้าของร้านแชมป์หมูกะทะ จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีอยู่ 2 สาขา แห่งแรกเป็นร้านหมูกระทะตามสั่ง ที่มีเพียงรายเดียวของจังหวัด และอีกสาขาเป็นร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ที่มีคู่แข่งใกล้ตัวถึง 4 ราย เปิดโอกาสให้ “เส้นทางเศรษฐี” เก็บประสบการณ์มาถ่ายทอด
คุณธีระพงศ์ เมธานิธิกุล เผยอย่างหมดเปลือกถึงที่มาที่ไปของหมูกระทะ อันเป็นที่นิยมเปิดบริการในรูปแบบของบุฟเฟ่ต์อย่างหลากหลายว่า แรกเริ่มเดิมทีมีต้นกำเนิดในภาคอีสานในแบบฉบับของ “เจง กิส ข่าน” ราว 30 ปีก่อน แล้วพลิกผันมาเรียกให้เข้ากับยุคสมัยเป็น “หมูย่างเกาหลี” ก่อนมาสิ้นสุดที่ “หมูกระทะ”
คุณธีระพงศ์เอง เป็นหนึ่งในญาติพี่น้องที่มีประสบการณ์การเปิดร้านหมูกระทะในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมก่อนมาตั้งรกรากที่จังหวัดนครสวรรค์ แต่ในขณะนั้น คุณธีระพงศ์ไม่ได้ทำหน้าที่เจ้าของร้าน แต่ทำงานด้านบริการและอื่นๆ ที่สามารถจัดการได้
จำนวนเงินกว่า 200,000 บาท เป็นเงินตั้งตัว คุณธีระพงศ์ใช้สำหรับเช่าพื้นที่และได้ร้านเล็กๆ ขนาดที่นั่งเพียง 20 โต๊ะ เขาเลือกจำหน่ายแบบหมูกระทะตามสั่ง หรือเป็นชุด แทนบุฟเฟ่ต์
ลูกค้าติด ขยายโต๊ะ-สาขา
เปิดเพิ่มบุฟเฟ่ต์ต้านคู่แข่ง
ในยุคนั้นพนักงานเริ่มแรกมีเพียง 3-4 คน มีคุณธีระพงศ์เป็นหัวหอกนำทีม ตั้งแต่การจ่ายตลาดในตอนเช้า การจัดร้าน การหมักเครื่องปรุง การรับออร์เดอร์ การเสิร์ฟ กระทั่งเก็บเงิน
เพียง 1 ปี หลังการเปิดร้าน การตอบรับเพิ่มเท่าตัว ทำให้คุณธีระพงศ์ต้องขยายพื้นที่ให้บริการ จาก 20 โต๊ะ เป็น 50 โต๊ะในที่สุด
เมื่อร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์เริ่มแพร่หลายเข้ามาในจังหวัดนครสวรรค์ มีร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์หลายรายเปิดรอการขาย หวังชิงตลาดหมูกระทะที่มีอยู่ ด้วยประสบการณ์ในร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ที่ขอนแก่นหลายปีก่อน ทำให้คุณธีระพงศ์ทราบดีว่า ของแปลกใหม่ย่อมเป็นของที่ดึงดูดใจลูกค้า ซึ่งอาจทำให้ลูกค้าประจำที่เคยมีสูญเสียไป เขาจึงปรับกลยุทธ์ด้วยการเปิดร้านหมูกระทะเพิ่มอีกสาขา แต่ครั้งนี้เลือกเปิดในรูปแบบของบุฟเฟ่ต์
ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบตามสั่ง หรือบุฟเฟ่ต์ ร้านหมูกระทะของคุณธีระพงศ์ก็ได้รับการตอบรับอย่างดี
“ส่วนหนึ่งเป็นเพราะรสชาติที่ลูกค้าติดใจในเครื่องปรุง ความสด สะอาด นอกจากนั้น เข้าใจว่าลูกค้าติดผม เพราะผมลงทำหน้าที่เองในทุกๆ อย่าง พูดคุยกับลูกค้า เป็นกันเอง และอาจเป็นเพราะลูกค้ามองว่าผมเป็นคนรุ่นใหม่ หรือคนหนุ่มที่ทำงานเอง ใส่ใจในทุกขั้นตอน”
เมื่อถามถึงทำเลเพื่อเป็นมุมมองของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ คุณธีระพงศ์ บอกว่า เรื่องทำเลสำหรับเขาใช้ความรู้สึกวัด เพราะมีตัวอย่างให้เห็นก่อนหน้า ร้านอาหารบางแห่งที่ไม่มีที่จอดรถแต่มีคนเข้าร้านเยอะมาก หรือตัวเองที่ทำเลแรกเปิดร้านบริเวณหัวโค้ง หลายคนมองว่าไม่น่าจะอยู่รอด แต่กลับกลายเป็นร้านหมูกระทะที่ขายดีที่สุดร้านหนึ่งของจังหวัด
บริหารจัดการสำคัญ
คุณภาพวัตถุดิบต้องเยี่ยม
คุณธีระพงศ์ ให้เกร็ดความรู้ในการบริหารจัดการร้านรูปแบบบุฟเฟ่ต์ว่า ความยากของการทำบุฟเฟ่ต์ คือ การควบคุมต้นทุน ซึ่งเกิดจากการบริหารจัดการภายในร้าน เช่น การซื้อของควรซื้อจำนวนมาก เป็นล็อตหรือน้ำหนักเป็นตัน เพื่อให้ได้ราคาต้นทุนที่ถูกลง
ปัจจัยที่ทำให้คุณธีระพงศ์ เลือกเปิด 2 สาขาคนละรูปแบบ เนื่องจากมองว่า ร้านหมูกระทะเป็นชุดหรือตามสั่ง สามารถรองรับลูกค้าระดับพรีเมี่ยมหลังกระแสบุฟเฟ่ต์เบาลง ส่วนร้านหมูกระทะแบบบุฟเฟ่ต์ที่ยังคงต้องมี เพราะเป็นแรงต้านคู่แข่งไม่ให้โตไปกว่านี้ การดึงลูกค้าและเพิ่มแรงต้านร้านหมูกระทะรายอื่นด้วยการเปิดร้านใหม่จึงเป็น สิ่งจำเป็น
แบบฉบับการทำงานของคุณธีระพงศ์ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ รวมถึงคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ แม้ว่าราคาขายต่อหัวจะอยู่ที่ 89 บาท แต่คุณภาพวัตถุดิบจะต้องใหม่สดสะอาดเสมอ และไม่เพิ่มวัตถุดิบให้หลากหลายมากเกินไป เพราะอาจทำให้ได้วัตถุดิบที่ไม่คงคุณภาพ
ตัวอย่างการเลือกซื้อหมู คุณธีระพงศ์ บอกว่า เขาเลือกซื้อเนื้อหมูส่วนสันนอก สามชั้นสไลซ์ จากแผงหมูในตลาดสดมากกว่าซื้อในห้างค้าปลีก เพราะเนื้อหมูจะหวาน และในการหมักหมูต้องเครื่องปรุงเข้าถึงเนื้อหมู จึงจำเป็นต้องหมักทิ้งไว้ให้ได้ตามเวลาเสมอ
ความพิเศษที่แชมป์หมูกระทะมี คือ การเพิ่มบริการส่งถึงที่ หรือดีลิเวอรี่ ทั้งออร์เดอร์แจ่วฮ้อน และหมูกระทะ ซึ่งนับเป็นรายแรกของจังหวัดนครสวรรค์ที่เริ่มให้บริการรูปแบบนี้
ทั้ง 2 สาขาของร้าน “แชมป์หมูกะทะ” ตั้งอยู่ไม่ห่างกันนัก แต่ที่เห็นเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณสามแยกพิษณุโลก เป็นร้านในรูปแบบชุดและตามสั่ง ส่วนอีกสาขาตั้งอยู่ในซอยย่งอัน ริมหนองสมบูรณ์ ไปไม่ถูกสอบถามทางได้ที่ โทรศัพท์ (056) 313-293 และ (056) 313-238
.......................................................
ไอศกรีมกะทิ สูตรศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน หนึ่งในสถาบันอบรม มติชน อคาเดมี
หนึ่งในของหวานที่ขาดไม่ได้ในแต่ละวันของการขายบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ ร้านแชมป์หมูกะทะ ของคุณธีระพงศ์ เมธานิธิกุล คือ ไอศกรีมกะทิสด
ทุกวันไอศกรีมกะทิสดจะถูกผลิตด้วยสูตรและฝีมือของคุณธีระพงศ์เอง และผลิตในปริมาณมากเพื่อเป็นสต๊อควันต่อวัน และในทุกวันไอศกรีมกะทิสดจำนวน 40-50 กิโลกรัม จะไม่เคยเหลือค้างข้ามวัน
ความพิเศษของไอศกรีมกะทิสด คุณธีระพงศ์ บอกว่า มีความเข้มข้นของวัตถุดิบสูง เป็นเนื้อกะทิล้วนๆ ใช้ถังสเตนเลสแช่ฟรีซในตู้ให้แข็ง ก่อนยกเสิร์ฟถึงร้านบุฟเฟ่ต์หมูกระทะทุกวัน
ก่อนหน้าราว 5 ปีเศษ คุณธีระพงศ์อาศัยผู้ผลิตไอศกรีมส่งรายวันในจังหวัดนครสวรรค์ ต่อเมื่อทบทวนการบริหารจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิตแล้ว พบว่า หากผลิตไอศกรีมเองจะช่วยลดต้นทุนได้มาก และพบช่องทางการอบรมทำไอศกรีมกะทิสด และไอศกรีมฝรั่ง จากศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน
เป็นการตัดสินใจที่ไม่ผิดพลาด เพราะเพียงไม่กี่วันหลังเข้ารับการอบรม คุณธีระพงศ์ซื้ออุปกรณ์การทำไอศกรีมเป็นของตนเอง และลงมือทำ ก่อนปรับสูตรให้เข้ากับคนในพื้นที่ที่ไม่นิยมรับประทานหวานจัด
จากเดิมต้นทุนเฉพาะไอศกรีมกะทิสดที่ต้องจ่ายวันละ 2,500-3,000 บาท เหลือเพียง 1 ใน 3 ของจำนวนเงินที่ต้องจ่าย นับเป็นการบริหารจัดการต้นทุนที่คุ้มค่ามากด้านหนึ่ง
ความอร่อยของเนื้อไอศกรีมอาจการันตีเป็นตัวหนังสือได้ไม่ชัดเจน สนใจชิมสามารถสั่งไปรับประทานที่บ้านได้ มีแพ็กขายเป็นกล่อง กล่องละ 500 กรัม ติดต่อได้ที่ ร้านแชมป์หมูกะทะ
ข้อมูลจำเพาะ
กิจการ ร้านหมูกระทะชุด และบุฟเฟ่ต์หมูกระทะ
ชื่อกิจการ แชมป์หมูกะทะ
ลักษณะกิจการ เจ้าของคนเดียว
เจ้าของกิจการ คุณธีระพงศ์ เมธานิธิกุล
เงินลงทุน หลักแสนบาท
วัตถุดิบ เนื้อสัตว์ ผัก ของหวาน ผลไม้
รูปแบบการขาย บุฟเฟ่ต์
แหล่งซื้อวัตถุดิบ ตลาดสด
เมนูเรียกลูกค้า หมูหมัก เนื้อหมัก ไก่หมัก ลูกชิ้น อาหารทะเล หอยแครงลวก ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ข้าวผัด สลัดบาร์ ขนมจีน ยำผักบุ้งทอดกรอบ ผลไม้ตามฤดูกาล ไอศกรีมกะทิสด เฉาก๊วย น้ำแข็งไส
ราคาขายต่อหัว 89 บาท
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน เกือบล้านบาท
พนักงาน 60 คน
กลุ่มลูกค้า คนในท้องถิ่น นักเรียน นักศึกษา
สถานที่ตั้ง สาขา 1 (เป็นชุด-ตามสั่ง) สามแยกพิษณุโลก เลขที่ 30/17 หมู่ 10
ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
สาขา 2 (บุฟเฟ่ต์) ริมหนองสมบูรณ์ เลขที่ 112/367 ซอยย่งอัน
ถนนดาวดึงส์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โทรศัพท์ (056) 313-293 และ (056) 313-238
credit : http://www.matichon.co.th/
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001