สูตรขนม สูตรอาหาร อาชีพรายได้เสริม ประกาศฟรี โฆษณาฟรี หลักสูตรความรู้ด้านอาหาร ‘ชาวสตูล’ นำร่องเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Drop Down MenusCSS Drop Down MenuPure CSS Dropdown Menu

หลักสูตรความรู้ด้านอาหาร ‘ชาวสตูล’ นำร่องเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน



ร้านเนยหอมออนไลท์ ขายปลีก-ส่ง
สั่งได้ทาง Inbox ...
Inbox : inbox : http://m.me/noeyhorm
รีวิวขนมอื่น ๆของร้านเนยหอม : inbox : http://bit.ly/31l6PBf

หลักสูตรความรู้ด้านอาหาร ‘ชาวสตูล’ นำร่องเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน









การที่เราจะสร้างชุมชนให้เข้มแข็งนั้นต้องพัฒนาจากรากฐานของ ชุมชนนั้น ๆ ให้สามารถเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ดังเช่น “โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน” ของวิทยาลัยชุมชน ซึ่งถือเป็นโครงการนำร่องที่มีการจัดทำหลักสูตรเพื่อพัฒนาชุมชนด้วยการลง พื้นที่ศึกษาข้อมูลและภูมิปัญญาจากชาวบ้านจนสามารถพัฒนามาเป็นหลักสูตรที่ ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้ชาวบ้านในชุมชน นอกจากจะอยู่กินอย่างสุขสบายแล้วยังมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะ มาท่องเที่ยวในชุมชนสร้างรายได้เลี้ยงชุมชนอีกด้วย

ทั้งนี้ รศ.ดร.ชวนี ทองโรจน์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้ความรู้ถึงภาพรวมของโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ชุมชนว่า การศึกษาชุมชนเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะทราบว่าชุมชนใดมีความเข้มแข็งตรงไหน และส่วนที่ชุมชนต้องการเสริมหรือพัฒนาคืออะไร การที่ทางวิทยาลัยชุมชนลงไปศึกษาวิจัยข้อมูลและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีในชุมชน แล้วนำมาใช้วิธีการจัดการความรู้เข้าไปช่วยจะทำให้ประมวลได้ว่าจริง ๆ แล้วควรจะทำหลักสูตรออกมาเรื่องอะไรบ้างหรือว่ารูปแบบไหนบ้างเพื่อสนองความ ต้องการของชุมชนนั้น ๆ

การจัดการศึกษาแบบวิทยาลัยชุมชนไม่ใช่ว่าทำหลักสูตรขึ้นมาแล้วใช้แบบนั้นไป เหมือนกันหมดทั่วประเทศ แต่หลักสูตรนั้นจะเหมาะกับชุมชนนั้น ๆ แล้วชาวบ้านสามารถนำไปใช้ได้จริง ในขณะเดียวกันบางหลักสูตรอาจจะเป็นเรื่องของนโยบายระดับประเทศว่ายุทธศาสตร์ ของประเทศจะไปทางไหน ความต้องการมีอะไรบ้าง เช่น เราจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุในอนาคตต้องมีเรื่องของการจัดการการดูแลที่ถูก ต้องเหมาะสมเพื่อทำให้คุณภาพของผู้สูงอายุนั้นดีต่อไป อาจจะมีหลักสูตรของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ

โครงการนี้ทำต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 3 และจะทำต่อเนื่องไปในปีถัดไปด้วย เบื้องต้นได้ข้อมูลมาแล้วระดับหนึ่งเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าส่วนที่จะเป็นความ เข้มแข็งเป็นองค์ความรู้แต่ละพื้นที่ที่ไปศึกษามามีอะไรบ้าง ซึ่งมีประมาณ 6 สาขา ได้แก่1. การจัดการความรู้ด้านเกษตร 2. การจัดการความรู้เพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการความรู้เพื่อสืบสานวัฒนธรรม 3. การจัดการความรู้เรื่องผ้าพื้นเมือง 4. การจัดการความรู้ด้านอาหาร5. การจัดการความรู้เพื่อดูแลผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ด้อยโอกาส และ 6. การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำเป็นลักษณะของหลักสูตรฐานสมรรถนะ เพื่อจัดการเรียนการสอนในลักษณะนั้น

วิทยาลัยชุมชนสตูล เป็นหนึ่งในวิทยาลัยชุมชนจากทั้งหมด 20 วิทยาลัยชุมชนที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการจัดการความรู้ด้านอาหาร ปัจจุบันสภาพพื้นที่ของจังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากร วัตถุดิบทั้งทางบกและทางนํ้า รวมทั้งพืชผัก ประกอบกับด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมทางด้านอาหารค่อนข้างเด่นชัด แต่ปัญหาคือ ณ วันนี้พวกวัฒนธรรมเหล่านั้นแทบจะไม่มีคนมาสืบสานต่อยอด

นำชัย กฤษณาสกุล ผอ.วิทยาลัยชุมชนสตูล กล่าวว่า จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ที่เพิ่งเปิดจังหวัดทำการท่องเที่ยว ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือต้องมีแหล่งท่องเที่ยวที่ดี มีอาหารที่อร่อย มีที่พักที่สบาย และมีของที่ระลึก โดยทางวิทยาลัยชุมชนได้เล็งถึงว่าทำอย่างไรให้เกิดรายได้และกระจายรายได้ จึงจับเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชนทำร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล และรับผิดชอบในพื้นที่ทั้งหมด 26 ชุมชนในระยะเวลา 2 ปี การดำเนินงานจึงเข้าไปอบรมชุมชนเหล่านี้เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว พร้อมจัดหาของโอทอปมาเป็นของฝากด้วย

อย่างไรก็ตามเท่าที่ลงพื้นที่พบว่าเกือบทุกพื้นที่แทบจะรับนักท่องเที่ยวไม่ ได้เลย เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและเกษตรกรดั้งเดิม ชาวบ้านจึงไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกนักท่องเที่ยวในเรื่องของอาหารการกิน ซึ่งอาหารของสตูลมีความโดดเด่นหลายอย่าง ทางวิทยาลัยเข้าไปประยุกต์สูตรอาหาร หลักสูตรดั้งเดิม และนำเข้าไปพัฒนาในชุมชนสิ่งที่ชาวบ้านได้มี 2 ส่วน คือสร้างเชฟหรือกุ๊กไปอยู่กับผู้ประกอบการและบางคนไปเปิดร้านตัวเองในชุมชน เพื่อยกระดับให้ชุมชนสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ เพราะนักท่องเที่ยวบางคนไม่กล้ารับประทานกลัวอาหารไม่สะอาดเพียงพอ อีกทั้งหลายชุมชนยังทำอาหารแบบไม่ทราบรสนิยมของนักท่องเที่ยว เราจึงพยายามต้องเข้าไปช่วยสอนและปรับให้ในเรื่องของรสนิยม เรื่องของการปรุงอาหาร และสิ่งที่จะไปต่อคือ หลักสูตร เกี่ยวกับโฮมสเตย์และที่พัก

อาหารสตูลที่มีความโดดเด่น มีการบันทึกไว้อยู่ในสารานุกรมส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีวัตถุดิบทางทะเล และแกงที่ใช้เครื่องเทศแบบกึ่งอินโดนีเซีย ไทย อินเดีย เพราะเนื่องจากภูมิภาคนี้เมื่อก่อนมีคนอพยพมาจากทางนั้นจำนวนมาก เช่น มุสลิมมาจากทางอินโดนีเซีย อินเดีย และมาเลเซียตอนเหนือ และชาวจีนที่อยู่ในมาเลเซีย อาหารจึงเป็นลักษณะผสมผสานกับมุสลิม แบ่งเป็นหลักสูตร ได้แก่ อาหารพื้นเมือง อาหารท้องถิ่นยอดนิยม เป็นหลักสูตรที่จัดออกมาเป็นเมนูต่าง ๆ เช่น มุสลิมต้องการเรียนเรื่องของแกงมุสลิมที่คนนิยม เช่น แกงมัสมั่น แกงกุละมา แกงตอเมะ เป็นหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งเป็นในมิติที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

หลังจากจัดการความรู้และฝึกอบรม แล้วชาวบ้านเริ่มตื่นตัวในเรื่องการท่องเที่ยวในชุมชน ถึงแม้จะยังไม่ได้เปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองก็ตาม แต่เราจะเข้าไปอบรมเรื่องการรวมกลุ่มให้สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ คาดว่าใน 2 ปีนี้ทั้ง 26 ชุมชนจะสามารถทำเป็นแพ็กเกจทัวร์ มีทั้งเที่ยวบนบกและทางทะเลได้ เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เพราะเมื่อก่อนชาวบ้านได้รายได้จากการรับจ้าง และทำสวนยางบ้าง ปัจจุบันที่ดินส่วนหนึ่งขายไปให้ลูกเรียน เป็นช่วงที่รายได้ไม่พอจ่าย เราจึงสามารถปรับเปลี่ยนชาวบ้านได้ วิทยาลัยชุมชนจึงถือว่าเรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนเป็นพันธกิจ หนึ่งที่ต้องทำงานอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นว่ายกระดับชุมชนได้จริง สามารถเปลี่ยนแปลงรายได้ของชาวบ้านได้

จุฑารัตน์ บิลังโหลด วิทยากรขนมพื้นเมือง ชาวบ้านชุมชนสี่แยกคอกเป็ด เล่าว่า ในชุมชนมีชาวบ้านสนใจเรียนหลัก สูตรขนมพื้นเมืองจำนวน 20 คน บางคนอยากเรียนเพราะบรรพบุรุษมีความรู้เรื่องขนมพื้นเมือง บางคนอยากสานต่อวิธีการทำขนมพื้นเมือง และบางคนอยากทำขายในตลาดเพื่อสร้างรายได้ หลังจากเรียนจบแล้วเราสามารถสร้างเป็นอาชีพและรวมกลุ่มช่วยกันทำส่งขายตาม ตลาด รับจ้างทำขนมตามงานเทศกาลต่าง ๆ ส่งผลให้รายได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เดือนหนึ่งตกประมาณหลักหมื่น จากที่แต่ก่อนมีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งขนมพื้นเมืองของสตูล ได้แก่ ปาดะ ไข่หงส์ กะหรี่ปั๊บ อาปม (ขนมถ้วยฟู) ปาโหลด (ไข่เต่า) นอกจากขายในจังหวัดสตูลแล้วยังส่งไปขายยังหาดใหญ่ด้วย

กัลยรัตน์ สหับดิน ประธานกลุ่มข้าวเกรียบปูนิ่ม ชุมชนหัวทาง เปิดเผยว่า มีสมาชิกทั้งหมด 53 คน จาก 3 ชุมชน คือชุมชนหัวทาง โคกพะยอม ท่านายเนาว์ ทั้ง 3 ชุมชนเป็นพื้นที่ติดเขตชายเลน ทะเลฝั่งอันดามัน จึงมีอาชีพประมงโดยเฉพาะการเลี้ยงปูนิ่มเพื่อส่งให้พ่อค้าคนกลางจัดส่งไปยัง ตลาดหรือร้านอาหาร ต่อมาชุมชนมีการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศเข้ามา ชักจูงนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวใน 3 ชุมชน จึงคิดว่าการเลี้ยงปูนิ่มทำแทบทุกครัวเรือน ทำอย่างไรจะเพิ่มรายได้จากการนำปูนิ่มที่คัดแล้ว (ตัวที่ไม่ได้มาตรฐาน) มาเพิ่มมูลค่าในการทำเป็นสินค้าโอทอปของชุมชน ทางวิทยาลัยชุมชนจึงจัดฝึกอบรมการทำข้าวเกรียบปูนิ่ม ซึ่งเป็นสูตรการทำปูนิ่มที่ได้มาตรฐานสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นและวิถีชีวิต ของคนในชุมชน ซึ่งข้าวเกรียบปูนิ่มถือเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่ยังไม่มีใครคิดสูตร จึงได้มีการจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้วด้วย

ด้าน จามรี หลังลีงู ชาวบ้านตำบลสาคร กล่าวว่า เรารวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำเบเกอรี่หลากหลายประเภทหลายชนิด ส่งขายตามร้านค้า โรงเรียน ตลาด ส่วนขนมไทยก็วางขายในตลาด ทุกคนอยากเรียนทำเบเกอรี่เพราะเป็นขนมที่รับประทานได้ทุกโอกาส เป็นหลักสูตรระยะสั้นของทางวิทยาลัยชุมชนที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ หลังจากเรียนจบแล้วทางกลุ่มจะรวมเงินกันซื้อเตาอบเพื่อมาทำขนมเบเกอรี่ ได้แก่ ขนมปังอบไส้ถั่วแดง ขนมเค้ก ขนมคุกกี้ ส่วนขนมไทย ได้แก่ ตะโก้ ขนมชั้น หม้อแกง หลายคนชอบแต่งหน้าเค้ก เพราะสนุกและมีความสุข แถมได้รายได้เพิ่มด้วย ทุกวันนี้จึงสามารถหาเงินส่งเสียให้ลูกเรียนหนังสือได้แบบสบาย ๆ ถึงแม้สามีจะเสียชีวิตไปแล้วแต่ก็ไม่ได้ลำบากอะไรเพราะเรามีความรู้ที่นำมา แปรเปลี่ยนเป็นรายได้

ดังนั้น โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนของวิทยาลัย ชุมชน จึงถือเป็นโครงการนำร่องที่ช่วยเสริมสร้างชุมชนให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยสืบสานภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่นให้คงอยู่ยั่งยืนคู่กับ ชุมชนไปพร้อม ๆ กับการสร้างรายได้อย่างแท้จริง.
“วิทยาลัยชุมชนสตูล เป็นหนึ่งในวิทยาลัยชุมชนจากทั้งหมด 20 วิทยาลัยชุมชนที่มีความโดดเด่นในเรื่องของการจัดการความรู้ด้านอาหาร ปัจจุบันสภาพพื้นที่ของจังหวัดมีความอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากร วัตถุดิบทั้งทางบกและทางนํ้า รวมทั้งพืชผัก ประกอบกับวิถีชีวิตวัฒนธรรมทางด้านอาหารค่อนข้างเด่นชัด แต่ปัญหาคือ ณ วันนี้พวกวัฒนธรรมเหล่านั้นแทบจะไม่มีคนมาสืบสานต่อยอด”
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในวิทยาลัยชุมชน
การจัดการการเรียนรู้ในวิทยาลัยชุมชน ประกอบด้วยรูปแบบที่สำคัญ 3 ประการ คือ รูปแบบที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นชุมชน (TRACK วิทยาลัยชุมชน) การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน เน้นการพัฒนาต่อยอดจากประสบการณ์ของวิทยาลัยชุมชนในโครงการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยปรับปรุงให้มีรูปแบบการดำเนินการที่ชัดเจนและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา เพื่อประกอบอาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ พัฒนาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยออกแบบการจัดการศึกษาตอบสนองความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น สร้างผู้ประกอบการ ส่งเสริมรายได้ ความสงบและสันติสุขในชุมชน

รูปแบบที่ 2 การจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ (TRACK อาชีพ) หมายถึงการพัฒนากำลังคนในชุมชนและท้องถิ่น มุ่งสู่การประกอบอาชีพที่มีการศึกษาวิเคราะห์และวางแผนความต้องการกำลังคน ที่ชัดเจน ซึ่งไม่ได้มุ่งหวังอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตร แต่มุ่งให้เกิดความรู้ ทักษะ สามารถประกอบอาชีพในอนาคตได้  โดยมี 2 ระดับ ได้แก่ 1.หลักสูตรการพัฒนาอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการการพัฒนาประเทศ และ 2.หลักสูตรการพัฒนาอาชีพเพื่อตอบสนองความต้องการในชุมชน ท้องถิ่น

รูปแบบที่ 3 การจัดการศึกษาระดับอนุปริญญา (TRACK อนุปริญญา) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเตรียมความพร้อมของนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อในระดับ ปริญญา จึงต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐานและกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอนุปริญญาให้ชัดเจน สร้างอัตลักษณ์บัณฑิตวิทยาลัยชุมชน จัดระบบการเทียบโอนผลการศึกษาจากระบบการศึกษาและฝึกอบรมของวิทยาลัยชุมชน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ระบบวิทยาลัยชุมชนให้มากที่สุด.
ทีมวาไรตี้

credit by :  http://www.dailynews.co.th/Content/Article/136394/หลักสูตรความรู้ด้านอาหาร+‘ชาวสตูล’+นำร่องเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน


ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/

adv001


----------------

ปรับปรุง
รายการบทความทั้งหมด



การบำรุงรักษารถยนต์เบื้องต้น



ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้ รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง



รวมบทความอาชีพ เสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม



รวมบทความงานฝีมือ-สิ่งประดิษฐ์ รายได้เสริม



ทองม้วน thong muan ; rolled wafer





MASK รุ่นสายคล้องคอ







MASK รุ่นสายคล้องคอ. ��รุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก #ขายดีมาก
ทำจากผ้าคอตตอนแท้ 100%  ไม่ผสม เนื้อผ้านุ่ม 
3 ชั้น. สวมใส่พอดีกับใบหน้า ไม่เจ็บหู มีสายคล้องคอปรับได้
เวลาถอดออก ไม่ต้องกลัวลืม เพราะถอดแล้วคล้องคอไว้ได้
บรรจุในถุงซิปฟรอย์อย่างดี
ราคาชิ้นละ. 59. บาท. ไม่รวมส่ง 
มีหลายสีให้เลือกนะคะ   สนใจทักแชทขอดูสีผ้าได้นะคะ
หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือ สนใจสั่งไปจำหน่าย 
มีเรทราคาส่งค่ะ

-> id line : noeyhorm_06
#มีวางจำหน่ายหน้าร้านชานมไต้หวันมาราชาสาขาจรัญ44


ร้านมาราชาชานมไข่มุก สาขาจรัญสนิทวงศ์ 44
● รับบัตรสะสมครบ 10 แก้ว แลกรับฟรี 1 แก้ว
● สั่งเดลิเวอรีผ่าน LINE MAN, Foodpanda ,GET ...ถึงมือปั๊บพร้อมดื่มปุ๊บ!
● อัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ รสชาติใหม่ ตลอดเวลา
● มีเมนูให้เลือก 40 กว่าเมนู : https://bit.ly/2Z9iqV0






























































เลือกช่องทางติดต่อและรับข่าวสารบริการหลังการขาย
ฟอร์ด พลปิยะอยุธยาและฟอร์ด พลปิยะวังน้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------
แคมเปญ-โปรโมทชั่น อะไหล่ฟอร์ด อัพเดททางออนไลน์และปรับปรุงข้อมูลออนไลน์
อะไหล่ฟอร์ด อะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่รถยนต์ฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ดแท้ ร้านขายอะไหล่รถฟอร์ด ขายอะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ด
 
Option

รวมบทความอาชีพเสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม หาอาชีพเสริมอิสระทำเงิน สร้างอาชีพอิสระงานฝีมือ แนะนำการสร้างรายได้เสริมทำเงินด้วยการขายสินค้าหรือขายของเป็นอาชีพเสริม อิสระงานฝีมือ แนะแนวธุรกิจ อาชีพเสริม อาชีพแก้จน อยากจะมีรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ บล๊อกจัดทำขึ้นเป็นวิทยาทานเพื่อเผยแผ่ความรู้อันจะเป็นไปเพื่อบุญกุศล ขอให้ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในบทความของบล๊อกนี้ จงได้รับอานิสงฆ์ด้วยเทอญ.