.
ข้าวเม่า เป็นขนมทานเล่นที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน
บ้างเอามาคลุกมะพร้าว บ้างเอามาห่อกล้วยแล้วทอด
ซึ่งปัจจุบันข้าวเม่านั้นสามารถทำขายเป็นอาชีพสร้างรายได้ได้เป็นอย่างดี
อย่าง “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าน้ำนม 100%”
ศูนย์ผลิตข้าวเม่าอ่อนบ้านเนินสะอาด ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว
นี่ก็รวมกลุ่มกันทำ ’ข้าวเม่าน้ำนม“ ขาย เป็นอีก ’ช่องทางทำกิน“
ซึ่งทั้งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ
สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี...
สมคิด ตันเฮง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าน้ำนม 100% เล่าว่า คนที่ชุมชนนี้ส่วนใหญ่จะมีอาชีพทำนาปลูกข้าวกันแทบทั้งนั้น ได้ข้าวแล้วก็เอาไปขายให้กับเถ้าแก่ที่รับซื้อ
ซึ่งที่ผ่านมาราคาขายก็ต้องอยู่ที่คนรับซื้อว่าจะให้ถังละเท่าไหร่
ส่วนใหญ่ก็จะได้ราคาไม่ค่อยดี
จนคนในชุมชนต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำยังไงให้ขายข้าวได้ในราคาสูง
และก็มาคิดว่าน่าจะนำเอาข้าวมาแปรรูปให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ทุกคนก็ช่วยกันคิด
จนเกิดการทำ “ข้าวเม่าน้ำนม” ขาย
ซึ่งเป็นการนำภูมิปัญญาของรุ่นปู่รุ่นย่าที่พวกท่านทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ
นำมาใช้สร้างรายได้
พอทำข้าวเม่าขาย ก็ทำให้คนในชุมชนมีรายได้ดีกว่าขายข้าวหลายเท่า
“แรก ๆ ก็ผลิตขายในหมู่บ้าน จนภายหลังมาถึงจุดพลิกผันของผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าน้ำนมของเรา คือสามารถโกอินเตอร์ได้ เพราะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในชุมชน แล้วซื้อกลับไปกินที่อเมริกา ประมาณ 10 กิโลกรัม เกิดติดใจ จึงสั่งเพิ่มอีกเกือบร้อยกิโลกรัม และก็เพิ่มมาเรื่อย ๆ” สมคิดกล่าว
เมื่อมีออร์เดอร์เข้ามามากขึ้น ทางกลุ่มก็ได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในเรื่องเงินทุน หมุนเวียนในการรับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิก
ข้าวเม่าน้ำนม 100% ของกลุ่มนี้ เป็นที่นิยมเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีทั้งธาตุเหล็ก บำรุงเลือด มีแคลเซียม วิตามินเอ และอื่น ๆ อีกมากมาย…
สำหรับอุปกรณ์ในการทำ หลัก ๆ ก็มี อุปกรณ์สำหรับคั่ว เป็นเครื่องสำหรับคั่วที่ทำขึ้นโดยใช้การควบคุมด้วยมอเตอร์ หรือจะใช้วิธีคั่วด้วยมือก็ได้, เตาแก๊ส, กระทะ, ไม้พาย, เครื่องตำข้าว, เครื่องซีลสุญญากาศ เป็นต้น
วัตถุดิบหลักก็คือ ข้าวหอมน้ำผึ้ง ซึ่งเดิมทางกลุ่มลองใช้ข้าวพันธุ์ กข.6 เพราะเห็นว่านิ่ม แต่พอคั่วแล้วตำ ข้าวเม่าที่ได้จะแข็ง จึงเปลี่ยนมาใช้ข้าวหอมน้ำผึ้ง และได้ข้าวเม่าที่นิ่มขึ้น โดยข้าวที่นำมาใช้ทำนั้นจะใช้ข้าวที่ใช้เวลาปลูก 90 วัน พอสังเกตเห็นรวงก้ม นับไปอีก 10 วัน ก็ต้องเกี่ยวให้หมด มิฉะนั้นข้าวจะแก่ไป (ข้าวที่เหมาะใช้ทำข้าวเม่านั้นให้ลองนำเมล็ดข้าวมาบีบให้เมล็ดแตกจะมีน้ำ ขาวขุ่นหรือที่เรียกว่าน้ำนมข้าวไหลออกมาจากเมล็ดข้าว)
ขั้นตอนการทำ...เริ่มจากนำรวงข้าวที่ผ่านการตีเอาเมล็ดข้าวที่แก่ที่อยู่ ส่วนปลายยอดออกแล้วมาทำการขูดเอาเมล็ดที่ยังติดอยู่ที่ส่วนกลางของรวงข้าว เมื่อขูดข้าวได้แล้วก็นำไปร่อนแยกเมล็ดข้าวออกจากเศษฟาง
หลังจากร่อนแยกเมล็ดข้าวกับฟางออกจากกันแล้ว ก็นำข้าวไปล้างทำความสะอาดและคัดเอาเมล็ดที่ลีบออก โดยนำข้าวไปแช่ในน้ำ เมล็ดที่ลอยน้ำก็ให้คัดออกไป นำข้าวที่ล้างทำความสะอาดและคัดเมล็ดที่ลีบออกแล้วไปใส่ลงเครื่องคั่ว ใช้ไฟประมาณ 55 องศาเซลเซียส ให้ใช้ไฟสม่ำเสมอ คั่วกระทะละประมาณ 3 กิโลกรัม คั่วไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10-15 นาที แล้วสังเกตว่าข้าวสุกหรือยัง โดยการบี้ข้าวดู ถ้าเมล็ดข้าวนิ่มและเหนียว ก็ใช้ได้
นำข้าวขึ้นจากกระทะใส่ไว้ในกระด้ง ทิ้งไว้ให้ข้าวพออุ่น ๆ จึงนำเข้าครกกระเดื่องเพื่อทำการตำกะเทาะเปลือก เวลาตำนั้นควรใช้ไม้พายเขี่ยเมล็ดข้าวในครกให้กระจายไม่ติดกันเป็นปั้น ใช้เวลาตำประมาณ 4-5 นาที จากนั้นนำข้าวขึ้นมาทำการแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าว โดยนำเข้าเครื่องดูดแกลบ หรือจะใช้วิธีใส่กระด้งแล้วฝัดข้าวแบบสมัยโบราณก็ได้ แต่ต้องแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าวให้หมด และก็ทำขั้นตอนเดิมอีกประมาณ 4 รอบ ก็จะได้เมล็ดข้าวที่แยกแกลบออกหมด 100%
ขั้นตอนสุดท้าย ก็เป็นการนำข้าวเม่าที่ทำการแยกแกลบออกจากเมล็ดหมดแล้วมาบรรจุใส่ถุงพลาสติก ถุงละ 1 กิโลกรัม ทำการซีลปิดปากถุงด้วยระบบสุญญากาศ จากนั้นจัดเก็บไว้ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้รอจำหน่ายได้นานประมาณ 4 เดือน
การทำ ’ข้าวเม่าน้ำนม“ นั้น ข้าว 1 ถัง 10 กิโลกรัม ทำข้าวเม่าได้ประมาณ 4 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งข้าวเม่านี้ก็สามารถกินเล่นได้เลย หรืออาจจะมีการนำไปคลุกกับมะพร้าวด้วย หรือห่อกล้วยทอด ก็สุดแท้แต่ผู้ที่ซื้อไป
สำหรับผู้ที่สนใจกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ ต้องการติดต่อกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าน้ำนม 100% กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เบอร์โทรศัพท์คือ 08-9518-6807.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ รายงาน
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/186276
พอทำข้าวเม่าขาย ก็ทำให้คนในชุมชนมีรายได้ดีกว่าขายข้าวหลายเท่า
“แรก ๆ ก็ผลิตขายในหมู่บ้าน จนภายหลังมาถึงจุดพลิกผันของผลิตภัณฑ์ข้าวเม่าน้ำนมของเรา คือสามารถโกอินเตอร์ได้ เพราะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวในชุมชน แล้วซื้อกลับไปกินที่อเมริกา ประมาณ 10 กิโลกรัม เกิดติดใจ จึงสั่งเพิ่มอีกเกือบร้อยกิโลกรัม และก็เพิ่มมาเรื่อย ๆ” สมคิดกล่าว
เมื่อมีออร์เดอร์เข้ามามากขึ้น ทางกลุ่มก็ได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในเรื่องเงินทุน หมุนเวียนในการรับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิก
ข้าวเม่าน้ำนม 100% ของกลุ่มนี้ เป็นที่นิยมเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีทั้งธาตุเหล็ก บำรุงเลือด มีแคลเซียม วิตามินเอ และอื่น ๆ อีกมากมาย…
สำหรับอุปกรณ์ในการทำ หลัก ๆ ก็มี อุปกรณ์สำหรับคั่ว เป็นเครื่องสำหรับคั่วที่ทำขึ้นโดยใช้การควบคุมด้วยมอเตอร์ หรือจะใช้วิธีคั่วด้วยมือก็ได้, เตาแก๊ส, กระทะ, ไม้พาย, เครื่องตำข้าว, เครื่องซีลสุญญากาศ เป็นต้น
วัตถุดิบหลักก็คือ ข้าวหอมน้ำผึ้ง ซึ่งเดิมทางกลุ่มลองใช้ข้าวพันธุ์ กข.6 เพราะเห็นว่านิ่ม แต่พอคั่วแล้วตำ ข้าวเม่าที่ได้จะแข็ง จึงเปลี่ยนมาใช้ข้าวหอมน้ำผึ้ง และได้ข้าวเม่าที่นิ่มขึ้น โดยข้าวที่นำมาใช้ทำนั้นจะใช้ข้าวที่ใช้เวลาปลูก 90 วัน พอสังเกตเห็นรวงก้ม นับไปอีก 10 วัน ก็ต้องเกี่ยวให้หมด มิฉะนั้นข้าวจะแก่ไป (ข้าวที่เหมาะใช้ทำข้าวเม่านั้นให้ลองนำเมล็ดข้าวมาบีบให้เมล็ดแตกจะมีน้ำ ขาวขุ่นหรือที่เรียกว่าน้ำนมข้าวไหลออกมาจากเมล็ดข้าว)
ขั้นตอนการทำ...เริ่มจากนำรวงข้าวที่ผ่านการตีเอาเมล็ดข้าวที่แก่ที่อยู่ ส่วนปลายยอดออกแล้วมาทำการขูดเอาเมล็ดที่ยังติดอยู่ที่ส่วนกลางของรวงข้าว เมื่อขูดข้าวได้แล้วก็นำไปร่อนแยกเมล็ดข้าวออกจากเศษฟาง
หลังจากร่อนแยกเมล็ดข้าวกับฟางออกจากกันแล้ว ก็นำข้าวไปล้างทำความสะอาดและคัดเอาเมล็ดที่ลีบออก โดยนำข้าวไปแช่ในน้ำ เมล็ดที่ลอยน้ำก็ให้คัดออกไป นำข้าวที่ล้างทำความสะอาดและคัดเมล็ดที่ลีบออกแล้วไปใส่ลงเครื่องคั่ว ใช้ไฟประมาณ 55 องศาเซลเซียส ให้ใช้ไฟสม่ำเสมอ คั่วกระทะละประมาณ 3 กิโลกรัม คั่วไปเรื่อย ๆ ประมาณ 10-15 นาที แล้วสังเกตว่าข้าวสุกหรือยัง โดยการบี้ข้าวดู ถ้าเมล็ดข้าวนิ่มและเหนียว ก็ใช้ได้
นำข้าวขึ้นจากกระทะใส่ไว้ในกระด้ง ทิ้งไว้ให้ข้าวพออุ่น ๆ จึงนำเข้าครกกระเดื่องเพื่อทำการตำกะเทาะเปลือก เวลาตำนั้นควรใช้ไม้พายเขี่ยเมล็ดข้าวในครกให้กระจายไม่ติดกันเป็นปั้น ใช้เวลาตำประมาณ 4-5 นาที จากนั้นนำข้าวขึ้นมาทำการแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าว โดยนำเข้าเครื่องดูดแกลบ หรือจะใช้วิธีใส่กระด้งแล้วฝัดข้าวแบบสมัยโบราณก็ได้ แต่ต้องแยกแกลบออกจากเมล็ดข้าวให้หมด และก็ทำขั้นตอนเดิมอีกประมาณ 4 รอบ ก็จะได้เมล็ดข้าวที่แยกแกลบออกหมด 100%
ขั้นตอนสุดท้าย ก็เป็นการนำข้าวเม่าที่ทำการแยกแกลบออกจากเมล็ดหมดแล้วมาบรรจุใส่ถุงพลาสติก ถุงละ 1 กิโลกรัม ทำการซีลปิดปากถุงด้วยระบบสุญญากาศ จากนั้นจัดเก็บไว้ในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้รอจำหน่ายได้นานประมาณ 4 เดือน
การทำ ’ข้าวเม่าน้ำนม“ นั้น ข้าว 1 ถัง 10 กิโลกรัม ทำข้าวเม่าได้ประมาณ 4 กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งข้าวเม่านี้ก็สามารถกินเล่นได้เลย หรืออาจจะมีการนำไปคลุกกับมะพร้าวด้วย หรือห่อกล้วยทอด ก็สุดแท้แต่ผู้ที่ซื้อไป
สำหรับผู้ที่สนใจกรณีศึกษา ’ช่องทางทำกิน“ รายนี้ ต้องการติดต่อกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวเม่าน้ำนม 100% กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มนี้ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ต.เมืองไผ่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เบอร์โทรศัพท์คือ 08-9518-6807.
บดินทร์ ศักดาเยี่ยงยงค์ รายงาน
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/384/186276
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001