ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ส่งผลให้การทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่ม ชา กาแฟ และไอศกรีม ได้รับการตอบรับอย่างดีและต่อเนื่อง โดยเฉพาะไอศกรีมโฮมเมด กำลังได้รับความนิยมและเป็นที่จับตามอง ทำให้ธุรกิจนี้มีการแข่งขันทางการตลาดค่อนข้างสูง เจ้าของร้านหรือเจ้าของธุรกิจจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแปลกใหม่ให้ ลูกค้าได้ลิ้มลองอยู่เสมอ ซึ่งทีม “ช่องทางทำกิน” ก็เคยนำเสนอไปบ้างแล้ว และวันนี้ก็มีข้อมูล “ไอศกรีมโฮมเมด” มานำเสนออีกรูปแบบ ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลในเรื่องนี้ คือ ออนนี่-วรนิติ์ วรเนติโพธิ์ เจ้าของร้าน “ไอซ์ อัพ โฮมเมดไอศกรีม” ซึ่ง เล่าให้ฟังถึงที่มาของธุรกิจว่า เพราะเป็นคนชอบทานไอศกรีมมาตั้งแต่เด็ก เรียกว่าชอบมากชนิดที่ว่ารับประทานแทนข้าว 3 มื้อเลยก็ได้ หลังเรียนจบก็ได้ทำงานหลายอย่าง แต่สุดท้ายก็อยากทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ เพื่อที่จะมีความสุขในการทำงานแต่ละวัน จึงคุยกับเพื่อนที่ชอบไอศ กรีมเหมือนกัน ซึ่งก็คือ โบว์-คุณอาทิตยา ภู่ระหงษ์ ที่มีทัศนคติที่คล้ายคลึงกัน จากนั้นทั้งสองก็เริ่มหาที่เรียนเพื่อตามความฝันในการลงทุนเปิดร้านร่วมกัน
“เมื่อ เริ่มลงทุนเพื่อเปิดร้าน ก็นำเงินเก็บมาลงทุนซื้ออุปกรณ์ และวัตถุดิบในการทำไอศกรีม และเริ่มลงมือฝึกฝนอย่างจริงจัง โดยใช้เวลาหาข้อมูลเกี่ยวกับสูตรไอศกรีมเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ และตระเวนชิมไอศกรีมเจ้าดัง ๆ ที่ขายดี เพื่อนำมาปรับพัฒนาและประยุกต์ใช้ในการทำไอศกรีมของตัวเองให้มีความแตกต่าง และเน้นเพื่อสุขภาพ เพราะรู้ดีว่าคนยุคนี้จะให้ความสำคัญกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ ลองผิดลองถูกอยู่นานเป็นเวลา 4-5 เดือน ทำไอศกรีมออกมาก็แจกให้คนในครอบครัว และเพื่อน ๆ ลองชิม ซึ่งทุกคนบอกว่าอร่อย น่าจะขายได้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการทำไอศกรีมโฮมเมดขายมาจนถึงเดี๋ยวนี้”
ออ นนี่ กล่าวอีกว่า ไอศกรีมโฮมเมดของร้านเธอมีหลายรสชาติ อาทิ ไอศกรีมวานิลลา, ไอศกรีมชาเขียว, ไอศกรีมบลูเบอร์รี่โยเกิร์ต, ไอศกรีมสตรอเบอรี่เชอร์เบท ฯลฯ จะมีรสชาติกลมกล่อม ไม่หวานเกินไป ไอศกรีมโฮมเมดในความหมายของที่นี่คือการทำไอศกรีมให้มีรสชาติเข้มข้น อร่อยถูกใจคนในครอบครัว วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจึงต้องเป็นของดีมีคุณภาพจากธรรมชาติ สดใหม่ ไม่ใช้สารสังเคราะห์ที่เป็นอันตราย ขั้นตอนการผลิตต้องสะอาด ถูกหลักอนามัย
อุปกรณ์ในการทำ “ไอศกรีมโฮมเมด” หลัก ๆ ก็มี อ่างผสม, หัวตีปากตะกร้อ, พายยาง, เครื่องปั่นไอศกรีม, ไม้พายพลาสติก, ภาชนะใส่ไอศกรีม/ถ้วยไอศกรีม อุปกรณ์อื่น ๆ สามารถหยิบยืมได้จากในครัว ส่วนผสม “ไอศกรีม สตรอเบอรี่เชอร์เบท” มี สตรอเบอรี่สด 400 กรัม, น้ำตาลทราย 100 กรัม, เกลือ 1/4 ช้อนชา, น้ำ 400 กรัม, กรดซิตริก, สารคงตัว (สารเสริม SE) 2 กรัม
ขั้นตอนการทำ “ไอศกรีมสตรอเบอรี่เชอร์เบท”
เริ่ม จากเทส่วนผสมน้ำตาลทราย น้ำ และสารคงตัว (สารเสริม SE) ไว้ในอ่างผสมที่ 1 ตั้งพักเตรียมไว้ก่อนนำสตรอเบอรี่ที่เตรียมไว้ มาใส่ในโถปั่น ตามด้วยน้ำ และเกลือ แล้วปั่นให้ละเอียด ประมาณ1-2 นาที เสร็จแล้วเทส่วนผสมของสตรอเบอรี่ปั่นพักไว้ในอ่างผสมที่ 2
นำ น้ำร้อนเทลงในชามผสมที่ 1 คนให้น้ำตาลและสารคงตัว ละลายและเข้ากัน เสร็จแล้วก็นำส่วนผสมในชามที่ 2 มาเทใส่ชามที่ 1 คนส่วนผสมให้เข้ากัน แล้วทำการปรุงรสชาติเล็กน้อยด้วยกรดซิตริก (เนื่องจากรสชาติของสตรอเบอรี่นั้นไม่คงที่ จึงต้องปรับรสชาติตามใจชอบ)
จาก นั้น นำส่วนผสมทั้งหมดเทใส่เครื่องปั่นไอศกรีม แล้วรอจนกระทั่งเนื้อไอศกรีมได้ที่จึงหยุด ขั้นตอนสุดท้ายคือ การตักไอศกรีมใส่ภาชนะ จัดแต่งไอศกรีมแล้วนำไปแช่ตู้แช่แข็ง เป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง ก่อนนำมาบรรจุใส่ถ้วย หรือหากจะขายเป็นทัพก็สามารถแต่งหน้าไอศกรีมได้ตามต้องการ ขายในราคาถ้วยละ 35 บาท หรือหากต้องการขายเป็นกิโลฯ ก็สามารถขายได้ที่กิโลฯ ละ 200-220 บาท
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทานได้ทุกเพศทุกวัย ช่วยคลายร้อนก็ได้ นำไปประกอบอาชีพ ทำขายก็ดูดี สนใจก็ลองฝึกทำดู หากสนใจ “ไอศกรีมโฮมเมด ไอซ์อัพ” ไป ใช้ในงานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง ๆ อาทิ งานบุญ งานปีใหม่ ติดต่อสอบถามรายละเอียดจาก ออนนี่-วรนิติ์ วรเนติโพธิ์ หรือ โบว์-อาทิตยา ภู่ระหงษ์ เจ้าของกรณีศึกษา “ช่องทางทำกิน” รายนี้โดยติดต่อได้ที่ โทร. 08-8490-4449 หรือ 08-5663-5411 และที่ www.facebook.com /iceupgelato
คู่มือลงทุน...ไอศกรีมโฮมเมด
ทุนอุปกรณ์ ประมาณ 60,000 บาทขึ้นไป
ทุนวัตถุดิบ ประมาณ 60-70% ของราคาขาย
รายได้ ราคา 35 บาท/1 ถ้วย
แรงงาน 1-2 คนขึ้นไป
ตลาด ชุมชน, ร้านอาหาร, ฝากขาย
จุดน่าสนใจ เป็นไอศกรีมที่กำลังได้รับความนิยม
เชาวลี ชุมขำ : เรื่อง
credit by : http://www.dailynews.co.th/article/326377
Read More...