สูตรขนม สูตรอาหาร อาชีพรายได้เสริม ประกาศฟรี โฆษณาฟรี การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์
ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Drop Down MenusCSS Drop Down MenuPure CSS Dropdown Menu

การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์



ร้านเนยหอมออนไลท์ ขายปลีก-ส่ง
สั่งได้ทาง Inbox ...
Inbox : inbox : http://m.me/noeyhorm
รีวิวขนมอื่น ๆของร้านเนยหอม : inbox : http://bit.ly/31l6PBf

การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์


มิจฉาชีพจะใช้โทรศัพท์ หรือบริการเสียงผ่านอินเตอร์เน็ต (Voice over international protocol หรือ VolP) แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน หรือเจ้าพนักงานในหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ เพื่อหลอกลวงเราให้เกิดความตกใจและกลัว แล้วจึงเสนอความช่วยเหลือโดยให้เราไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกลุ่มมิจฉาชีพ เมื่อเราโอนเงินเสร็จ พวกเขาก็จะถอนเงินออกจากบัญชีนั้นทันที วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มมิจฉาชีพจากต่างประเทศ มิจฉาชีพทำให้เราตกใจ และกลัวได้อย่างไร > อ้างว่า บัญชีของเราถูกนำไปใช้กับขบวนการค้ายาเสพติด และจะถูกอายัดโดยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) จึงขอให้เราไปทำรายการที่ตู้เอทีเอ็มเพื่อยืนยันตัวตนและปลดรายการอายัด หรืออาจให้เราโอนเงินไปยังหน่วยงานของรัฐ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ให้โอนเงินไปยังบุคคลที่มีการอ้างถึงว่าเป็นผู้มีตำแหน่งหน้าที่การงานที่น่าเชื่อถือ เช่น นายตำรวจ เจ้าหน้าที่ธนาคาร เป็นต้น > อ้างว่า โทรมาจากศูนย์กลางการอายัดบัตร หรือฝ่ายตรวจสอบจากแบงก์ชาติ โดยบอกเราว่าบัตรเครดิตหรือบัญชีของเราถูกอายัด และขอให้เรายืนยันเลขที่บัญชี เลขที่บัตรเครดิตและรหัสเพื่อปลดอายัดบัตร หรือบัญชีของเรา > อ้างว่า ข้อมูลของเราได้สูญหายไปกับน้ำท่วม จึงขอให้เราแจ้งรายละเอียดบัญชี ข้อมูลส่วนตัว แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้เบิกถอนเงิน> แจ้ง หรือ ข่มขู่เราว่า เรามีหนี้บัตรเครดิต ค่าโทรศัพท์ หรือบริการอื่นๆ ที่ต้องชำระทันที ไม่เช่นนั้น จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย > หลอกเอาผลตอบแทนสูงมาล่อ โดยการชักชวนเราไปลงทุนหรือเก็งกำไรในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงในการลงทุน เราจึงอาจถูกหลอกได้



การหลอกลวงผ่านทางโทรศัพท์



ป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์กันเถอะ

หากมีคนโทรศัพท์มาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการเงิน ให้สงสัยไว้ก่อนว่าเป็นผู้ไม่หวังดีเพราะสถาบันการเงิน และหน่วยงานของรัฐ ไม่มีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนตัวและไม่มีนโยบายแจ้งให้ลูกค้าหรือประชาชนโอนเงินผ่านทางโทรศัพท์ให้กับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานของรัฐ 
> เมื่อได้รับโทรศัพท์จากคนไม่รู้จัก หรือไม่คุ้นเคย ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว อย่าตกใจและหลงเชื่อไปทำรายการที่เครื่องเอทีเอ็ม

>  อย่าโทรกลับเบอร์ที่ได้รับการแจ้ง แต่ควรเช็คเบอร์หน่วยงานที่ถูกอ้างถึงจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานนั้นหรือ ติดต่อ 1133 เพื่อสอบถามเบอร์โทรของหน่วยงานที่ถูกอ้างถึงอย่าหวังผลกำไรจากการลงทุน หรือเก็งกำไรในธุรกิจใด ๆ ที่สูงเกินจริง เพราะอาจตกเป็นเหยื่อของธุรกิจค้าเงินเถื่อนได้

แก๊งมิจฉาชีพหลอกลวงทางโทรศัพท์มีวิธีเลือกเหยื่ออย่างไร

> ใช้วิธีสุ่มโทรศัพท์เข้าเบอร์มือถือที่ขึ้นต้นด้วย 08....09.....โดยวิธีการโทร.สุ่มตัวอย่างไปเรื่อยๆ เช่น 0818200000, 0818200001...เนื่องจากเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้งานมานาน และไม่ใช่หมายเลขที่ใช้งานชั่วคราว 
มักจะหลอกลวงว่าได้มีการอายัดบัญชีเงินฝากหรือบัตรเครดิตของเหยื่อ ที่มีอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกร ฯลฯ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บริการกับธนาคารขนาดใหญ่


...หากไม่แน่ใจ ควรติดต่อหรือโทรศัพท์สอบถามไปยังสถาบันการเงินหรือหน่วยงานที่ถูกแอบอ้างจะดีกว่า...  


ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมิได้นิ่งนอนใจ มีการปราบปรามแก๊งมิจฉาชีพอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้จับกุมผู้ร่วมขบวนการมิจฉาชีพแก๊ง call center เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา
  

กลลวงผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking : e - banking) และบัตรกดเงินต่าง ๆ 

1. ใช้เครื่องบันทึกข้อมุลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer)
มิจฉาชีพจะทำการติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลในแถบแม่เหล็ก (Skimmer) ไว้ที่ช่องเสียบบัตรเพื่อคัดลอกข้อมูลในบัตรหรือนำแป้นกดตัวเลขปลอมครอบแป้น กดตัวเลขของตู้เอทีเอ็ม และทำการแอบดูรหัสผ่านจากการติดตั้งกล้องไว้ ณ ตู้เอทีเอ็ม หรือ แอบดู แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวไปทำบัตรปลอมและถอนเงิน โอนเงิน หรือซื้อสินค้าและบริการในนามของเรา


                                                     
                                 ตู้ เอทีเอ็มที่ปลอดภัย                           ตู้เอทีเอ็มที่มีการตั้ง เครื่อง Skimmer และแป้นกดตัวเลขปลอม
                                                
                                       ตู้เอทีเอ็มที่มีการติดตั้งกล้องขนาดเล็ก เพื่อแอบดูการกดรหัสของเรา

2. ใช้อุปกรณ์คัดลอกข้อมุล (Scanner) 
มิจฉาชีพ จะทำการขโมยบัตรเดบิตหรือเครดิตของเรา แล้วนำไปรูดกับอุปกรณ์คัดลอกข้อมูลที่อยู่ในบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปผลิตบัตรปลอมสำหรับใช้ซื้อสินค้าและบริการ
                                          
เครื่องสแกนเนอร์ที่มิจฉาชีพใช้รูดเพื่อขโมยข้อมูลของเรา

3. ปลอมอีเมล์ และสร้างเว็บไซต์ธนาคารพาณิชย์ปลอม (Phishing) 
มิจฉาชีพจะส่งอีเมล์แอบอ้างว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ คนรู้จัก หรือเพื่อนสนิท เพื่อขอข้อมูลทางการเงิน หรือให้ทำการโอนเงินให้ 
อีเมล์แอบอ้างมีลักษณะอย่างไร  

อีเมล์จากธนาคารพาณิชย์มิจฉาชีพ จะทำการส่งอีเมล์มาให้เรา
ในหัวข้อและข้อความที่น่าเชื่อถือ อาจจะเป็นการแจ้งให้เรายืนยันข้อมูลทางการเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการ รักษาความปลอดภัย หรือ อาจแจ้งว่าบัญชีของเราถูกอายัดไว้ชั่วคราว จึงขอให้ยืนยันข้อมูลส่วนตัวโดยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มที่แนบมา หรือในลิงก์แนบที่เชื่อมไปยังเว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ของสถาบันการเงินนั้นๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มานั้นไปใช้แอบอ้างทำการซื้อหรือชำระสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
อีเมล์จากคนรู้จัก เพื่อน หรือ ญาติสนิทมิจฉาชีพ จะส่งอีเมล์มาหาเราโดยใช้อีเมล์ของคนรู้จักของเรา มีข้อความในลักษณะการขอความช่วยเหลือ โดยแอบอ้างว่าพวกเขาเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักของเรา และกำลังเดือดร้อนด้วยเหตุต่างๆในต่างประเทศ จึงอยากขอให้เราโอนเงินให้พวกเขา
...เช็คข้อมุลกับสถาบันการเงิน หรือติดต่อไปหาคนรู้จักก่อนที่จะทำการโอนเงินหรือให้ข้อมูลใด ๆ...

ต้วอย่าง รูปแบบ อีเมล์และเว็บไซต์ที่แอบอ้างเป็นธนาคารพาณิชย์

ตัวอย่าง รูปแบบ เว็บไซต์ปลอม

4. การแท็บสายโทรศัพท์เพื่อดักขโมยข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเครดิตที่ตู้พักสายโทรศัพท์

มิจฉาชีพ จะทำการดักขโมยข้อมูลของเราที่ถูกส่งจากร้านค้าไปยังสถาบันการเงินหรือผู้ ประกอบการบัตรเครดิตขณะที่มีการใช้จ่าย โดยมิจฉาชีพจะทำการติดตั้งเครื่องดักข้อมูลที่ตู้พักสายโทรศัพท์ แล้วนำข้อมูลที่ได้ ไปทำบัตรเครดิตปลอมเพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆในนามของเรา

แบบนี้การใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตใช้จ่ายก็ไม่ปลอดภัยนะสิ...
ยังคงปลอดภัยอยู่ เพราะสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ร่วมกันป้องกันการดักขโมยข้อมูลด้วยวิธีการใส่รหัสข้อมูล (Encryption) ใน การรับส่งข้อมูลตั้งแต่ต้นทางและปลายทางทำให้ผู้ไม่ได้รับอนุญาตไม่สามารถ อ่านข้อมูลได้ ดังนั้น หากมีการรูดบัตรในสถานที่ไม่มีความเสี่ยง จึงวางใจได้ว่า การใช้จ่ายผ่านบัตรยังคงปลอดภัยอยู่

ทำอย่างไร...จึงจะปลอดภัยจากกลโกงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
 
1. ไม่ใช้เอทีเอ็มที่ตั้งไว้ ณ จุดเสี่ยง เพราะคนร้ายสามารถติดอุปกรณ์บันทึกข้อมูลได้ง่าย และควรสังเกตตู้ก่อนใช้งานว่ามีลักษณะผิดปกติหรือไม่ เช่น แป้นพิมพ์มีลักษณะถูกครอบด้วยอุปกรณ์บางชนิด หรือมีกล่องแปะอยู่ข้างตู้ หรือมีอุปกรณ์แปลกปลอมติดอยู่ในมุมที่สามารถมองเห็นการกดรหัสผ่านได้ 
2. หลีกเหลี่ยงการใช้บัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตกับร้านค้าที่มีความเสี่ยง หรือบริเวณที่มีข่าวการทุจริต 
3. ใช้มือปิดบังทุกครั้งระหว่างการกดรหัสเอทีเอ็ม 
4. หากใช้บัตรในการชำระสินค้าและบริการ ควรอยู่ในบริเวณที่มองเห็นการทำรายการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันพนักงานนำบัตรไปรูดกับเครื่องคัดลอกข้อมูล (Scanner) 
5. ไม่บอกรหัสผ่านหรือข้อมูลสำคัญทางการเงินแก่ผู้อื่น และไม่เขียนรหัสผ่านไว้บนบัตร นอกจากนี้ควรทำลายเอกสารแจ้งรหัสผ่าน และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำทุก 3 เดือน 
6. ไม่ควรใช้รหัสผ่านที่เหมือนกันสำหรับการใช้บริการอิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆของธนาคารพาณิชย์ 
7. เก็บใบบันทึกรายการไว้ทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบยอดใช้จ่าย และควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ หากมีเหตุสงสัยหรือผิดปกติ ให้รีบแจ้งธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาทันที 
8. อ่านข้อควรระวังเกี่ยวกับพฤติกรรมการหลอกลวงรูปแบบต่างๆของธนาคารพาณิชย์อย่างสม่ำเสมอ 
9. หากบัตรสูญหายหรือถูกขโมย ให้รีบแจ้งธนาคารพาณิชย์ผู้ออกบัตรดำเนินการอายัดบัตรทันที 
10. ไม่ควรตอบรับอีเมล์จากคนที่ไม่รู้จัก คนคุ้นเคย หรือผู้ที่ขอให้ผู้ใช้บริการส่งข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลสำคัญทางการเงินให้ เพราะธนาคารพาณิชย์ไม่มีนโยบายขอข้อมูลส่วนตัวลูกค้าผ่านทางอีเมล์ โทรศัพท์ หรือจดหมาย 
11. ไม่ควรเชื่อมโยงลิงก์ที่แนบมากับอีเมล์ เมื่อต้องการเข้าใช้บริการธนาคารพาณิชย์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ควรพิมพ์ชื่อเว็บไซต์และตรวจสอบการสะกดคำให้ถูกต้องทุกครั้ง

เป็นอย่างไรนะ...โกงผ่านบัตรเครดิต
มิจฉาชีพ จะทำการขโมย ข้อมูลบัตรเครดิต บัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของเรา แล้วนำไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆในนามของเรา โดยวิธีที่มิจฉาชีพนิยมใช้ มีดังนี้

1. ปลอมแปลงเอกสารสำคัญในการสมัครบัตรเครดิต เพื่อหลอกลวงให้สถาบันการเงินออกบัตรให้ในนามของเรา

2. ขโมยบัตรเครดิตหรือนำบัตรที่สูญหายไปใช้โดยที่เราไม่รู้ตัว

3. ใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (เครื่อง Skimmer) คัดลอกข้อมูลของเราแล้วทำบัตรปลอม

4. หลอกลวงขอข้อมูลของบัตรและข้อมูลส่วนตัวของเรา แล้วนำไปใช้ซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ ชื่อผู้ถือบัตร ประเภทของบัตร ธนาคารผู้ออกบัตร หมายเลขบัตร เดือน/ปี ที่ออกบัตร และเดือน/ปี ที่หมดอายุ รวมไปถึงรหัสปลอดภัยเลข 3 -4 หลัก ที่ปรากฏอยู่บนบัตร 
เตรียมพร้อม...ระวังภัยบัตรเครดิต 

1. เซ็นชื่อหลังบัตรทันทีเมื่อได้รับบัตรใหม่
2. เก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่นๆไว้ในที่ปลอดภัยและไม่มอบให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจ

3. จดหมายเลขบัญชีบัตรเครดิต รหัสถอนเงินสด และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับแจ้งอายัดบัตรได้กรณีบัตรหายไว้ในที่ปลอดภัย (ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ หรือเก็บรวมกับบัตรเครดิต)

4. อย่าเปิดเผยรหัสถอนเงินสดให้กับผู้อื่น

5. อย่าเปิดเผยรหัสความปลอดภัยโดยไม่จำเป็น  (สำหรับบัตร MasterCard และ Visa  คือเลข 3 หลัก ที่อยู่ด้านหลังบัตร บริเวณขวามือของแถบลายเซ็น สำหรับบัตร American Express คือ เลข 4 หลัก ที่อยู่ด้านหน้าบัตร บริเวณเหนือหมายเลขบัตรเครดิต )

6. พึงระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น เลขประจำตัวประชาชน  และ วัน/เดือน/ปี เกิด เป็นต้น รวมถึงข้อมูล
    ที่อยู่บนบัตรเครดิต ซึ่งสามารถนำไปทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้  คือ
     - ธนาคารผู้ออกบัตร และประเภทของบัตร
     - ชื่อผู้ถือบัตร
     - หมายเลขบัตรเครดิต
     - เดือน/ปี ที่ออกบัตร และ เดือน/ปี ที่บัตรหมดอายุ 

7. หลี่กเลี่ยงการใช้บัตรในร้านค้าหรือตู้เอทีเอ็มที่มีความเสี่ยงหรือมีข่าวการทุจริต หากจำเป็นต้องใช้ในสถานที่ดังกล่าวควรอยู่ ณ จุดที่พนักงานทำรายการ หรืออยู่บริเวณใกล้ๆในระยะที่สังเกตได้

8. การใช้บัตรที่ร้านค้าควรเช็คให้แน่ใจว่าได้บัตรเครดิตคืนมาทุกครั้ง และตรวจสอบชื่อ-นามสกุลบนบัตร

9. ตรวจสอบความถูกต้องก่อนเซ็นชื่อใน Sales Slip และเก็บไว้เพื่อตรวจสอบกับใบแจ้งหนี้ หากไม่ถูกต้อง แจ้งผู้ออกบัตรทันที

10. การใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากตู้ ATM ควรปฏิบัติ ดังนี้
      - ระวังไม่ให้ผู้อื่นเห็นรหัสเบิกถอนเงินสด
      - ระมัดระวัง ATM ที่น่าสงสัยว่าอาจมีการลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิต เช่น เครื่องอ่านแถบแม่เหล็กที่ช่องเสียบบัตรเพื่อขโมยข้อมูล หรือเครื่องบันทึกข้อมูลที่แป้นกดรหัสเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว
11. การซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต  ควรเลือกใช้บริการเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ
12. กรณีบัตรเครดิตหาย ต้องรีบแจ้งให้ผู้ออกบัตรทราบทันที (ทั้งนี้ คุณยังต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งบัตรหาย)
13. ทำลายบัตรเครดิตก่อนที่คุณจะทิ้งบัตรเครดิต หรือเอกสารใดๆ เกี่ยวกับบัตรเครดิตทุกครั้ง เพื่อมิให้ผู้อื่นนำข้อมูลไปใช้โดยมิชอบ
บัตรผ่อนสินค้า คืออะไร
บัตร ผ่อนสินค้า เป็นบัตรที่ใช้ซื้อสินค้า โดยส่วนมากมักใช้สำหรับการซื้อสินค้าเงินผ่อน ซึ่งผู้ซื้อยังไม่ต้องจ่ายค่าสินค้าเต็มจำนวน โดยบริษัทผู้ออกบัตรจะเป็นผู้ชำระค่าสินค้าเต็มจำนวนให้แทน หลังจากนั้นผู้ซื้อต้องชำระเงินค่าสินค้าและดอกเบี้ยคืนให้กับบริษัทผู้ออก บัตรจนครบสัญญา

มิจฉาชีพโกงผ่านบัตรผ่อนสินค้าหรือบัตรเครดิตได้ด้วยหรือ
ได้สิ โดยใช้บัตรผ่อนสินค้าและบัตรเครดิตในการซื้อสินค้า

มิจฉาชีพทำอย่างไรมิจฉาชีพ จะติดป้ายโฆษณาตามเสาไฟฟ้า ตู้โทรศัพท์ หรือที่สาธารณะ ด้วยข้อความเชิญชวน เช่น ให้วงเงินสูง อนุมัติและรับเงินสดทันทีภายใน 30 วัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับ เงินกู้นอกระบบ หากเราสนใจและติดต่อไปตามเบอร์โทรที่ให้ไว้ มิจฉาชีพจะแนะนำวิธีการและเงื่อนไขต่างๆที่เกี่ยวกับการขอรับสินเชื่อ โดยเราไม่จำเป็นต้องมีประวัติการเงินที่ดี หรือมีวงเงินเหลือในบัตรเครดิตมากนัก

                    
หาก เรายอมรับข้อตกลง มิจฉาชีพจะพาเราไปสมัครบัตรผ่อนสินค้าของบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (หากเรามีบัตรผ่อนสินค้า หรือบัตรเครดิตอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องสมัครใหม่) เมื่อได้บัตรแล้วมิจฉาชีพจะพาเราไปซื้อสินค้าโดยจ่ายผ่านบัตรนั้นๆของเรา หลังจากนั้นมิจฉาชีพจะเป็นผู้รับซื้อสินค้านั้น โดยจะหักค่านายหน้าประมาณ 30%

ตัวอย่าง เช่น

เรา ตกลงกู้เงินนอกระบบกับกลุ่มมิจฉาชีพแล้ว เขาก็จะพาเราไปทำบัตรผ่อนสินค้า (ถ้ามีแล้วก็ไม่ต้องทำ) เมื่อได้บัตรก็พาเราไปซื้อสินค้า สมมติราคาเท่ากับ 10,000 บาท มิจฉาชีพก็จะหักค่านายหน้า 30 % คิดเป็นเงิน 3,000 บาท เราก็จะได้เงินแค่ 7,000 บาท แต่เป็นหนี้ทั้งหมด 10,000 บาท

เรายังต้องเสียเงินค่าอย่างอื่นอีกไหม

เสียสิ เรายังคงต้องเสียเงินผ่อนชำระสินค้าพร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อีก 28
% ให้กับผู้ออกบัตร โดยผู้ปล่อยกู้ไม่ต้องร่วมรับผิดชอบใด ๆ และยังนำสินค้าไปจำหน่ายต่ออีกด้วย
ถ้าไม่อยากถูกโกงทำอย่างไร 
1. ใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลที่ถูกกฎหมายเท่านั้น

2. พิจารณาเปรียบเทียบเรื่อง อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี ก่อนใช้บริการ

3. ระมัดระวังโฆษณาอัตราดอกเบี้ยที่แจ้งว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน หรือต่อปี   
เกร็ดความรู้เรื่องดอกเบี้ย
                                                  อัตราดอกเบี้ยต่อปี        = อัตราดอกเบี้ยต่อเดือน  x 12
                                                  อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง  = อัตราดอกเบี้ยเงินต้นเท่ากันทุกงวด  x 1.8
                                                     
(Effective Rate)                         (Flat Rate) 




4. อย่าใช้บริการสินเชื่อเพียงเพราะต้องการของแถม ควรใช้เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องกู้ยืม




หลอกลวงเงินผ่านแชร์ลูกโซ่
แชร์ลูกโซ่ คืออะไร 
 
เป็น กลโกงหลอกให้เราลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูงผิดปกติ โดยในช่วงต้นจะมีการจ่ายผลตอบแทนเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่จริง ๆ แล้ว เป็นเงินที่เอามาจากนักลงทุนรายใหม่ ไม่ได้มาจากเงินลงทุนจริง ๆ ถ้าไม่มีนักลงทุนรายใหม่ ก็ไม่มีเงินจ่ายนักลงทุนรายเก่า แชร์ก็ปิดตัว ผู้ลงทุนก็เสียเงินไป
แชร์แบบไหนที่ควรระวัง
- ที่ตั้งสำนักงานไม่มั่นคงถาวร เช่น เช่าตึกที่ไม่มีอาคารเป็นของตัวเอง ทรัพย์สินมีค่าในสำนักงานมีน้อย
- ไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง แต่มีสินค้าซึ่งไม่ระบุแหล่งผลิตถาวร
- เก็บค่าสมัครสมาชิกเป็นจำนวนสูงมาก และมีการบังคับซื้อสินค้า
- ไม่เน้นการขายสินค้าแต่เน้นให้สร้างทีมให้หาสมาชิกและผู้ลงทุนรายใหม่ โดยหาสมาชิกได้มากจะได้ค่าตอบแทนมาก
- ลงทุนต่ำ ผลตอบแทนสูงและจ่ายค่าตอบแทนเร็วเกินเหตุ รับลงทุนแบบไม่จำกัดจำนวน
ทำไมถึงมีคนถูกหลอกผ่านแชร์ลูกโซ่

ผู้ที่ทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ใช้วีธีการ ดังนี้
 
- ใช้เครือข่ายจากความใกล้ชิดสนิทสนมใกล้ตัวที่เราไว้ใจได้
- อ้างถึงบุคคลที่น่าเชื่อถือว่าได้เข้าร่วมหุ้นกับบริษัทด้วย เช่น รัฐมนตรี อธิบดี หรือเจ้านายเรา ฯลฯ พร้อมภาพบุคคลเหล่านั้นร่วมกิจกรรม
- แสดงหลักฐานเรื่องผลประโยชน์ที่ตนเองได้รับมาแล้ว เช่น เงินที่เข้าบัญชี เพื่อให้เหยื่อเชื่อในประโยชน์ที่จะได้รับ
- ใช้สื่อโฆษณาสร้างความมั่นใจ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ
- แสดงแผนการลงทุนและสัญญาร่วมทุนให้ดู ทำให้เห็นว่าการลงทุนจะได้รับผลตอบแทนมหาศาล
- จัดอมรมสัมมนาหรือแถลงข่าวเปิดตัวที่โรงแรมใหญ่ๆ และเชิญคนดังมาร่วมงานมากมาย
- มักจะหว่านล้อมและกดดันให้เหยื่อรีบตัดสินใจ โดยจะเชิญเหยื่อไปที่บริษัท แล้วพยายามให้ทีมงานแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ หลังจากนั้นพยายามกดดันให้เหยื่อตัดสินใจ



เงินกู้นอกระบบ (Loan Sharks) เป็นอย่างไร
ลักษณะของเงินกู้นอกระบบเป็นอย่างไร 
- เป็นการให้กู้ยืมเงินจากกลุ่มบุคคลที่มักเป็นนายทุนมีอิทธิพลในท้องถิ่น
- เงินกู้ที่มีการติดป้ายประกาศตามป้ายรถประจำทาง ตู้สาธารณะ หรือบนรถบริการสาธารณะ โดยมีข้อความชักจูง เช่น
   “เงินกู้ 100
%”  “เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ” “เงินด่วนทันใจเพียงมีบัตรผ่อนสินค้าก็สามารถกู้ได้เต็มจำนวน” หรือ
   “อนุมัติเร็วภายใน  3 ชม.” เป็นต้น
- เรียกเก็บดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน แล้วแต่ข้อตกลง
- อาจมีสัญญากู้ยืม หรือไม่มีก็ได้
- อาจมีหรือไม่มีหลักประกันก็ได้ หากมีการเรียกหลักประกัน ผู้ให้กู้จะยึดหลักประกันไว้ พร้อมกับให้ผู้กู้เซ็นใบมอบฉันทะเพื่อ
  โอนกรรมสิทธิ์ไว้ หากมีการผิดชำระหนี้ หลักประกันก็จะถูกยึด
- มีการติดตามทวงหนี้ที่มีลักษณะไม่เหมาะสม เช่น ขู่กรรโชก ทำร้ายร่างกาย

ตัวอย่าง  สมมติว่า กู้เงินจำนวน 10,000 บาท ผ่อนวันละ 220 บาท จำนวน 60 วัน ฉะนั้น ดอกเบี้ยทั้งสิ้น 3,200 บาท หรือคิด
เป็นอัตราร้อยละ 350.2 ต่อปี (ตัวเลขสมมติเท่านั้น)

 ใครที่ใช้เงินกู้แบบนี้
  ส่วนมากจะเป็นคนที่ไม่สามารถกู้เงินจาก
  ธนาคารได้ เช่น

  - คนที่มีรายได้น้อย หรือรายได้ไม่แน่นอน
  - ประวัตการชำระหนี้ไม่ดี หรือไม่มีทรัพย์สินหรือ
    บุคคลค้ำประกัน
  - ต้องการใช้เงินเร่งด่วน
 
ถ้าเรากลายเป็นเหยื่อของเงินกู้นอกระบบ เราจะทำอย่างไรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบ เราไม่สามารถฟ้องเองได้เนื่องจากความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ย เกินอัตรา พ.ศ. 2475 เป็นความผิดตามอาญาแผ่นดิน ซึ่งผู้เสียหายคือ รัฐ



ทำอย่างไรเมื่อคุณโดนหลอก
 
1. ตั้งสติให้ดี จดบันทึกและเก็บข้อมูลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลต่อไป
2. กรณีที่โอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพแล้ว ให้รีบดำเนินการดังนี้
   
o   โทรศัพท์แจ้งไปยังฝ่ายบริการลูกค้า (Call center) ของสถาบันการเงินนั้น ๆ
   
o   โทรศัพท์แจ้งไปยังกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โทร. 1155 หรือ 1195
   
o   โทรศัพท์แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไปแจ้งลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่เกิดเหตุ
3. กรณีถูกหลอกในเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ให้รีบติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า (Call center) ของสถาบันการเงินนั้นๆ
    เพื่อขอความช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นก่อน
4. สามารถติดต่อสอบถามเกี่ยวกับสถาบันการเงินนั้น ได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศ
    ไทย เพื่อขอข้อมูลหรือขอคำแนะนำในแนวทางการดำเนินการ

 

ติดต่อใครดี เมื่อถูกโกง...

1.    ด้านสินเชื่อ การโกงผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    
ท่านสามารถแจ้งเรื่อง หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
(ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย
      ในเวลาทำการ 08.30 – 16.30 น. ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
      
o   สายด่วน ศคง. โทร. 1213  หรือ โทรสารหมายเลข 0-2283-6151
      
o   Email address: fcc@bot.or.th
      
o   ส่งจดหมาย หรือติดต่อเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาด้วยตนเองที่

              ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (
ศคง.) อาคาร 3 ชั้น 5


             
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่               273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา            เขตพระนคร กรุงเทพ 10200

              ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
              ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ              68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
              อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

              ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
              ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงหนือ       393 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง
              อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

              ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
              ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้               472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดหใญ่
              จังหวัดสงขลา 90110
              

2.    ด้านแชร์ลูกโซ่
     
ท่านสามารถติดต่อร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสได้ที่
      ส่วนป้องปรามการเงินนอกระบบ สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงิน ภาคประชาชน
      สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลัง
     
o   โทร 0-2273-9140, 0-2273-9021 ต่อ 2627 – 34
     
o   สายด่วนการเงินนอกระบบ 1359 และ 1689
     
o   Email address: 1359@mof.go.th หรือ fincrime@mof.go.th
     
o   ส่งจดหมายมาที่ ตู้ ปณ. 1359 ปณจ. บางรัก  

3.    ด้านเงินกู้นอกระบบ      ท่านสามารถติดต่อร้องเรียนได้ที่
     
o   สถานีตำรวจท้องที่ทุกแห่ง
     
o   ศูนย์ปราบปรามการปล่อยเงินกู้และการทวงหนี้นอกระบบ (บก.ปคบ.)
          
·         โทรศัพท์ 0-2513-0051 – 53
          
·         สายด่วน ปคบ. 1135
          
·         ส่งจดหมายมาที่ ตู้ ปณ. 459 ปณศ.สามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
                   
Website: www.consumer.police.go.th

Credit by.. http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/money_trick/Pages/moneytrick.aspx

แนะนำเวบรวมบทความงานฝีมือ


ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/

adv001


----------------

ปรับปรุง
รายการบทความทั้งหมด



การบำรุงรักษารถยนต์เบื้องต้น



ร้านค้าเคลื่อนที่ ใช้ รถบรรทุกขนาดเล็กมาดัดแปลง



รวมบทความอาชีพ เสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม



รวมบทความงานฝีมือ-สิ่งประดิษฐ์ รายได้เสริม



ทองม้วน thong muan ; rolled wafer





MASK รุ่นสายคล้องคอ







MASK รุ่นสายคล้องคอ. ��รุ่นนี้เป็นที่นิยมใช้กันมาก #ขายดีมาก
ทำจากผ้าคอตตอนแท้ 100%  ไม่ผสม เนื้อผ้านุ่ม 
3 ชั้น. สวมใส่พอดีกับใบหน้า ไม่เจ็บหู มีสายคล้องคอปรับได้
เวลาถอดออก ไม่ต้องกลัวลืม เพราะถอดแล้วคล้องคอไว้ได้
บรรจุในถุงซิปฟรอย์อย่างดี
ราคาชิ้นละ. 59. บาท. ไม่รวมส่ง 
มีหลายสีให้เลือกนะคะ   สนใจทักแชทขอดูสีผ้าได้นะคะ
หน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือ สนใจสั่งไปจำหน่าย 
มีเรทราคาส่งค่ะ

-> id line : noeyhorm_06
#มีวางจำหน่ายหน้าร้านชานมไต้หวันมาราชาสาขาจรัญ44


ร้านมาราชาชานมไข่มุก สาขาจรัญสนิทวงศ์ 44
● รับบัตรสะสมครบ 10 แก้ว แลกรับฟรี 1 แก้ว
● สั่งเดลิเวอรีผ่าน LINE MAN, Foodpanda ,GET ...ถึงมือปั๊บพร้อมดื่มปุ๊บ!
● อัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ รสชาติใหม่ ตลอดเวลา
● มีเมนูให้เลือก 40 กว่าเมนู : https://bit.ly/2Z9iqV0






























































เลือกช่องทางติดต่อและรับข่าวสารบริการหลังการขาย
ฟอร์ด พลปิยะอยุธยาและฟอร์ด พลปิยะวังน้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------
แคมเปญ-โปรโมทชั่น อะไหล่ฟอร์ด อัพเดททางออนไลน์และปรับปรุงข้อมูลออนไลน์
อะไหล่ฟอร์ด อะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่รถยนต์ฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ดแท้ ร้านขายอะไหล่รถฟอร์ด ขายอะไหล่รถฟอร์ด อะไหล่ฟอร์ด
 
Option

รวมบทความอาชีพเสริม หลากไอเดียวิธีหารายได้เสริม หาอาชีพเสริมอิสระทำเงิน สร้างอาชีพอิสระงานฝีมือ แนะนำการสร้างรายได้เสริมทำเงินด้วยการขายสินค้าหรือขายของเป็นอาชีพเสริม อิสระงานฝีมือ แนะแนวธุรกิจ อาชีพเสริม อาชีพแก้จน อยากจะมีรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ บล๊อกจัดทำขึ้นเป็นวิทยาทานเพื่อเผยแผ่ความรู้อันจะเป็นไปเพื่อบุญกุศล ขอให้ทุกท่านที่มีส่วนร่วมในบทความของบล๊อกนี้ จงได้รับอานิสงฆ์ด้วยเทอญ.