ทางทีม “ช่องทางทำกิน” เคยนำงานใบตองอย่าง “บายศรี” มานำเสนอไปแล้ว
และวันนี้ทางทีม “ช่องทางทำกิน” จะนำเสนองาน “ใบตอง” อีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นก็คือ “พานขันหมาก” ซึ่งฝีมือดี ๆ ก็เป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีได้...
จาก ข้อมูลในเว็บไซต์ http://www.wedding.in.th ระบุไว้ว่า ประเพณีการยกขันหมากสู่ขอนั้นเป็นพิธีมงคลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการคารวะผู้ ปกครองฝ่ายเจ้าสาว เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตในการที่เจ้าบ่าวจะสู่ขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยา และกับประวัติที่มาของ “พานขันหมาก” มีมาแต่สมัยสุโขทัย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้ว ให้ร้อยดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก และให้เรียกว่า “พานขันหมาก”
จาก ข้อมูลในเว็บไซต์ http://www.wedding.in.th ระบุไว้ว่า ประเพณีการยกขันหมากสู่ขอนั้นเป็นพิธีมงคลที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการคารวะผู้ ปกครองฝ่ายเจ้าสาว เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตในการที่เจ้าบ่าวจะสู่ขอเจ้าสาวไปเป็นภรรยา และกับประวัติที่มาของ “พานขันหมาก” มีมาแต่สมัยสุโขทัย สมเด็จพระร่วงเจ้าทรงบัญญัติว่า ถ้าทำการรับแขกเป็นสนามใหญ่มีการอาวาห์มงคลหรือวิวาห์มงคลแล้ว ให้ร้อยดอกไม้เป็นรูปพานขันหมาก และให้เรียกว่า “พานขันหมาก”
ปัจจุบันการทำ “พานขันหมาก” สามารถทำเป็นอาชีพทำเงินได้ ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบ “ช่องทางทำกิน”
เสกสรรค์ มะลิซ้อน หรือ อาท อายุ 25 ปี ซึ่งสร้างสรรค์ผลงาน “พานขันหมาก” เล่าว่า เป็นชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ปัจจุบันเรียนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัยเปิดแห่งหนึ่ง และรับทำพานขันหมากไปด้วย ซึ่งเงินที่ได้ก็สามารถใช้เป็นทุนการศึกษาต่อโดยที่ไม่ต้องรบกวนพ่อแม่ผู้ปกครองอาทเล่าต่อไปว่า สมัยเรียนชั้นประถมได้เรียนทักษะวิชาการจากหนังสือความสามารถพิเศษ ในด้านการร้อยมาลัย งานใบตอง เมื่อโตขึ้นก็มีโอกาสได้ร่วมทำพานขันหมากกับคนเฒ่าคนแก่ตามที่ต่าง ๆ ที่มีการจัดงาน หรือบางทีไปร่วมงานแต่งงานก็จะดู จะแหวกดูพานขันหมาก ว่าเขาทำกันอย่างไรบ้าง? “การเรียนรู้ของผมคือฝึกด้วยตัวเอง ศึกษาเบื้องต้นจากอินเทอร์เน็ตบ้าง แล้วมาศึกษาการทำจริงจังตอนงานแต่งงานพี่สาวตัวเอง”
พานขันหมากนี้ อาทบอกว่า เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนชาติใดในโลก เป็นงานที่ต้องใส่ใจมาก เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือและความประณีต ถือเป็นวัฒนธรรมตั้งแต่บรรพบุรุษ นอกจากนี้การทำยังเป็นการฝึกสมาธิชั้นเยี่ยมอีกด้วย
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำพานขันหมาก หลัก ๆ ก็มี ใบตอง หรือหยวกกล้วย, ดอกไม้-ใบไม้ อาทิ ดอกรัก ดอกบานไม่รู้โรย ดอกบัว แกนดอกบัว ดาวเรือง ใบนาก ใบเงิน ใบทอง ใบพลู หมาก, หยวกกล้วย หรือโฟม, พานขนาดต่าง ๆ, ลวดเย็บกระดาษ, หมุดเข็ม, ลวด, ตะปู, เชือก, เข็ม-ด้าย และวัสดุประกอบอื่น ๆ ที่เหมาะสม
สำหรับขั้นตอนการทำพานขันหมาก เริ่มที่เตรียมพานขนาดตามต้องการ ตัดโฟมหรือหยวกกล้วยให้เป็นรูปวงกลม เท่ากับขนาดของความกว้างพาน
ขั้นตอนต่อไปคือการทำ “คอม้า” รอบโฟมหรือหยวกกล้วย ด้วยการฉีกใบตองให้มีขนาดกว้าง 2 นิ้ว แล้วพับใบตองแต่ละด้านเข้ามาตรงกลางให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วพับสามเหลี่ยมแต่ละด้านเข้าหากัน พับแบบนี้ทีละชิ้น แล้วนำแต่ละชิ้นมาเย็บติดกันเป็นวงกลมให้ได้ขนาดเท่ากับโฟมหรือหยวกกล้วย แล้วนำไปติดรอบโฟมหรือหยวกกล้วย ปักติดด้วยหมุดเข็ม หรือใช้ลวดเย็บกระดาษเย็บติดก็ได้ เสร็จแล้วตัดใบตองส่วนที่ยาวออกไป
ต่อไปทำ “กลีบรอบ” ด้วยการฉีกใบตองให้มีขนาดกว้าง 1 นิ้ว แล้วพับใบตองแต่ละด้านเข้ามาตรงกลางให้มาเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วพับใบตองด้านข้างของสามเหลี่ยมเข้ามาตรงกลาง พับทั้งสองข้าง ทำแบบนี้ทีละชิ้น แล้วนำไปเย็บติดบนคอม้าให้รอบ ทำให้ได้ 3 รอบ เรียงสับหว่างกันให้ดูสวยงาม และเป็นระเบียบ เสร็จแล้วตัดใบตองส่วนที่ยาวออกไป
ถัดมาเป็นการตกแต่งพานด้วยการติดดอกไม้ที่มีชื่อมงคล อย่างดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก ใช้หมุดเข็มปักเข้าไปตรงกลางของดอกไม้ทีละดอก แล้วนำไปติดรอบพาน เริ่มด้วยดอกบานไม่รู้โรย ตามด้วยดอกรัก ติดให้รอบทีละชั้น
ส่วนการตกแต่งในตัวพานก็เช่นเดียวกัน ใช้ดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก แกนดอกบัว และดอกบัว วิธีการคือ ใช้หมุดเข็มปักเข้าไปตรงกลางของดอกไม้ทีละดอก แล้วนำไปปักในตัวพาน เริ่มด้วยดอกบานไม่รู้โรย ดอกรัก แกนดอกบัว ส่วนดอกบัวให้วางไว้ตรงกลางเพื่อความสมบูรณ์สวยงาม และพานขันหมากจะต้องมีดอกดาวเรือง หมาก ใบพลู ใบเงิน ใบทอง ใบนาก ร่วมประดับด้วย
ปิดท้ายที่การทำ “กรวยครอบพานขันหมาก” ด้วยการฉีกใบตองกว้าง 3 นิ้ว พับครึ่งตามยาว แต่ให้เฉียงเล็กน้อย ทำทีละชิ้น ประมาณ 24 ชิ้น แล้วนำมาเย็บติดกันเป็นวงกลมด้วยลวดเย็บกระดาษ (ทั้งด้านล่างและด้านบน) ตัดใบตองส่วนบนออกเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม นำไปครอบปิดพาน เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย
ราคาพานขันหมากรูปแบบที่ว่ามานี้ อยู่ที่ประมาณ 1,000 บาท ถ้าเป็นชุด มี 5 พาน อาทิ พานขันหมากเอก, พานสินสอด, พานธูปเทียนแพ, พานเชิญขันหมาก ราคาชุดละ 4,500-5,000 บาท
ใครสนใจเรื่อง “พานขันหมาก” สนใจต้องการติดต่อกับ อาท-เสกสรรค์ มะลิซ้อน ก็ติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 08-5768-4014 หรือทางอีเมล Art.Art1234@hotmail.com หรือ okee123@hotmail.com และ http://www.facebook.com/okeeyakung ซึ่งนี่ก็เป็นอีกหนึ่งรูปแบบ “ช่องทางทำกิน” จากวิถีไทยโบราณ.
สุภารัตน์ ยอดศิริวิชัยกุล / แสงจันทร์ สนั่นเอื้อ
Credit by.. http://www.dailynews.co.th/article/384/170054
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001