บทสนทนาที่บ่งบอกว่า คนใต้เป็นคนใจคอหนักแน่น พูดเร็ว เดินเร็ว และทำเร็ว ซึ่งรสชาติอาหารจัดจ้านทั้งเผ็ด เค็ม เปรี้ยวได้สะท้อนตัวตนชนชาวใต้ได้อย่างชัดเจน
ภาคใต้บ้านเรา สมัยก่อนเคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวา เลยทำให้ได้รับวัฒนธรรมอาหารเข้ามาเต็มๆ โดยเฉพาะการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารของอินเดียใต้ ดังนั้นอาหารใต้จึงผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น
น้ำบูดู มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆหวานๆ ทานกับเมนูข้าวยำ จัดว่าเป็นเมนูคู่บ้านชาวไทยมุสลิมเลยทีเดียว
photo by bloggang.com/babyying&month
ข้าวยำ เรียกว่าเป็นเมนูสมุนไพรจัดเต็ม ข้าว ผักสมุนไพร ราดด้วยน้ำบูดูคู่เมืองใต้
photo by chuanchim/thai-food-southern
นอกจากนี้อาหารใต้ยังขึ้นชื่อเรื่องรสชาติเผ็ดร้อน ที่เมื่อเพียงสัมผัสปลายลิ้นแล้วต้องร้องซี้ดซ้าด ไม่ว่าจะเป็น
photo by thaisiamcooking.blogspot
แกงเหลือง ถ้าในท้องถิ่นใต้เรียกว่า แกงส้ม ซึ่งรสชาติ เครื่องปรุง กรรมวิธีการปรุงแต่ง แตกต่างจากแกงส้มภาคกลางตรงที่ แกงเหลืองใต้จะมีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบด้วย ยิ่งโดยเฉพาะแกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลา กลมกล่อมเข้ากันเป็นที่สุด
photo by ImageShack.us / zafiracafe
น้ำชุปโจร หรือ น้ำพริกโจร หรืออีกชื่อว่า น้ำชุปหยำ คล้ายกับน้ำพริกทั่วไป เพียงแต่น้ำพริกโจรจะหยาบกว่า เนื่องจากไม่นิยมตำ หากแต่นำเครื่องปรุง กุ้งสับ, กะปิเผา, หอมแดง, กระเทียม, พริกขี้หนู, น้ำตาลปีบ เทใส่อ่างแล้วใช้มือเราขยำคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน บีบมะนาวเพิ่มรสชาติอีกนิดหน่อย ทานกับผักสดๆสุดอร่อยเลยล่ะ
photo by menu-namprig.blogspot
ที่มาที่ไปทำไมเรียกน้ำชุปโจร?? เป็นเรื่องเล่าขานกันมาว่า นี่เป็นวิธีการทำน้ำพริกของพวกโจรที่ต้องหลบซ่อนอยู่ตามป่าตามเขา บางทีต้องร่อนเร่ลี้ภัยไปเรื่อย เลยไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือในการทำอาหารครบสมบูรณ์ ทั้งครก สาก หม้อ ไห เหมือนชาวบ้านปกติทั่วไป ดังนั้นยามอยากกินน้ำพริกแต่ละที จึงต้องทำง่ายๆสไตล์โจรนั่นแล
ผักเหนาะ / photo by sator4u
ลักษณะการกินที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องมีผักสารพัดสารพันชนิดเป็นเครื่องเคียงที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า "ผักเหนาะ" ซึ่งมีหลากหลายชนิดดังนี้
ใบเหลียง หรือ ผักเหลียง ผักพื้นบ้านที่นิยมกินสุกมากกว่าดิบ จะลวกจิ้มน้ำพริก, ทำใบเหลียงผัดไข่ หรือแกงเลียงผักเหลียงกุ้ง ก็กินกันอิ่มพุงกาง ได้ประโยชน์คุ้มค่า เพราะใบเหลียงมีเบต้าแคโรทีน ยอดมนุษย์ที่จะช่วยต้านออกซิเดชั่นได้ดี อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามินเอ
photo by kanchanapisek
ใบเหลียงผัดไข่
photo by wongnai.com
แกงเลียงใบเหลียง
photo by bloggang.com/hippie&month
สะตอ ฝักคล้ายฝักของต้นหางนกยูง กลิ่นฉุน แต่นำไปทำอาหารอร่อยได้หลายชนิด เมนูเด็ดคือ สะตอผัดกุ้งกะปิ
photo by sumalee-lueken.com
ลูกเนียง ผลจะมีเปลือกแข็ง รับประทานเมล็ดข้างใน ถ้ายังไม่แก่ เปลือกในที่ติดกับเม็ดจะมีสีนวล เนื้อสีเหลืองนวลเช่นกัน มีรสมันและกรอบ ผลที่แก่จัดเอาไปต้มจนเนื้อเหนียว รับประทานกับมะพร้าวทึนทึก ขูดผสมกับน้ำตาลทรายและเกลือใช้เป็นของขบเคี้ยวได้
photo by culture.nstru.ac.th
หน่อเหรียง ลักษณะคล้ายถั่วงอก แต่หัวจะโตกว่า มีสีเขียว รสมัน กลิ่นฉุน นอกจากเป็นผักเหนาะแล้ว ยังนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
photo by thaimisc.pukpik
นอกจากเหล่าผักเหนาะแล้ว ยังมีผักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางใต้ที่นิยมนำไปทำอาหารอีกมากมาย เช่น
เห็ดแครง เห็ดที่ขึ้นตามต้นยางพาราที่ถูกโค่นแล้ว มีมากในฤดูฝนลักษณะคล้ายดอกไม้ มีทรายมาก เวลานำมาทำอาหารแต่ละทีต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง สามารถตากแห้งเก็บไว้ทานในยามหน้าได้
photo by board.postjung
อ้อดิบ ก็คือ ต้นคูนของภาคกลาง เวลานำมาปรุงอาหารจะลอกเยื่อบางๆออกก่อน แล้วหั่นเป็นท่อนๆคล้ายสายบัว
photo by bloggang.com/plaipanpim&month
ยอดมวง คือ ยอดต้นชะมวง มีรสเปรี้ยว ใช้ทำแกงส้ม ต้มเครื่องใน แต่ก่อนใช้ทำอาหารจะต้องนำยอดมวงไปย่างไฟให้เหี่ยวก่อน เพื่อช่วยลดความเหม็นเขียวลง
photo by biogang.net
credit by : http://travel.truelife.com/detail/1983631/hilight/หร่อยจังฮู้--เมนูปักษ์ใต้
ภาคใต้บ้านเรา สมัยก่อนเคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีน และชวา เลยทำให้ได้รับวัฒนธรรมอาหารเข้ามาเต็มๆ โดยเฉพาะการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารของอินเดียใต้ ดังนั้นอาหารใต้จึงผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น
น้ำบูดู มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ แล้วนำมาเคี่ยวปรุงรสให้ออกเค็มๆหวานๆ ทานกับเมนูข้าวยำ จัดว่าเป็นเมนูคู่บ้านชาวไทยมุสลิมเลยทีเดียว
photo by bloggang.com/babyying&month
ข้าวยำ เรียกว่าเป็นเมนูสมุนไพรจัดเต็ม ข้าว ผักสมุนไพร ราดด้วยน้ำบูดูคู่เมืองใต้
photo by chuanchim/thai-food-southern
นอกจากนี้อาหารใต้ยังขึ้นชื่อเรื่องรสชาติเผ็ดร้อน ที่เมื่อเพียงสัมผัสปลายลิ้นแล้วต้องร้องซี้ดซ้าด ไม่ว่าจะเป็น
แกงไตปลา ซึ่งมีด้วยกัน 2 แบบ คือ แกงใส่กะทิกับไม่ใส่กะทิ และอาจจะใส่ผักหรือไม่ใส่ผักก็ได้ ซึ่งหากเป็นแบบไม่ใส่ผัก น้ำแกงจะข้น ทานกับขนมจีน แกล้มด้วยผักสด โอ้...หร่อยจังฮู้
photo by thaisiamcooking.blogspot
แกงเหลือง ถ้าในท้องถิ่นใต้เรียกว่า แกงส้ม ซึ่งรสชาติ เครื่องปรุง กรรมวิธีการปรุงแต่ง แตกต่างจากแกงส้มภาคกลางตรงที่ แกงเหลืองใต้จะมีขมิ้นชันเป็นส่วนประกอบด้วย ยิ่งโดยเฉพาะแกงเหลืองหน่อไม้ดองกับปลา กลมกล่อมเข้ากันเป็นที่สุด
photo by ImageShack.us / zafiracafe
น้ำชุปโจร หรือ น้ำพริกโจร หรืออีกชื่อว่า น้ำชุปหยำ คล้ายกับน้ำพริกทั่วไป เพียงแต่น้ำพริกโจรจะหยาบกว่า เนื่องจากไม่นิยมตำ หากแต่นำเครื่องปรุง กุ้งสับ, กะปิเผา, หอมแดง, กระเทียม, พริกขี้หนู, น้ำตาลปีบ เทใส่อ่างแล้วใช้มือเราขยำคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน บีบมะนาวเพิ่มรสชาติอีกนิดหน่อย ทานกับผักสดๆสุดอร่อยเลยล่ะ
photo by menu-namprig.blogspot
ที่มาที่ไปทำไมเรียกน้ำชุปโจร?? เป็นเรื่องเล่าขานกันมาว่า นี่เป็นวิธีการทำน้ำพริกของพวกโจรที่ต้องหลบซ่อนอยู่ตามป่าตามเขา บางทีต้องร่อนเร่ลี้ภัยไปเรื่อย เลยไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือในการทำอาหารครบสมบูรณ์ ทั้งครก สาก หม้อ ไห เหมือนชาวบ้านปกติทั่วไป ดังนั้นยามอยากกินน้ำพริกแต่ละที จึงต้องทำง่ายๆสไตล์โจรนั่นแล
ผักเหนาะ / photo by sator4u
ลักษณะการกินที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวใต้อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องมีผักสารพัดสารพันชนิดเป็นเครื่องเคียงที่ภาษาถิ่นเรียกกันว่า "ผักเหนาะ" ซึ่งมีหลากหลายชนิดดังนี้
ใบเหลียง หรือ ผักเหลียง ผักพื้นบ้านที่นิยมกินสุกมากกว่าดิบ จะลวกจิ้มน้ำพริก, ทำใบเหลียงผัดไข่ หรือแกงเลียงผักเหลียงกุ้ง ก็กินกันอิ่มพุงกาง ได้ประโยชน์คุ้มค่า เพราะใบเหลียงมีเบต้าแคโรทีน ยอดมนุษย์ที่จะช่วยต้านออกซิเดชั่นได้ดี อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามินเอ
photo by kanchanapisek
ใบเหลียงผัดไข่
photo by wongnai.com
แกงเลียงใบเหลียง
photo by bloggang.com/hippie&month
สะตอ ฝักคล้ายฝักของต้นหางนกยูง กลิ่นฉุน แต่นำไปทำอาหารอร่อยได้หลายชนิด เมนูเด็ดคือ สะตอผัดกุ้งกะปิ
photo by sumalee-lueken.com
ลูกเนียง ผลจะมีเปลือกแข็ง รับประทานเมล็ดข้างใน ถ้ายังไม่แก่ เปลือกในที่ติดกับเม็ดจะมีสีนวล เนื้อสีเหลืองนวลเช่นกัน มีรสมันและกรอบ ผลที่แก่จัดเอาไปต้มจนเนื้อเหนียว รับประทานกับมะพร้าวทึนทึก ขูดผสมกับน้ำตาลทรายและเกลือใช้เป็นของขบเคี้ยวได้
photo by culture.nstru.ac.th
หน่อเหรียง ลักษณะคล้ายถั่วงอก แต่หัวจะโตกว่า มีสีเขียว รสมัน กลิ่นฉุน นอกจากเป็นผักเหนาะแล้ว ยังนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิด
photo by thaimisc.pukpik
นอกจากเหล่าผักเหนาะแล้ว ยังมีผักที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางใต้ที่นิยมนำไปทำอาหารอีกมากมาย เช่น
เห็ดแครง เห็ดที่ขึ้นตามต้นยางพาราที่ถูกโค่นแล้ว มีมากในฤดูฝนลักษณะคล้ายดอกไม้ มีทรายมาก เวลานำมาทำอาหารแต่ละทีต้องล้างน้ำหลายๆครั้ง สามารถตากแห้งเก็บไว้ทานในยามหน้าได้
photo by board.postjung
อ้อดิบ ก็คือ ต้นคูนของภาคกลาง เวลานำมาปรุงอาหารจะลอกเยื่อบางๆออกก่อน แล้วหั่นเป็นท่อนๆคล้ายสายบัว
photo by bloggang.com/plaipanpim&month
ยอดมวง คือ ยอดต้นชะมวง มีรสเปรี้ยว ใช้ทำแกงส้ม ต้มเครื่องใน แต่ก่อนใช้ทำอาหารจะต้องนำยอดมวงไปย่างไฟให้เหี่ยวก่อน เพื่อช่วยลดความเหม็นเขียวลง
photo by biogang.net
credit by : http://travel.truelife.com/detail/1983631/hilight/หร่อยจังฮู้--เมนูปักษ์ใต้
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001