“เมี่ยงคำ” เป็นอาหารว่างของไทยที่ได้รับความนิยมมายาวนาน
นอกจากจะอร่อยแล้ว
เมื่อลองแยกส่วนประกอบในเมี่ยงคำก็จะพบว่ามีแต่อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่าง
กาย ในเมี่ยงคำหนึ่งคำประกอบไปด้วยสมุนไพรนานาชนิดที่ใช้เป็นเครื่องเคียง
เช่น มะนาว มะพร้าวคั่ว หอมแดง พริกขี้หนู ขิง
ส่วนใบเมี่ยงที่ใช้ห่อโดยทั่วไปจะใช้ใบชะพลูหรือใบทองหลางที่อุดมไปด้วย
แคลเซียมและมีกากใยสูง แต่ทั้งนี้ วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” จะนำเสนอข้อมูล
“เมี่ยงบัวหลวง” ซึ่งก็น่าสนใจเช่นกัน…
ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้คือ ผศ.พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม ผู้คิดค้น “เมี่ยงบัวหลวง” ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ผศ.พงษ์ศักดิ์ เล่าให้ฟังถึงที่มาของการคิดค้นเมนูชูสุขภาพนี้ว่า เมื่อเอ่ยถึง “บัว” หลายคนอาจคิดถึงการใช้ดอกบัวสำหรับไหว้พระเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมีผลงานการวิจัยจากต่างประเทศที่ได้ศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับบัว พบว่า กลีบบัวมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ห้ามเลือด อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง เมล็ดหรือเม็ดบัวบำรุงกำลัง ทำให้นอนหลับดีและแก้ไข้ เกสรบัวเป็นยาสมานแผลในร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท และส่วนที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจและสำคัญที่สุดคือ ดีบัว เวลากินจะมีรสชาติขม แต่มีคุณสมบัติสามารถขยายหลอดเลือดในหัวใจได้
“วิธีทำเมี่ยงบัวหลวงนั้นง่าย ๆ เหมาะทำรับประทานในครัวเรือน เหมาะกับผู้รักษาสุขภาพและต้องการไฟเบอร์สูง อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าดอกบัวหลวงที่มีมากในจังหวัดปทุมธานี และช่วยเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.พงษ์ศักดิ์ระบุ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ หลัก ๆ ก็เป็นเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนทั่วไป สามารถหยิบยืมมาใช้ได้
ส่วนผสม “น้ำเมี่ยง” ประกอบด้วย...น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย, น้ำตาลทราย 1 ถ้วย, น้ำสะอาด 1/2 ถ้วย, น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ, รากผักชีคั่วโขลก 1 ช้อนชา, กะปิเผา 1/2 ช้อนชา, ข่าคั่วโขลก 1 ช้อนชา หรือมาก-น้อยตามชอบ
เครื่องเคียงที่ใช้ในการทำเมี่ยง ก็มี...มะพร้าว, ถั่วลิสง, กุ้งแห้ง, มะนาว, ขิงแก่, พริกขี้หนูสด, หอมแดง และขาดไม่ได้คือ ดอกบัวหลวงปทุมธานี (เกสร, เม็ดบัว, กลีบดอก)
ขั้นตอนการทำ “เมี่ยงบัวหลวง” เริ่มจากการทำน้ำเมี่ยงก่อน โดยการนำเอาส่วนผสมทั้งหมด คือน้ำตาลปี๊บ น้ำสะอาด น้ำปลา รากผักชีคั่วโขลก กะปิเผา ข่าคั่วโขลก ใส่รวมกันลงไปในหม้อแล้วยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยว โดยใช้ไฟอ่อนกำลังดี ทำการเคี่ยวไปเรื่อย ๆ ขณะเคี่ยวน้ำเมี่ยงควรใช้ทัพพีหมั่นคนตลอดเวลาเพื่อป้องกันการไหม้ การเคี่ยวน้ำเมี่ยงต้องมีความอดทนพอสมควร เพราะการเคี่ยวนั้นต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ชั่วโมง น้ำเมี่ยงถึงจะส่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน
ระหว่างที่เคี่ยวน้ำเมี่ยง ก็เตรียมเครื่องเมี่ยงหรือเครื่องเคียงไปด้วย นำมะพร้าวที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วให้เหลืองหอม ถั่วลิสงนำมาคั่วแล้วเลาะเอาเปลือกออก ใส่ถุงหรือภาชนะที่มีฝาปิดแน่น (กันลมเข้า) เตรียมไว้ พวกมะนาว ขิง หอมแดง และพริกขี้หนูสด นำมาล้างให้สะอาด และสะเด็ดน้ำ แล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าหรือตามความเหมาะสม
ส่วนดอกบัวหลวงที่ใช้ในการห่อเมี่ยงนั้น ทำการล้างทำความสะอาดโดยมีเทคนิคคือ นำน้ำใส่ลงไปในกะละมัง ผสมเกลือเล็กน้อย (จะได้ความสะอาดและความสด) เด็ดเอาส่วนของเกสรและเม็ดบัวเก็บไว้ก่อน เด็ดกลีบดอกบัวลงล้างทีละกลีบ เมื่อล้างเสร็จแล้วก็นำมาวางให้สะเด็ดน้ำ เตรียมไว้
สำหรับน้ำเมี่ยง เมื่อเคี่ยวได้ที่ดีแล้วก็ยกลงจากเตาตั้งไว้ให้เย็น (น้ำเมี่ยงจะต้องมีลักษณะที่ไม่ใส-ไม่ข้นเกินไป) ตักน้ำเมี่ยงใส่ถ้วย จัดเรียงเตรียมไว้กับเครื่องเมี่ยงให้เรียบร้อย เมื่อจะรับประทานก็หยิบกลีบของดอกบัวหลวงมาใส่เครื่องเมี่ยง ใส่มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว เม็ดบัว กุ้งแห้ง มะนาวหั่น ขิงหั่น หอมแดงหั่น ขิงหั่น และใส่เกสรบัวลงไปด้วย จากนั้นตักน้ำเมี่ยงราดและห่อเป็นคำพอดี รับประทานเหมือนกับการรับประทานเมี่ยงคำทั่วไป แต่จะได้ความหอมจากดอกบัว และรสชาติที่กลมกล่อมจากน้ำเมี่ยง พร้อมคุณค่าทางโภชนาการมากมาย
เคล็ดลับความหอมอร่อยของ “เมี่ยงบัวหลวง” นั้น ผศ.พงษ์ศักดิ์บอกว่า อยู่ที่ดอกบัวหลวงและเกสร ควรเลือกดอกที่กำลังจะบาน เพราะจะได้กลิ่นหอมอ่อน ๆ และหัวใจสำคัญอีกอย่างคือน้ำเมี่ยงที่เคี่ยวจนได้กลิ่นหอมและรสชาติดี
ทั้งนี้ การลงทุนขายเมี่ยงบัวหลวงนั้น ไม่ต้องใช้เงินมาก แต่ต้องทำใจกับการเตรียมของที่จุกจิก ทั้งน้ำเมี่ยง และเครื่องเคียง ต้องจัดเป็นชุด ๆ กะปริมาณให้มีความเหมาะสมกับราคาขายซึ่งสุดแท้แต่จะตั้ง แต่ทั้งนี้ก็ควรให้มีกำไรเป็นค่าแรงประมาณ 50% จากราคาขาย จึงจะสมน้ำสมเนื้อกับการทำที่มีขั้นตอนค่อนข้างจุกจิก
ใครสนใจเรื่อง “เมี่ยงบัวหลวง” ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ผศ.พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม อาจารย์ประจำสาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ติดต่อได้ที่ โทร. 08-9600-0993 ซึ่ง ผศ.พงษ์ศักดิ์บอกว่า ยินดีให้ข้อมูล เพราะอยากให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์อาหารแบบไทย ๆ ไว้นาน ๆ ค่ะ!!.
เชาวลี ชุมขำ : เรื่อง/สุนิสา ธนพันธสกุล : ภาพ
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/206972
ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลเรื่องนี้คือ ผศ.พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม ผู้คิดค้น “เมี่ยงบัวหลวง” ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำ สาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี โดย ผศ.พงษ์ศักดิ์ เล่าให้ฟังถึงที่มาของการคิดค้นเมนูชูสุขภาพนี้ว่า เมื่อเอ่ยถึง “บัว” หลายคนอาจคิดถึงการใช้ดอกบัวสำหรับไหว้พระเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมีผลงานการวิจัยจากต่างประเทศที่ได้ศึกษาเฉพาะด้านเกี่ยวกับบัว พบว่า กลีบบัวมีสรรพคุณบำรุงร่างกาย ห้ามเลือด อีกทั้งยังมีไฟเบอร์สูง เมล็ดหรือเม็ดบัวบำรุงกำลัง ทำให้นอนหลับดีและแก้ไข้ เกสรบัวเป็นยาสมานแผลในร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท และส่วนที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจและสำคัญที่สุดคือ ดีบัว เวลากินจะมีรสชาติขม แต่มีคุณสมบัติสามารถขยายหลอดเลือดในหัวใจได้
“วิธีทำเมี่ยงบัวหลวงนั้นง่าย ๆ เหมาะทำรับประทานในครัวเรือน เหมาะกับผู้รักษาสุขภาพและต้องการไฟเบอร์สูง อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าดอกบัวหลวงที่มีมากในจังหวัดปทุมธานี และช่วยเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง” ผศ.พงษ์ศักดิ์ระบุ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ หลัก ๆ ก็เป็นเครื่องมือเครื่องไม้ที่ใช้กันอยู่ในครัวเรือนทั่วไป สามารถหยิบยืมมาใช้ได้
ส่วนผสม “น้ำเมี่ยง” ประกอบด้วย...น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย, น้ำตาลทราย 1 ถ้วย, น้ำสะอาด 1/2 ถ้วย, น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ, รากผักชีคั่วโขลก 1 ช้อนชา, กะปิเผา 1/2 ช้อนชา, ข่าคั่วโขลก 1 ช้อนชา หรือมาก-น้อยตามชอบ
เครื่องเคียงที่ใช้ในการทำเมี่ยง ก็มี...มะพร้าว, ถั่วลิสง, กุ้งแห้ง, มะนาว, ขิงแก่, พริกขี้หนูสด, หอมแดง และขาดไม่ได้คือ ดอกบัวหลวงปทุมธานี (เกสร, เม็ดบัว, กลีบดอก)
ขั้นตอนการทำ “เมี่ยงบัวหลวง” เริ่มจากการทำน้ำเมี่ยงก่อน โดยการนำเอาส่วนผสมทั้งหมด คือน้ำตาลปี๊บ น้ำสะอาด น้ำปลา รากผักชีคั่วโขลก กะปิเผา ข่าคั่วโขลก ใส่รวมกันลงไปในหม้อแล้วยกขึ้นตั้งไฟเคี่ยว โดยใช้ไฟอ่อนกำลังดี ทำการเคี่ยวไปเรื่อย ๆ ขณะเคี่ยวน้ำเมี่ยงควรใช้ทัพพีหมั่นคนตลอดเวลาเพื่อป้องกันการไหม้ การเคี่ยวน้ำเมี่ยงต้องมีความอดทนพอสมควร เพราะการเคี่ยวนั้นต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ชั่วโมง น้ำเมี่ยงถึงจะส่งกลิ่นหอมหวนชวนรับประทาน
ระหว่างที่เคี่ยวน้ำเมี่ยง ก็เตรียมเครื่องเมี่ยงหรือเครื่องเคียงไปด้วย นำมะพร้าวที่เตรียมไว้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วให้เหลืองหอม ถั่วลิสงนำมาคั่วแล้วเลาะเอาเปลือกออก ใส่ถุงหรือภาชนะที่มีฝาปิดแน่น (กันลมเข้า) เตรียมไว้ พวกมะนาว ขิง หอมแดง และพริกขี้หนูสด นำมาล้างให้สะอาด และสะเด็ดน้ำ แล้วหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าหรือตามความเหมาะสม
ส่วนดอกบัวหลวงที่ใช้ในการห่อเมี่ยงนั้น ทำการล้างทำความสะอาดโดยมีเทคนิคคือ นำน้ำใส่ลงไปในกะละมัง ผสมเกลือเล็กน้อย (จะได้ความสะอาดและความสด) เด็ดเอาส่วนของเกสรและเม็ดบัวเก็บไว้ก่อน เด็ดกลีบดอกบัวลงล้างทีละกลีบ เมื่อล้างเสร็จแล้วก็นำมาวางให้สะเด็ดน้ำ เตรียมไว้
สำหรับน้ำเมี่ยง เมื่อเคี่ยวได้ที่ดีแล้วก็ยกลงจากเตาตั้งไว้ให้เย็น (น้ำเมี่ยงจะต้องมีลักษณะที่ไม่ใส-ไม่ข้นเกินไป) ตักน้ำเมี่ยงใส่ถ้วย จัดเรียงเตรียมไว้กับเครื่องเมี่ยงให้เรียบร้อย เมื่อจะรับประทานก็หยิบกลีบของดอกบัวหลวงมาใส่เครื่องเมี่ยง ใส่มะพร้าวคั่ว ถั่วลิสงคั่ว เม็ดบัว กุ้งแห้ง มะนาวหั่น ขิงหั่น หอมแดงหั่น ขิงหั่น และใส่เกสรบัวลงไปด้วย จากนั้นตักน้ำเมี่ยงราดและห่อเป็นคำพอดี รับประทานเหมือนกับการรับประทานเมี่ยงคำทั่วไป แต่จะได้ความหอมจากดอกบัว และรสชาติที่กลมกล่อมจากน้ำเมี่ยง พร้อมคุณค่าทางโภชนาการมากมาย
เคล็ดลับความหอมอร่อยของ “เมี่ยงบัวหลวง” นั้น ผศ.พงษ์ศักดิ์บอกว่า อยู่ที่ดอกบัวหลวงและเกสร ควรเลือกดอกที่กำลังจะบาน เพราะจะได้กลิ่นหอมอ่อน ๆ และหัวใจสำคัญอีกอย่างคือน้ำเมี่ยงที่เคี่ยวจนได้กลิ่นหอมและรสชาติดี
ทั้งนี้ การลงทุนขายเมี่ยงบัวหลวงนั้น ไม่ต้องใช้เงินมาก แต่ต้องทำใจกับการเตรียมของที่จุกจิก ทั้งน้ำเมี่ยง และเครื่องเคียง ต้องจัดเป็นชุด ๆ กะปริมาณให้มีความเหมาะสมกับราคาขายซึ่งสุดแท้แต่จะตั้ง แต่ทั้งนี้ก็ควรให้มีกำไรเป็นค่าแรงประมาณ 50% จากราคาขาย จึงจะสมน้ำสมเนื้อกับการทำที่มีขั้นตอนค่อนข้างจุกจิก
ใครสนใจเรื่อง “เมี่ยงบัวหลวง” ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ผศ.พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม อาจารย์ประจำสาขาอาหารและโภชนาการ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี ติดต่อได้ที่ โทร. 08-9600-0993 ซึ่ง ผศ.พงษ์ศักดิ์บอกว่า ยินดีให้ข้อมูล เพราะอยากให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์อาหารแบบไทย ๆ ไว้นาน ๆ ค่ะ!!.
เชาวลี ชุมขำ : เรื่อง/สุนิสา ธนพันธสกุล : ภาพ
Credit by..http://www.dailynews.co.th/article/384/206972
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001