ในบรรดาแผงลอยบนทางเท้า “แผงขายพวงมาลัย”
น่าจะเป็นร้านที่แสดงถึง “ความเป็นไทย” ได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง
เพราะนอกจากจะพบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดสดทุกแห่งแล้ว
พวงมาลัยยังเป็นสัญลักษณ์แทนความเชื่อถือศรัทธา ความอ่อนน้อมถ่อมตน
ความกตัญญู ฯลฯ อันเป็นค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของคนไทย
แม้ว่าแผงขายพวงมาลัยจะแสดงเอกลักษณ์ไทย ได้ชัดเจน แต่ตัวแผงเองกลับดูเหมือนว่าจะยังขาด “บุคลิกเฉพาะตัว” บางอย่างเมื่อเทียบกับแผงลอยหรือรถเข็นประเภทอื่นๆ ดังนั้น การปรับแต่งบุคลิกของแผงขายพวงมาลัยจึงกลายมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ “รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” (Malai Maejo Cart) ของ คุณปิตุพงษ์ เชาวกุล Design Director จาก Supermachine Studio
จุดเริ่มต้นของแนวคิด
“รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” (Malai Maejo Cart) ถือกำเนิดจากแนวคิดที่ว่าความเป็น “ไทยแท้” ไม่ใช่ภาพในอุดมคติที่ถูกสร้างขึ้น หากแต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่แผงลอยไร้ระเบียบหน้าปากซอย เรือนแพดิสโก้เธค หรือรถทัวร์พ่นรูปการ์ตูนดราก้อนบอล ฯลฯ คุณลักษณะดังกล่าวได้ถูกนำมาตีความและกลายเป็นโจทย์ในการออกแบบครั้งนี้
ปิตุพงษ์เล่าว่า เขาสนใจความงามแบบบ้านๆ หรือลูกทุ่งๆ ไม่สนภาพความเป็นไทยประเภทหลังคาหน้าจั่ว สำหรับเขาจุดแข็งของวัฒนธรรมไทยคือความเป็นไปบนท้องถนน มีวัฒนธรรมรถเข็น ซื้อผลไม้บนทางเท้า รักการแหกกฎ ฯลฯ ดังนั้น “ความเยอะ” ของชีวิตประจำวันคือสิ่งที่น่าสนใจ
“แนวทางการออกแบบของผมจะไม่กลัวเยอะ ไม่ห่วงหล่อ ผมสนใจอะไรที่ “จริง” และสำหรับรถเข็นคันนี้ผมตั้งใจให้ผู้ประกอบการรายย่อยนำไปใช้ได้จริงด้วย ถ้าต้องลงทุนเยอะไป เจ้าของรถเข็นก็คงนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ อีกทั้งทางโครงการยังจำกัดงบไว้ที่ 40,000 บาท ผมต้องสร้างรถขายพวงมาลัยขนาด 4 x 3 เมตรขึ้นมาให้ได้”
แรงบันดาลใจในการออกแบบ
ปิตุพงษ์เล่าต่อว่า โจทย์หลักของเขาคือ การออกแบบร้านขายพวงมาลัยที่คนซื้อไปเพื่อถวายพระ หรือไหว้ศาลพระภูมิ ไม่ใช่ร้านดอกไม้หรู ซึ่งในชีวิตจริงแผงขายพวงมาลัยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก และไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือมีแค่โต๊ะสูง 75 ซม. หุ้มพลาสติกเพื่อให้ฉีดน้ำได้ มีถังดอกไม้วางข้างบน ในขณะที่รถเข็นอื่นๆ จะมีบุคลิกเฉพาะชัดเจนกว่า เช่น รถขายปลาหมึกที่มีเครื่องบดปลาหมึกและกระบวนการในการบดปลาหมึก รถขายผลไม้ที่มีช่องใส่ผลไม้สามช่อง ฯลฯ
ปิตุพงษ์รู้สึกว่ารถเข็นขายพวงมาลัยน่าจะ มีบุคลิกเฉพาะของตัวเองบ้าง โดยเห็นว่าความสวยงามของแผงขายพวงมาลัยอยู่ที่ “การนั่งร้อยมาลัย” จึงตั้งโจทย์ขึ้นมาอีกข้อว่า “ทำอย่างไรให้คนขายที่นั่งร้อยพวงมาลัยรู้สึกภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเอง?” คำถามนี้ทำให้เขาเกิดไอเดียที่จะผสมอาชีพขายพวงมาลัยเข้ากับอีกอาชีพหนึ่ง นั่นก็คือ “แอร์โฮสเตส” นี่คือที่มาของรถเข็นขายพวงมาลัยที่มีลักษณะเหมือนกระเป๋าลากของแอร์ฯ ในยุค 50s สามารถพับเก็บและลากกลับบ้านได้สวยๆ ด้วยความมั่นใจ
รายละเอียดการสร้างสรรค์ + พัฒนา
เมื่อไอเดียตกผลึก การออกแบบรถเข็นที่เหมือนมีดพับสวิสผสมกับกระเป๋าเดินทางขนาดหนาราว 30 ซม.ก็เริ่มขึ้น
- โครงสร้างรถเข็น : ตัวโครงจะมีลักษณะโค้งมน ออกแบบให้คล้ายรถยนต์ย้อนยุค และมี 4 ล้อแทนที่จะเป็น 3 ล้อแบบทั่วไป (รถเข็น 3 ล้อทั่วไปเวลาเลี้ยวจะต้องยกล้อหน้าขึ้น แต่ “มาลัย แม่โจ้” เป็นกระเป๋าลากล้อหน้าใส่ลูกปืนไว้หมุนตามผู้ลากได้)
- ออพชั่นภายใน : โครงรถ/กระเป๋าลากใบนี้ถูกออกแบบให้มีราวเหล็กที่ยึดด้วยน็อต เพื่อใช้แขวนพวงมาลัยได้เมื่อเปิดกระเป๋าออก ราวแขวนนี้ได้แนวคิดมาจากรถเข็นขายปลาหมึก คือมาลัยพวงใหญ่อยู่แถวบนราคาแพงสุด นอกจากนั้นยังมีปีกที่เปิดออกไว้ใส่ของอื่นๆ และมีที่สำหรับวางถังดอกไม้ ใบเตย ฯลฯ ส่วนไฟเป็นท่อเหล็กหรือพลาสติก ทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ทุกอย่างมีฟังก์ชั่นชัดเจนทั้งในเรื่องการระบายน้ำ การพับเก็บ ฯลฯ
- วัสดุหุ้มโครง : ส่วนวัสดุพื้นผิวนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง อาทิเช่น ป้ายหาเสียง ฟิวเจอร์บอร์ดแปะสติกเกอร์ดารา หรือจะเป็นโครงเหล็กฉากอย่างเดียวก็ได้ เปิดโอกาสให้ผู้ขายได้สร้างสรรค์เครื่องมือทำมาหากินของตนได้ตามต้องการ (ในโครงการนี้ปิตุพงษ์ใช้แผ่นลามิเนตมาทำพื้นผิวเนื่องจากได้สปอนเซอร์)
- ชื่อ “มาลัย แม่โจ้” : มีที่มาน่าสนใจไม่แพ้แนวคิดในการออกแบบ กล่าวคือตั้งชื่อตาม “พี่โจ้” รุ่นพี่ในออฟฟิศที่ถูกหวยทุกงวด ซึ่งตรงนี้ปิตุพงษ์มองว่า คนไทยเห็นดอกไม้และพวงมาลัยเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา หวยออก ฯลฯ เมืองไทยใช้ดอกไม้เพื่อไหว้พระและศาลพระภูมิ ทำให้มิติของดอกไม้ไทยไม่เหมือนกับต่างประเทศที่ใช้เพื่อการตกแต่ง ดังนั้นสำหรับ “รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” นอกจากจะมีพวงมาลัยแล้ว ยังต้องมีนางกวัก ธูป หมากพลู หรืออาจมีปุ่มกดตัวเลขใบ้หวยด้วย
** TiDA Top Talent เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ TiDA TEN PLUS โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
Credit ภาพ : SUPERMACHINE
Credit by..http://www.tcdcconnect.com/content/detail.php?ID=1132&sphrase_id=119300
แม้ว่าแผงขายพวงมาลัยจะแสดงเอกลักษณ์ไทย ได้ชัดเจน แต่ตัวแผงเองกลับดูเหมือนว่าจะยังขาด “บุคลิกเฉพาะตัว” บางอย่างเมื่อเทียบกับแผงลอยหรือรถเข็นประเภทอื่นๆ ดังนั้น การปรับแต่งบุคลิกของแผงขายพวงมาลัยจึงกลายมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ “รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” (Malai Maejo Cart) ของ คุณปิตุพงษ์ เชาวกุล Design Director จาก Supermachine Studio
จุดเริ่มต้นของแนวคิด
“รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” (Malai Maejo Cart) ถือกำเนิดจากแนวคิดที่ว่าความเป็น “ไทยแท้” ไม่ใช่ภาพในอุดมคติที่ถูกสร้างขึ้น หากแต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นหาบเร่แผงลอยไร้ระเบียบหน้าปากซอย เรือนแพดิสโก้เธค หรือรถทัวร์พ่นรูปการ์ตูนดราก้อนบอล ฯลฯ คุณลักษณะดังกล่าวได้ถูกนำมาตีความและกลายเป็นโจทย์ในการออกแบบครั้งนี้
ปิตุพงษ์เล่าว่า เขาสนใจความงามแบบบ้านๆ หรือลูกทุ่งๆ ไม่สนภาพความเป็นไทยประเภทหลังคาหน้าจั่ว สำหรับเขาจุดแข็งของวัฒนธรรมไทยคือความเป็นไปบนท้องถนน มีวัฒนธรรมรถเข็น ซื้อผลไม้บนทางเท้า รักการแหกกฎ ฯลฯ ดังนั้น “ความเยอะ” ของชีวิตประจำวันคือสิ่งที่น่าสนใจ
“แนวทางการออกแบบของผมจะไม่กลัวเยอะ ไม่ห่วงหล่อ ผมสนใจอะไรที่ “จริง” และสำหรับรถเข็นคันนี้ผมตั้งใจให้ผู้ประกอบการรายย่อยนำไปใช้ได้จริงด้วย ถ้าต้องลงทุนเยอะไป เจ้าของรถเข็นก็คงนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ อีกทั้งทางโครงการยังจำกัดงบไว้ที่ 40,000 บาท ผมต้องสร้างรถขายพวงมาลัยขนาด 4 x 3 เมตรขึ้นมาให้ได้”
แรงบันดาลใจในการออกแบบ
ปิตุพงษ์เล่าต่อว่า โจทย์หลักของเขาคือ การออกแบบร้านขายพวงมาลัยที่คนซื้อไปเพื่อถวายพระ หรือไหว้ศาลพระภูมิ ไม่ใช่ร้านดอกไม้หรู ซึ่งในชีวิตจริงแผงขายพวงมาลัยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมาก และไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือมีแค่โต๊ะสูง 75 ซม. หุ้มพลาสติกเพื่อให้ฉีดน้ำได้ มีถังดอกไม้วางข้างบน ในขณะที่รถเข็นอื่นๆ จะมีบุคลิกเฉพาะชัดเจนกว่า เช่น รถขายปลาหมึกที่มีเครื่องบดปลาหมึกและกระบวนการในการบดปลาหมึก รถขายผลไม้ที่มีช่องใส่ผลไม้สามช่อง ฯลฯ
ปิตุพงษ์รู้สึกว่ารถเข็นขายพวงมาลัยน่าจะ มีบุคลิกเฉพาะของตัวเองบ้าง โดยเห็นว่าความสวยงามของแผงขายพวงมาลัยอยู่ที่ “การนั่งร้อยมาลัย” จึงตั้งโจทย์ขึ้นมาอีกข้อว่า “ทำอย่างไรให้คนขายที่นั่งร้อยพวงมาลัยรู้สึกภาคภูมิใจในอาชีพของตัวเอง?” คำถามนี้ทำให้เขาเกิดไอเดียที่จะผสมอาชีพขายพวงมาลัยเข้ากับอีกอาชีพหนึ่ง นั่นก็คือ “แอร์โฮสเตส” นี่คือที่มาของรถเข็นขายพวงมาลัยที่มีลักษณะเหมือนกระเป๋าลากของแอร์ฯ ในยุค 50s สามารถพับเก็บและลากกลับบ้านได้สวยๆ ด้วยความมั่นใจ
รายละเอียดการสร้างสรรค์ + พัฒนา
เมื่อไอเดียตกผลึก การออกแบบรถเข็นที่เหมือนมีดพับสวิสผสมกับกระเป๋าเดินทางขนาดหนาราว 30 ซม.ก็เริ่มขึ้น
- โครงสร้างรถเข็น : ตัวโครงจะมีลักษณะโค้งมน ออกแบบให้คล้ายรถยนต์ย้อนยุค และมี 4 ล้อแทนที่จะเป็น 3 ล้อแบบทั่วไป (รถเข็น 3 ล้อทั่วไปเวลาเลี้ยวจะต้องยกล้อหน้าขึ้น แต่ “มาลัย แม่โจ้” เป็นกระเป๋าลากล้อหน้าใส่ลูกปืนไว้หมุนตามผู้ลากได้)
- ออพชั่นภายใน : โครงรถ/กระเป๋าลากใบนี้ถูกออกแบบให้มีราวเหล็กที่ยึดด้วยน็อต เพื่อใช้แขวนพวงมาลัยได้เมื่อเปิดกระเป๋าออก ราวแขวนนี้ได้แนวคิดมาจากรถเข็นขายปลาหมึก คือมาลัยพวงใหญ่อยู่แถวบนราคาแพงสุด นอกจากนั้นยังมีปีกที่เปิดออกไว้ใส่ของอื่นๆ และมีที่สำหรับวางถังดอกไม้ ใบเตย ฯลฯ ส่วนไฟเป็นท่อเหล็กหรือพลาสติก ทำความสะอาดด้วยการฉีดน้ำ ทุกอย่างมีฟังก์ชั่นชัดเจนทั้งในเรื่องการระบายน้ำ การพับเก็บ ฯลฯ
- วัสดุหุ้มโครง : ส่วนวัสดุพื้นผิวนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่แสดงความเป็นตัวของตัวเอง อาทิเช่น ป้ายหาเสียง ฟิวเจอร์บอร์ดแปะสติกเกอร์ดารา หรือจะเป็นโครงเหล็กฉากอย่างเดียวก็ได้ เปิดโอกาสให้ผู้ขายได้สร้างสรรค์เครื่องมือทำมาหากินของตนได้ตามต้องการ (ในโครงการนี้ปิตุพงษ์ใช้แผ่นลามิเนตมาทำพื้นผิวเนื่องจากได้สปอนเซอร์)
- ชื่อ “มาลัย แม่โจ้” : มีที่มาน่าสนใจไม่แพ้แนวคิดในการออกแบบ กล่าวคือตั้งชื่อตาม “พี่โจ้” รุ่นพี่ในออฟฟิศที่ถูกหวยทุกงวด ซึ่งตรงนี้ปิตุพงษ์มองว่า คนไทยเห็นดอกไม้และพวงมาลัยเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา หวยออก ฯลฯ เมืองไทยใช้ดอกไม้เพื่อไหว้พระและศาลพระภูมิ ทำให้มิติของดอกไม้ไทยไม่เหมือนกับต่างประเทศที่ใช้เพื่อการตกแต่ง ดังนั้นสำหรับ “รถเข็นพวงมาลัย แม่โจ้” นอกจากจะมีพวงมาลัยแล้ว ยังต้องมีนางกวัก ธูป หมากพลู หรืออาจมีปุ่มกดตัวเลขใบ้หวยด้วย
ข้อคิดฝากร้านค้าขนาดเล็ก ในมุมของดีไซน์แล้ว การสร้างฝันในสไตล์ “Absolute beauty” ที่เห็นกันตามหน้านิตยสารนั้นไม่ใช่เรื่องผิด (เช่น ใช้เก้าอี้แพง ถือกระเป๋าแบรนด์เนม ชื่นชมวัสดุสวยๆ คุณภาพแสงเนี้ยบๆ ฯลฯ) แต่สังคมไทยที่เป็นจริงบนท้องถนน คือสังคมแบบ “ระเบิดเถิดเทิง” และเรื่องราวในสังคมที่เป็นจริงเหล่านี้ก็น่าจะได้รับการหยิบยกมาพูดถึงบ้าง ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้อง “พยายามลูกทุ่ง” หรือใส่ความคิดลงไปบนอัตลักษณ์ของใคร แต่น่าจะมองไปถึงชีวิตจริงของคนส่วนใหญ่แล้วแปลงร่างวัฒนธรรมของเราให้ เหมือนกับที่สังคมญี่ปุ่นทำได้สำเร็จ |
Credit ภาพ : SUPERMACHINE
Credit by..http://www.tcdcconnect.com/content/detail.php?ID=1132&sphrase_id=119300
ติดตาม ร้านค้าติดล้อขายของ ได้ที่ : http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ขายของได้ทุกที่ บนรถขายขายของเคลื่อนที่ ได้ทั้งของกินและเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
ตัวอย่างอาชีพค้าขายที่ไม่ง้อทำเล(รูป)ตอน 1-12
download ...http://commercial-on-wheels.blogspot.com/
adv001